เขื่อน - ภัทรดนัย เสตสุวรรณ

แง่คิดในการ “วางใจ” และ “ความสมดุล” จาก เขื่อน-ภัทรดนัย เสตสุวรรณ

account_circle
event
เขื่อน - ภัทรดนัย เสตสุวรรณ
เขื่อน - ภัทรดนัย เสตสุวรรณ

ในโอกาสที่ lululemon จับมือ นักจิตอายุรเวทและเซเลบริตี้ชื่อดังของไทย เขื่อน – ภัทรดนัย เสตสุวรรณ จัดอีเวนต์เสริมสร้างสุขภาวะสุดสัปดาห์เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา สุดสัปดาห์จึงได้พูดคุยกับเจ้าตัวเกี่ยวกับการดูแลสุขภาวะจิตใจของคนในยุคนี้ที่ค่อนข้างกดดันจากสภาพแวดล้อมต่างๆ รวมถึงโซเชียลมีเดียด้วย

ก่อนอื่นขอพูดถึงกิจกรรมครั้งนี้สักเล็กน้อยว่าได้จัดขึ้นหลังจากที่มีการเผยแพร่รายงานสุขภาวะที่ดีระดับโลก (Global Wellbeing Report) ประจำปี 2566 ของ lululemon ซึ่งชี้ให้เห็นว่า พื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพ ทางจิตใจ หรือทางสังคม ล้วนเป็นอุปสรรคสำคัญที่ฉุดรั้งไม่ให้ผู้คนในประเทศไทยมีสุขภาวะที่ดี รายงานฉบับนี้เผยการค้นพบที่สำคัญ ได้แก่

  • เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ คนไทยมีแนวโน้มที่จะรู้สึกว่าตนมีพื้นที่ทางกายภาพสำหรับออกกำลังกายในละแวกบ้านน้อยกว่า โดย Gen Z เป็นกลุ่มช่วงวัยที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง Gen Z เกือบ 3 ใน 4 จึงหันไปเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพต่างๆ ในคอมมูนิตี้
  • ผู้ชายไทยมากกว่าครึ่งหวังว่าตนจะไม่ถูกมองในแง่ลบเมื่อแสดงออกว่าอยากยกระดับสุขภาพจิตของตนเอง
  • นอกจากนี้ Gen Z กว่า 2 ใน 3 ในประเทศไทยยังหวังที่จะแสดงออกถึงสิ่งที่พวกเขารู้สึกจริงๆ มากกว่าที่จะต้องแสร้งเป็นว่าสบายดี
  • LGBTQ+ ในประเทศไทยค่อนข้างรู้สึกหมดพลังที่จะนึกถึงเรื่องสุขภาวะที่ดีของตนเอง
  • คนไทยมากกว่าครึ่งรู้สึกกดดันที่ต้องแสร้งทำเป็นมีความสุข และเกือบ 3 ใน 5 รู้สึกว่าแรงกดดันที่บังคับให้ต้องทำตามบรรทัดฐานทางสังคมส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต และส่งผลให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวทางสังคมและความเหงา
lululemon
เขื่อน – ภัทรดนัย และ ภพ – ไตรภพ เหล่าอุดม แบรนด์แอมบาสเดอร์ของ lululemon ประเทศไทย

จากรายงานดังกล่าวจะเห็นได้ว่าคนในยุคนี้ค่อนข้างอยู่ในภาวะกดดันจากหลายๆ ด้าน เราจึงได้พูดคุยกับคุณเขื่อนถึงการดูแลและบาลานซ์จิตใจของตัวเองท่ามกลางสภาวะต่างๆ

…มาพบกับแง่คิดดีๆ จากบทสัมภาษณ์ที่จะช่วยจุดประกายเชิงบวกให้กับเรากันค่ะ

ในสังคมไทยที่เราต้องดูแลทั้งคุณพ่อคุณแม่และดูแลครอบครัวตัวเองไปพร้อมกัน (แซนด์วิชเจเนอเรชั่น) คุณมีคำแนะนำอย่างไรในการรับผิดชอบทั้ง 2 ส่วนนี้โดยที่ตัวเองก็ไม่เครียดหรือกดดันจนทำให้ตัวเองไร้สุข

