9 คำสอนของพ่อ : ความสุขในชีวิต

นอกจากมีความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน และทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ยังทรงปรารถนาให้ประชาชนมีความสุข เราจึงขอรวบรวมพระราชดำรัสเกี่ยวกับเรื่อง ความสุขในชีวิต เพื่อให้ได้นำไปปฏิบัติตามกัน 9 คำสอนของพ่อ : ความสุขในชีวิต   ความสุขด้านกาย “…กายที่มีสุขภาพดีก็หมายความว่ากายที่แข็งแรง ที่เดินได้ ยืนได้ นั่งได้ มีกำลัง มีทุกอย่าง รวมทั้งมีความคิดที่ดี ถ้ามีสุขภาพจิตที่ดีก็มีกำลัง เป็นกำลังที่จะแผ่ความเมตตาให้แก่คนอื่น มีกำลังที่จะคิดในสิ่งที่ถูกต้อง ที่จะทำให้มีความเจริญรุ่งเรืองแก่ตัวและความเจริญรุ่งเรืองในสังคม…” (พระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเข้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในโอกาสที่คณะจิตแพทย์ นักวิชาการสุขภาพจิต อาจารย์จากมหาวิทยาลัย และผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันต่างๆ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520)   “…ร่างกายของเรานั้น ธรรมชาติสร้างมาสำหรับให้ออกแรงใช้งาน มิใช่ให้อยู่เฉยๆ ถ้าใช้แรงให้พอเหมาะพอดีโดยสม่ำเสมอ ร่างกายก็เจริญแข็งแรง คล่องแคล่ว และคงทนยั่งยืน ถ้าไม่ใช้แรงเลย หรือใช้ไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะเจริญแข็งแรงอยู่ไม่ได้ แต่จะค่อยๆ เสื่อมไปเป็นลำดับ และหมดสมรรถภาพไปก่อนเวลาอันสมควร ดังนั้น […]

หลักปฏิบัติ 10 ประการ ตามรอยพระยุคลบาท

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทมากมาย เพื่อให้เราชาวไทยยึดเป็นหลักในการดำเนินชีวิต อย่างหลักปฏิบัติ 10 ประการ ที่ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้เขียนไว้ในหนังสือ หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท   หลักปฏิบัติ 10 ประการ ตามรอยพระยุคลบาท   1. ทํางานอย่างผู้รู้จริง และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ พระองค์ท่านทรงสอนว่า ไม่ว่าจะอยู่ในหน้าที่ไหน จะทำอะไร ต้องเริ่มต้นที่การมีความรู้เสียก่อน ต้องเป็นผู้รู้จริงในการทำงาน ดร.สุเมธ เล่าว่า “พระองค์ท่านมีเอกสาร ศึกษาวิธีทํา เรื่องที่จะทําแต่ละเรื่อง ทรงศึกษาอย่างละเอียด ก่อนจะตัดสินพระทัยลงไปช่วยพัฒนาประชาชน”   2. ยึดมั่นในความถูกต้อง ดร.สุเมธ เล่าว่า “ธรรมะ ความถูกต้อง ทรงถือยิ่งกว่าสิ่งใด ท่านรู้หรือไม่ว่าคนถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล กองนี้ใครแตะไม่ได้นะครับ ทําบุญอย่างเดียว เพราะเจ้าของเงินเขาระบุไว้ว่าโดยเสด็จพระราชกุศล และกองไหนตามพระราชอัธยาศัย กองนี้ถึงไปใช้อะไรก็ได้ แต่พระองค์ก็ไม่เคยใช้ส่วนพระองค์เลย ทรงกําชับนักหนาเรื่องความถูกต้องในการดําเนินการ ต้องทุกกระเบียดนิ้ว ทุกกระบวนการต้องยึดความถูกต้องไว้”   3. ความเรียบง่าย […]

5 เรื่องเล่า ครั้งยังทรงพระเยาว์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9

5 เรื่องเล่า จากหนังสือ “เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์” ซึ่งพระราชนิพนธ์โดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์บอกเล่าเรื่องราวน่ารักๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ครั้งยังทรงพระเยาว์ 5 เรื่องเล่า ครั้งยังทรงพระเยาว์   ครั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชันษาได้ 3 พรรษา ทรงเป็นโรคบิด และต้องฉีดยา ก่อนจะทรงถูกฉีดยา สมเด็จย่าทรงอธิบายว่าจะเจ็บนิดหน่อย ในหลวงจึงตรัสถามว่า “ร้องไห้ได้ไหม”   เมื่อสมัยยังทรงพระเยาว์ มีการแสดงเล็กๆ น้อยๆ และต้องแต่งตัว เด็กผู้หญิงแต่งเป็นผีเสื้อ ด้วยชุดที่ทำจากกระดาษห่อของที่นุ่มและบาง เด็กผู้ชายแต่งชุดผ้าเป็นกระต่าย แม่ (สมเด็จย่า) บอกว่าพระองค์เล็ก (ในหลวง) ไม่ชอบเลย เมื่อสมเด็จพระพี่นางฯ ไปกราบบังคมทูลสัมภาษณ์เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2529 ยังรับสั่งว่า “ไม่ชอบเลย รู้สึกว่ามัน ridiculous (ทุเร้ศ ทุเรศ)”   วันหนึ่ง แม่ (สมเด็จย่า) ลงมาดูลูกชายสองคนซึ่งกำลังเล่นละลายเทียนไขในกระทะเล็กที่วางบนอั้งโล่ แม่เห็นคางคกที่วางอยู่บนกระทะนั้นตัวหนึ่ง […]

5 เรื่องเล่าแสนประทับใจ ถึง ในหลวง รัชกาลที่ 9

มีเรื่องเล่าสุดแสนประทับใจ จากคนที่ได้เข้าเฝ้าฯ และใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาให้เราได้อ่านกันบ่อยๆ ครั้งนี้จึงขอรวบรวม 5 เรื่องเล่าเกี่ยวกับ ในหลวง รัชกาลที่ 9 มาให้อ่านกันอีกครั้ง เรื่องเล่าเกี่ยวกับ ในหลวง   เสียงปริศนา ในวันเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงศึกษาต่อ ขณะที่ประทับรถพระที่นั่งไปสู่สนามบินดอนเมือง พระองค์ทรงได้ยินเสียงตะโกนดังๆ ว่า “ในหลวง อย่าทิ้งประชาชนนะ” ทำให้ทรงนึกตอบบุคคลผู้นั้นในพระราชหฤทัยว่า “ถ้าประชาชน ไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้วข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้” เป็นที่น่าประหลาดว่า ต่อมาอีกประมาณ 20 ปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพบชายที่ร้องตะโกนทูลพระองค์ไม่ให้ทิ้งประชาชนนั้นเป็นพลทหาร และออกไปทำนาอยู่ในต่างจังหวัด เขากราบบังคมทูลสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ไม่ทรงทิ้งราษฎร เขาทูลว่า ตอนที่เขาร้องไปนั้น เขารู้สึกว้าเหว่ และใจหายที่เห็นพระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จฯ ไปจากเมืองไทย กลัวจะไม่เสด็จฯ กลับมาอีก เพราะคงจะทรงเข็ดเมืองไทย เห็นเป็นเมืองที่น่ากลัว น่าสยดสยอง เขาดีใจมากที่ได้เฝ้าฯ อีก กราบบังคมทูลถามว่า “ท่านคงจำผมไม่ได้ ผมเป็นคนร้องไม่ให้ท่านทิ้งประชาชน” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งถามว่า “เราน่ะรึที่ร้อง” “ใช่ครับ ตอนนั้นเห็นหน้าท่านเศร้ามาก กลัวจะไม่กลับมา จึงร้องไปเหมือนคนบ้า” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงทรงตอบ “นั่นแหละ ทำให้เรานึกถึงหน้าที่ จึงต้องกลับมา” […]