เขื่อนคิดว่าทุกการเลือกของเรามันมาพร้อมผลกระทบ และแน่นอนเมื่อเรามีความรับผิดชอบที่จะต้องดูแลคนอื่น มันก็มาพร้อมผลกระทบคือความเครียดและความกังวลบ้าง จริงๆ ความเครียดความกังวลนี้เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติของมนุษย์นะครับ แค่มีมากมีน้อยและรับมือได้มากหรือน้อยแค่ไหนมากกว่า แต่สิ่งที่เขื่อนพูดและทำตลอดก็คือว่า เราต้องช่วยตัวเองให้ได้ก่อนแล้วค่อยช่วยคนอื่น เพราะถ้าเกิดเราช่วยคนอื่นอย่างเดียว อันนี้เขื่อนไม่ได้เหมารวมนะครับ แต่คนไทยอาจติดนิสัยเอาคนอื่นมาก่อน เพราะจะมีบริบทว่าถ้าเกิดเอาตัวเองมาก่อนปุ๊บจะกลายเป็นคนเห็นแก่ตัว จะเป็นกลายเป็นคนไม่น่ารัก แต่อย่าลืมนะครับว่ามันเหมือนน้ำในบ่อ ถ้าเราวิดจนหมดบ่อแล้ว วันที่มันหมดเราก็เติมน้ำให้ตัวเองไม่ได้นะครับ

“เขื่อนจะพูดตลอดเลยว่า ช่วยตัวเองก่อน เขื่อนเชื่อว่า If you want to save everyone, you save no one. ถ้าเราอยากช่วยทุกคน เราจะไม่สามารถช่วยใครได้เลย อันนี้เป็นแนวคิดที่หลายๆ ครั้งพอเราปฏิบัตินะครับ มันอาจจะรู้สึกไม่ดีในตอนแรก เพราะมันทำให้เรารู้สึกเหมือนเราเห็นแก่ตัวหรือเปล่า เราเอาตัวเองมาก่อน เราอย่างงี้อย่างงั้น แต่อย่าลืมนะครับว่าทุกการเปลี่ยนแปลงที่ดีส่วนใหญ่ตอนแรกมันก็ไม่ได้รู้สึกดีครับ แต่ในระยะยาวเขื่อนกล้าคอนเฟิร์มให้เลยว่า ซึ่งเขื่อนเป็นคนคอนเฟิร์มอะไรยากมาก ในระยะยาวคือ Healthy และ Sustainable มากครับ เราช่วยตัวเราเองก่อน แล้วพอเราช่วยตัวเองได้เมื่อไหร่เนี่ย เราจะช่วยคนอื่นได้อีกเยอะมากเลย แล้วการช่วยของเรามันจะแบบไม่ใช่ช่วยเพื่อช่วยอ่ะครับ แต่ช่วยเพราะว่าต้องการจะช่วยแล้วมันมีความหมายจริงๆ

คุณคิดว่าการแสดงออกถึงความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเองสำคัญอย่างไร หากเราไม่เคยทำ จะเริ่มต้นอย่างไร

“รายงานสุขภาวะที่ดีระดับโลกของ lululemon ระบุว่า Gen Z 2 ใน 3 ในประเทศไทยหวังว่าพวกเขาจะสามารถแสดงออกถึงความรู้สึกที่แท้จริงได้แทนที่จะแสร้งทำเป็นว่าสบายดีอยู่เสมอ ถ้าเกิดให้ top 3 หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดในการใช้ชีวิตสำหรับเขื่อน คือ