พระอัจฉริยภาพด้านการ กีฬา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงโปรดการเล่น กีฬา มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ โดยทรงศึกษาข้อมูลของกีฬาแต่ละประเภทอย่างละเอียด และทรงฝึกฝนจนปฏิบัติได้ดี น่าสังเกตว่ากีฬาที่โปรด มักเป็นกีฬาที่ไม่ได้ใช้แต่พละกำลังเพียงอย่างเดียว คือ ต้องอาศัยความรู้รอบตัวและเทคนิคไหวพริบ ผนวกกับความรู้ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในกีฬานั้นๆ พระอัจฉริยภาพด้านการ กีฬา ของในหลวง รัชกาลที่ 9   เรือใบ พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัยในกีฬาเรือใบเป็นพิเศษ เนื่องจากทรงโปรดปรานการช่างอยู่แต่เดิมแล้ว ทรงต่อเรือใบด้วยพระองค์เอง และจะทรงทดลองแล่นในสระน้ำภายในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เรือใบฝีพระหัตถ์ลำแรกที่ทรงต่อด้วยพระองค์เองเป็นเรือใบพระที่นั่งเอ็นเตอร์ไพรส์ โดยพระราชทานชื่อเรือว่า “ราชปะแตน” และต่อมาทรงต่อเรือใบประเภท โอ เค ขึ้นอีก พระราชทานชื่อว่า “นวฤกษ์” ซึ่งเรือนวฤกษ์นี้เอง ทรงนำมาใช้ในการแข่งขันกีฬาเรือใบในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 โดยทรงลงแข่งขันร่วมกับ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงร่วมการแข่งขันในฐานะนักกีฬาทีมชาติไทยคนหนึ่ง ทรงซ้อมและเก็บตัวเหมือนนักกีฬาทั่วไป และทรงชนะเลิศการแข่งขันเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม โดยทรงขึ้นรับเหรียญทองบนแท่นเหมือนนักกีฬาทั่วไป ในพิธีปิด ณ สนามศุภชลาศัย ซึ่งจากเหตุการณ์นี้ ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดให้วันที่ 16 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันกีฬาแห่งชาติ […]

พระปรีชาสามารถใน ด้านดนตรี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9

พระราชนิยมในศิลปะและดนตรีของพระบาทสมเด็จพระพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เป็นที่ประจักษ์แก่พสกนิกรชาวไทย และกระจายไปถึงชาวต่างประเทศด้วย พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัย ด้านดนตรี มาตั้งแต่ยังทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์   พระอัจฉริยภาพทาง ด้านดนตรี ทรงฝึกฝนวิชาดนตรีอย่างลึกซึ้ง คือการเขียนโน๊ตและบรรเลงแบบคลาสสิก แนวดนตรีที่ทรงสนพระราชหฤทัยคือ แนวแจ๊ส ทรงศึกษาประวัตินักดนตรีที่มีชื่อเสียงและทรงเปรียบเทียบฝีมือการเล่นดนตรีต่างๆ จากแผ่นเสียงสไตล์ที่โปรด เช่น สไตล์การเป่าโซปราแซกโซโฟนของ Sydney Bechet ออโต แซกโซโฟน ของ Johny Hodges เป็นต้น ทรงมีพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรีเป็นพิเศษ เครื่องดนตรีที่โปรดคือ เครื่องเป่าแทบทุกชนิด เช่น แซกโซโฟน คลาริเน็ต และทรัมเป็ต เป็นต้น จนได้รับการถวายการยกย่องว่า ทรงเป่าโซปราโนแซกโซโฟนได้ดีที่สุดในประเทศไทย พระองค์ทรงเล่นดนตรีร่วมกับวงดนตรีได้กับทั้งวงไทยและต่างประเทศ ทรงสามารถใช้ปฏิภาณเล่นเดี่ยวได้อย่างยอดเยี่ยม เรียกว่า การเดี่ยวแบบ “Solo Adlib” ซึ่งถือว่ายาก โดยทรงสามารถบรรเลงโต้ตอบได้อย่างสนุกสนานกับนักดนตรีที่มีชื่อเสียงของโลก เช่น Benny Goodman หรือ Jack Teagarden เป็นต้น   ผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทและผู้ที่เคยได้ร่วมเล่นดนตรีกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เล่าถึงพระราชอัจฉริยภาพในการพระราชนิพนธ์เพลงว่า ทรงแต่งเพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย […]

ห้องทรงงาน ของในหลวง รัชกาลที่ 9 ไม่ได้เลิศหรูอย่างที่เราเคยคิด

เชื่อว่าหลายคนคงได้ดูคลิปวิดีโอสารคดีจากช่อง BBC ที่ได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตสัมภาษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อประมาณ 38 ปีก่อน สารคดีนี้ทำให้เราได้เห็น ห้องทรงงาน ของพระองค์ ซึ่งกล่าวได้ว่า ผิดไปจากที่เราคิดทั้งหมด! ห้องทรงงาน ของในหลวง   หลายคนอาจจะคิดว่าห้องทรงงานของพระราชาต้องหรูหราโอ่โถง มีโต๊ะพระอักษรและพระเก้าอี้งามวิจิตร จัดเรียงทุกอย่างอย่างเป็นระเบียบ แต่ห้องทรงงานของในหลวง รัชกาลที่ 9 นั้น ตรงข้ามกับสิ่งที่เราได้จินตนาการไว้ ห้องทรงงานนี้เป็นห้องเล็กๆ ขนาดเพียง 3×4 เมตรเท่านั้น ภายในห้องมีวิทยุ โทรทัศน์ โทรสาร โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ เทเล็กซ์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องพยากรณ์อากาศ และอื่นๆ อย่างครบวงจร ผนังห้องโดยรอบเป็นแผนที่ทางอากาศแสดงถึงพื้นที่หมู่บ้านแม่น้ำ ภูเขา และป่าอย่างละเอียด เวลาทรงงานพระองค์จะประทับนั่งบนพื้น เพราะจะได้ทรงวางสิ่งของต่างๆ ได้อย่างสะดวก   หลังจากนั้น เมื่อทรงย้ายที่ประทับไปยังพระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ก็ยังทรงไม่ละทิ้งพระราชกรณียกิจ ทรงจัดห้องทรงงานอย่างเรียบง่าย มีเอกสารมากมาย ข้าวของเครื่องใช้ภายในห้อง แทบไม่แตกต่างจากเดิม และมีคอมพิวเตอร์เพื่อทรงใช้ในการติดตามข่าวสารต่างๆ แม้จะไม่ได้ประทับนั่งบนพื้นอย่างเคย แต่ก็ทรงใช้พระเก้าอี้และโต๊ะพระอักษรที่เรียบง่ายเช่นเดิม   […]