“การ Being Genuine จริงใจ จริงจัง กับความรู้สึกตัวเอง ซึ่งในเมืองไทยก็ค่อนข้างยากเพราะมีบริบทหลายอย่างที่บังคับ ซึ่งคำว่าเกรงใจ อย่างภาษาอังกฤษคำว่าเกรงใจมันไม่มี พอมาเมืองไทยปุ๊บการ Voice เสียงตัวเอง ใช้สิทธิ์ตัวเอง มันมี push back ค่อนข้างเยอะครับ เพราะอาจดูไม่น่ารัก ก้าวร้าว ไม่เห็นแก่ส่วนรวม ซึ่งจริงๆ แล้วทุกอย่างมันคือการบาลานซ์ครับ กินน้ำเยอะไปก็ไม่ดี ได้รับออกซิเจนเยอะไปก็ไม่ดี แต่การ Voice เสียงของตัวเองในแบบที่ safe ทั้งใจตัวเองและเคารพผู้ฟัง บางทีเขื่อนอาจจะใช้คำว่าเคารพนะ เพราะการจะเซฟผู้ฟังตลอดเป็นไปไม่ได้ แต่เราสามารถเคารพผู้ฟังของเราตลอดได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากครับ”

เนื่องจากบางความรู้สึกเป็นเชิงลบ อาจทำให้คนลังเลที่จะแสดงออกมา คุณมีคำแนะนำในการสื่อสารความรู้สึกเชิงลบออกมาในแนวทางที่เหมาะสมหรือไม่ อย่างไร

“เขื่อนจะพูดตลอดเลยครับ อันนี้เรียกว่า constructive criticism ครับ การที่เรา criticize ใครแบบคอมเมนต์ด่าหรือแซะ ไม่เคยเป็นผลดีเลยในแง่ที่เราอยากให้เขาปรับปรุงตัวนะ อันนี้เราแยกคนที่แบบสมควรโดนด่าออกไปเลยนะ เขื่อน assume ว่าเรากำลังพูดอะไร negative กับคนที่เรามีเจตนาดีด้วย

“สำหรับเขื่อน เรียกว่า constructive criticism ก็คือการติ แบบเป็นแซนด์วิชครับ

“หนึ่ง เราบอกเขาก่อนว่า อะไรมันเวิร์ก  เราชื่นชมอะไรในตัวเขา

“สอง อะไรไม่ดีที่เกิดขึ้นให้เรารู้สึกว่าเรารับผิดชอบความรู้สึกตัวเอง คือ ไม่บอกว่าเป็นเขา แต่เรารู้สึกว่า……..

“สาม ตบท้ายด้วยว่า จากที่พูดไป เรา Move forward ยังไงแล้วมัน apply ได้ยังไง

“ยกตัวอย่างเช่น เขื่อนมีนักเรียนคนนึง เป็นนักเรียนปีหนึ่ง เป็นนักจิตบำบัด เราเห็นว่าเขาเอาตัวเองเป็นหลักในจิตบำบัด แล้วบางทีมีพื้นที่คนไข้น้อย เขื่อนก็จะพูดกับเขาว่า เฮ้ย Adam ยูเป็นผู้ฟังที่ดีจริงๆ นะ เห็นได้เลยว่าการฟังของยูค่อนข้างเป็นธรรมชาติมากๆ เลย แต่บางครั้งเขื่อนก็รู้สึกว่าเพราะว่ามันมี culture clash หลายๆ อย่าง การฟังในประเทศของยูกับที่ๆ ยูทำตอนเนี้ยมันอาจจะไม่เหมาะ เราลองช่วยกันหาวิธีฟังได้ไหม ที่จะรู้สึกว่าฟังแล้วยูจะปฏิบัติงานได้ดีกว่านี้หรืออาจจะเข้าใจวัฒนธรรมได้มากขึ้นด้วย อย่างนี้เรียกว่า constructive คือ เขารู้ว่าเขาทำอะไรดี เขารู้ว่าทำอะไรไม่ดี แล้วเขามีข้อมูลเพิ่มเติมว่าเขาสามารถแก้ไขได้อย่างไร

“ถ้าเราหวังดีกับใครแล้วเราด่าเขาเลย ไม่มีใครรู้สึกดีและส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นผลได้แต่ความสะใจมากกว่า เผลอๆ บางทีมันเข้าตัวเองด้วยนะครับ”

คุณมีคำแนะนำในการ “วางใจ” สำหรับคนเจเนอเรชั่นนี้ที่เติบโตมาพร้อมกับโซเชียลมีเดียเพื่อให้ใช้ชีวิตอย่างสมดุลในแบบฉบับของตัวเอง