พระปรีชาสามารถในด้าน ศิลปะ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระอัจฉริยภาพใน ศิลปะ ด้านต่างๆ จนเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญา “อัครศิลปิน” แด่พระองค์ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ศิลปะ ด้านต่างๆ อาทิ   ด้านจิตรกรรม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัยงานศิลปะด้านจิตรกรรมตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เมื่อครั้งที่ประทับอยู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างปีพุทธศักราช 2480-2484 ทรงฝึกเขียนภาพจากตำราที่ทรงซื้อและมีผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย และเมื่อสนพระราชหฤทัยผลงานของศิลปินผู้ใดก็จะเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมศิลปินผู้นั้นถึงที่พัก ทรงมีพระราชปฏิสันถารและทอดพระเนตรวิธีการทำงาน จนทรงเข้าพระราชหฤทัยในการสร้างสรรค์งานเขียนของศิลปินเหล่านั้นเป็นอย่างดี ภายหลังที่เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ในปีพุทธศักราช 2502 ทรงเริ่มเขียนภาพอย่างจริงจัง ในระยะแรกๆ พระองค์ทรงเขียนภาพเหมือนจากพระสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอทุกพระองค์ ผู้ใกล้ชิดเบื้องยุคลบาท และมีภาพผลงานหลายชิ้นที่ทรงเขียนภาพหุ่นนิ่งและภาพทิวทัศน์บ้าง แต่โดยสรุปแล้ว ภาพคนจะเป็นแนวหลักของการทรงงานจิตรกรรม ทรงรับสั่งเกี่ยวกับการเขียนภาพของพระองค์เองว่า ทรงวาดอย่างนักวาดภาพสมัครเล่น คือทรงวาดตามพระราชหฤทัยจะนึกวาด มิได้ทรงคำนึงถึงทฤษฎีหรือกฎเกณฑ์อันใด ผลงานของพระองค์ท่านออกมาจากจินตนาการของพระองค์เอง ฉะนั้นเมื่อได้เห็นภาพเขียนฝีพระหัตถ์ก็จะเห็นชัดแจ้งถึงลักษณะที่เป็นอิสระเฉพาะตัว   ด้านประติมากรรม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงศึกษาค้นคว้าเทคนิควิธีการต่างๆ […]

๒๐ พระราชดำรัส ในดวงใจ ไม่ว่านานแค่ไหน คำสอนของพ่อยังคงจริงเสมอ

แม้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ก็ยังคงเป็นอมตะ และใช้ได้จริงอยู่เสมอ   ๒๐ พระราชดำรัสในดวงใจ   “การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดยมากไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๐๖ “ผู้มีหน้าที่สื่อข่าวก็ดี หรือมีหน้าที่ประสานความเข้าใจระหว่างคนหลายชาติหลายชั้นก็ดี ควรสำนึกอยู่เสมอว่างานของเขาเป็นงานสำคัญและมีเกียรติสูง เพราะหมายถึงความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ในการร่วมกันสร้างสันติสุขให้แก่โลก การแพร่ข่าวโดยขาดความระมัดระวังหรือแม้แต่คำพูดง่ายๆ เพียงนิดเดียว ก็สามารถทำลายงานที่ผู้มีความปรารถนาดีทั้งหลายพยายามสร้างไว้ด้วยความยากลำบากเป็นเวลาแรมปี หากจะแก้ตัวว่าการพูดพล่อยๆ เพียงสองสามคำนี้ เป็นเรื่องเล็ก ไม่น่าจะเก็บมาถือเป็นเรื่องใหญ่เลยก็ไม่ถูก เหมือนฟองอากาศนิดเดียวถ้าเข้าไปอยู่ในเส้นเลือด ก็จะสามารถปลิดชีวิตคนได้ทั้งคน และน้ำตาลหวานๆ ก้อนเล็กนิดเดียว ถ้าใส่ลงไปในถังน้ำมันรถ ก็จะทำให้เครื่องจักรดีๆ ของรถเสียได้โดยสิ้นเชิง” พระราชดำรัสในการถวายเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิแตน ระหว่างเสด็จฯ เยือนสหรัฐอเมริกา วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๑๐ “ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดี และคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อยจึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้” พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี […]