“เขื่อนว่า Wellbeing ที่ดีที่สุดและเป็นแบบ one size fits all สำหรับทุกคนนั้นไม่มี หน้าที่ของเราคือ ต้องหาให้เจอว่าแบบไหนเหมาะกับเรา อันนี้เหมาะกับเขื่อนก็อาจจะไม่เหมาะกับคนที่ติดตามเขื่อนอยู่แล้ว อะไรที่เหมาะกับเขาก็อาจจะไม่ได้เหมาะกับเขื่อน
เราต้องอย่าลืมนะว่าบนโซเชียลมีเดียก็เขาก็อัพในสิ่งที่เขาอยากอัพ ไม่ได้บอกว่าด้านดีหรือไม่ดีนะ มันมีทั้งมุมที่เขาเลือกอัพแล้วก็ไม่อัพ เพราะฉะนั้นมันอยู่ในหน้าที่ของผู้เสพด้วยว่าเสพแล้วเรา critical ได้มากแค่ไหน เราเอามา apply กับตัวเราได้มากแค่ไหน เพราะฉะนั้นทั้งผู้ผลิตและผู้เสพต้อง critical ให้ได้ว่า เอ้ย เรามีการเข้าใจโลกไม่เหมือนกันนะ และเราสามารถ apply กับตัวเราอย่างไร”

ปัจจุบันมีการแนะนำให้จำกัดการเสพสื่อโซเชียลเพื่อสุขภาวะทางอารมณ์ที่ดี คุณมีความคิดเห็นเรื่องนี้อย่างไร และคุณมีทริคสำหรับคนที่ติดโซเชียลและอยากละลดแต่ยังทำไม่ได้หรือไม่

“อย่างที่เขื่อนบอกไปครับ น้ำกินเยอะไปตับกับไตก็วาย ออกซิเจนที่สูงเกินไปก็เป็นพิษ ทั้งๆ ที่น้ำและออกซิเจนคือสิ่งจำเป็นกับการมีชีวิตมากที่สุด เช่นเดียวกับสารเคตามีนที่ในบางประเทศใช้รักษาภาวะโรคซึมเศร้า แต่ในบางประเทศเป็นยาเสพติด ใครเสพจับเข้าคุก

“ฉะนั้นทุกอย่างอยู่ที่บาลานซ์ ไม่ต่างอะไรกับโซเชียลมีเดียเช่นกันครับ โซเชียลมีเดียจะเล่นให้ดีก็ทำได้เยอะแยะ เดี๋ยวนี้คนสามารถ access research paper, article ส่ง message เตือนภัย หรือจะสร้างความเกลียดใส่กันก็ได้ ดังนั้นคนบาลานซ์ต้องอยู่ที่ตัวเราครับ เราต้องหาความบาลานซ์นั้นให้เจอ

“เขื่อนไม่เชื่อเรื่อง oh I’m on a 7 day social media detox ครับ เพราะมันไม่ sustainable สำหรับเขื่อนอะไรที่ดีคืออะไรที่ sustainable ทำอะไรได้ในระยะยาว โซเชียลมีเดียก็เช่นกันครับ ถ้าอยากทำให้ sustainable เราต้องหาจังหวะที่เล่นแค่นี้ถึงแค่นี้นะ ประมาณนี้นะ ต้องหาจังหวะที่ดีกับตัวเองให้เจอครับ”

ขอ how-to ง่ายๆ ในแบบฉบับคุณเขื่อน สำหรับคนวัยทำงานในการบริหารจัดการชีวิตอย่างมีคุณภาพทั้ง “งาน-สุขภาพกาย-สุขภาพใจ”

“ขอตอบแบบจริงใจแล้วก็จริงจังที่สุดแล้วนะครับ สำหรับเขื่อนคือไม่มีวิธีที่ดีที่สุด

“ไม่มีวิธีที่ดีสุดที่แปลว่า no one has it all, and if they say they do, watch closer เพราะว่าอย่างเขื่อนอย่างนี้ครับ เขื่อนทำงานหนักมาก แล้วก็เลือกที่จะเรียนหนังสือและดูแลครอบครัวไปพร้อมกัน สิ่งที่มากับจุดนี้เลยคือชีวิตสังคมกับชีวิตรักกลายเป็น 0- 5% แต่เขื่อนไม่ได้บอกว่าเพราะทำอย่างนี้เลยไม่มี แต่เขื่อนเลือกเลือกที่จะโอเคในช่วงวัยนี้เรายังไหวนะ ช่วงวัยนี้เรายังสามารถซัพพอร์ตที่บ้านได้ และยังอยากเรียนและทำงานได้ เนี่ยคือคำว่า work life balance ของเขื่อน คือเขื่อนตระหนักและเขื่อนเลือกที่จะบาลานซ์ เป็นสิ่งที่ทำได้และแลกได้

ไม่มีใครสามารถบาลานซ์ชีวิตรัก ชีวิตงาน ชีวิตเงิน ชีวิตเที่ยว ชีวิตสังคมได้เพอร์เฟค และได้นอนอีก 8 ชั่วโมง No way แต่ยูสามารถเลือกได้ว่า เออช่วงนี้ของชีวิตอยากได้อะไร โฟกัสอะไร อะไรที่มันทำได้ อะไรที่ไม่ได้

“ถ้าจะให้ฝากคำแนะนำ เขื่อนมองว่าในยุคปัจจุบันที่ชีวิตกดดันเร่งรีบ เราต้องพยายามหาวิธีสร้างสมดุลของ wellbeing ในสามด้าน คือ Physical, mental และ social ซึ่งเขื่อนว่า 3 มิตินี้ต้องทำไปพร้อมกัน โดยเราอาจจะลองทำผ่านกิจกรรมอย่างการเล่นโยคะ การวิ่ง การทำสมาธิ การเข้าร่วมคอมมูนิตี้เพื่อพูดคุยเรื่องความเป็นอยู่ที่ดี หรือลองหากิจกรรมที่ช่วยเราบริหารจัดการความเครียด ส่งเสริมสุขภาพกายใจ สร้างการมีส่วนร่วมของเราในสังคม ทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่ได้อยู่คนเดียวครับ”

นี่คือมุมมองหนึ่งต่อคำถามถึงการดูแลจิตใจของตัวเองในสภาวะปัจจุบันจาก เขื่อน – ภัทรดนัย เสตสุวรรณ ซึ่งเราหวังว่าผู้อ่านจะสามารถเลือกบางส่วนที่เหมาะกับตัวเองไปปรับใช้ได้ หรืออย่างน้อยก็เป็นแง่คิดหนึ่งที่จะนำไปวิเคราะห์ต่อยอดเพื่อจุดประกายบางอย่างที่จะเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต

…ไม่ว่าสภาวะแวดล้อมหรือเงื่อนไขในชีวิตจะเป็นอย่างไร อย่างน้อยในแต่ละวันอย่าลืมหาเวลาหรือสักห้วงความคิดที่จะคำนึงถึงตัวเองบ้างนะคะ

ขอบคุณ เขื่อน – ภัทรดนัย เสตสุวรรณ และ lululemon สำหรับการสัมภาษณ์บทความดีๆ มา ณ ที่นี้

สัมภาษณ์และเรียบเรียง Nicharee W.

ติดตามบทความด้านสุขภาพและความงามที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่นี่

10 เคล็ดลับหลับสบาย คลายความหงุดหงิด #ให้การนอนเยียวยาเรา

เข้าถึงความงามแบบฉบับเกาหลีกับ Angela Jia Kim ผู้เขียน Radical Radiance และผู้ก่อตั้ง Savor

รู้จักปรัชญาความงามและเทคนิคการดูแลผิวแบบญี่ปุ่น กับ Yasushi Ishibashi ผู้ก่อตั้งแบรนด์

รีวิว & รีชาร์จกายใจไปกับ RXV Wellness Village

Divana Thai Med การผสมผสานที่ลงตัวระหว่างแพทย์แผนไทยกับศาสตร์สปาบำบัด

ชวนคนรักน้ำหอมทำความรู้จัก Le Labo City Exclusive

สุดสัปดาห์

keyboard_arrow_up