นานาชาติร่วมไว้อาลัย ต่อการเสด็จสวรรคตของพระราชาผู้เป็นที่รัก

ไม่เพียงแต่ยังความโศกเศร้ามาสู่คนไทยทั้งประเทศ แต่การเสด็จสู่สวรรคาลัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ก็ถือเป็นความสูญเสียของคนทั้งโลกเช่นกัน ดังที่ผู้นำทั่วโลก และ นานาชาติร่วมไว้อาลัย นานาชาติร่วมไว้อาลัย   สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งราชอาณาจักรภูฏาน ทรงมีรับสั่งให้จัดพิธีสวดรำลึกเป็นกรณีพิเศษ และให้จุดดวงประทีปทั่วทุกวิหารศักดิ์สิทธิ์ทั่วราชอาณาจักรภูฏาน เพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ และประกาศให้วันที่ 14 ตุลาคมนี้ เป็นวันแห่งการไว้อาลัยของชาวภูฏานทั้งประเทศ กำหนดให้ลดธงครึ่งเสา เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระเกียรติคุณ โดยจะให้เป็นวันหยุดราชการและโรงเรียนทั่วประเทศปิดการเรียนสอน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ร่วมกันสวดมนต์เพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ซึ่งในการณ์นี้ทางประเทศภูฏานจะมีการสวดมนต์เป็นกรณีพิเศษอย่างต่อเนื่องอีก 7 วัน   คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ร่วมยืนสงบนิ่งเพื่อถวายความเคารพแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ นายบัน คี-มูน เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ คือศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทย ทรงอุทิศพระองค์เพื่อการพัฒนาประเทศไทยมาอย่างยาวนาน พร้อมแสดงความหวังว่า ประเทศไทยจะยังคงยึดถือพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ที่ยึดมั่นต่อค่านิยมอันเป็นสากล และเคารพในสิทธิมนุษยชนต่อไป   ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ของสหรัฐฯ แถลงแสดงความเสียใจต่อพระบรมวงศานุวงศ์ และประชาชนชาวไทยที่สูญเสียพระมหากษัตริย์ผู้ไม่เคยเหน็ดเหนื่อยในการพัฒนาประเทศชาติ และอุทิศพระองค์เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน ทั้งระบุว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ทรงมีความสง่างามและอบอุ่น ประธานาธิบดี […]

พ่อหลวงของปวงชน กับ โครงการในพระราชดำริ เพื่อราษฎร

ตลอดระยะเวลาที่ครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศทรงงานหนัก และโปรดฯ ให้จัดตั้ง โครงการในพระราชดำริ ต่างๆ ขึ้นมากมาย ทั้งนี้เพื่อให้ปวงชนชาวไทยได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โครงการในพระราชดำริ มีตัวอย่างดังนี้   โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับป่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศทรงห่วงใยในปัญหาป่าไม้ที่ลดปริมาณลงเป็นอย่างมาก จึงทรงพยายามค้นหาวิธีนานาประการที่จะเพิ่มปริมาณของป่าไม้ในประเทศไทยอย่างมั่นคงและถาวร โดยมีวิธีการที่เรียบง่ายและประหยัดในการดำเนินงานตลอดจนเป็นการส่งเสริมระบบวงจรป่าไม้ในลักษณะอันเป็นธรรมชาติดั้งเดิม ซึ่งได้พระราชทานพระราชดำริหลายวิธีการ มีทั้งหมด 14 โครงการ ตัวอย่างเช่น โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี   โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศทรงตระหนักถึงปัญหาเกี่ยวกับดิน อันเกิดจากสาเหตุทางธรรมชาติ เช่น บางแห่งเป็นดินเปรี้ยว ดินด่าง ดินเค็ม และบางแห่งก็ไม่มีดินเลย ซึ่งทรงเรียกดินเหล่านี้ว่า “ดินแร้นแค้น” นอกจากนี้ ความเสื่อมโทรมของดินยังเกิดจากการกระทำอันรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของประชาชน เช่น การตัดไม้ทำลายป่า และการใช้พื้นที่โดยขาดการอนุรักษ์ จึงพระราชทานแนวพระราชดำริในการป้องกัน แก้ไข และพัฒนาทรัพยากรดินเป็นอเนกประการ มีทั้งหมด 8 โครงการ ตัวอย่างดังนี้ โครงการแกล้งดิน โครงการหญ้าแฝก โครงการทดลองแก้ปัญหาดินเปรี้ยว จังหวัดนครนายก   โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับน้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทอื่น […]

๑๐ ธรรมที่พ่อทำ

ธรรมของพระองค์คือรูปธรรมที่นำมาซึ่งประโยชน์ของชาวสยามที่แท้จริง

keyboard_arrow_up