ตามรอยพระยุคลบาท

หลักปฏิบัติ 10 ประการ ตามรอยพระยุคลบาท

Alternative Textaccount_circle
event
ตามรอยพระยุคลบาท
ตามรอยพระยุคลบาท

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทมากมาย เพื่อให้เราชาวไทยยึดเป็นหลักในการดำเนินชีวิต อย่างหลักปฏิบัติ 10 ประการ ที่ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้เขียนไว้ในหนังสือ หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท  

หลักปฏิบัติ 10 ประการ ตามรอยพระยุคลบาท

 

1. ทํางานอย่างผู้รู้จริง และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์

พระองค์ท่านทรงสอนว่า ไม่ว่าจะอยู่ในหน้าที่ไหน จะทำอะไร ต้องเริ่มต้นที่การมีความรู้เสียก่อน ต้องเป็นผู้รู้จริงในการทำงาน ดร.สุเมธ เล่าว่า “พระองค์ท่านมีเอกสาร ศึกษาวิธีทํา เรื่องที่จะทําแต่ละเรื่อง ทรงศึกษาอย่างละเอียด ก่อนจะตัดสินพระทัยลงไปช่วยพัฒนาประชาชน”

ตามรอยพระยุคลบาท

 

2. ยึดมั่นในความถูกต้อง

ดร.สุเมธ เล่าว่า “ธรรมะ ความถูกต้อง ทรงถือยิ่งกว่าสิ่งใด ท่านรู้หรือไม่ว่าคนถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล กองนี้ใครแตะไม่ได้นะครับ ทําบุญอย่างเดียว เพราะเจ้าของเงินเขาระบุไว้ว่าโดยเสด็จพระราชกุศล และกองไหนตามพระราชอัธยาศัย กองนี้ถึงไปใช้อะไรก็ได้ แต่พระองค์ก็ไม่เคยใช้ส่วนพระองค์เลย ทรงกําชับนักหนาเรื่องความถูกต้องในการดําเนินการ ต้องทุกกระเบียดนิ้ว ทุกกระบวนการต้องยึดความถูกต้องไว้”

 

3. ความเรียบง่าย และประหยัด

ดร.สุเมธอธิบายให้เห็นภาพว่า “พระองค์ทรงน้อมพระวรกายไปหาประชาชน คุกเข่าหน้าประชาชน ถามทุกข์สุข ปรึกษาหารือกับเขาเป็นชั่วโมงๆ บางทีประชาชนนังพับเพียบ พระองค์ท่านก็ทรุดพระวรกายนังพับเพียบเสมอบนพื้นเดียวกัน”

ส่วนเรื่องความประหยัดนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่าพระองค์ทรงสวมนาฬิกาเรือนละไม่กี่ร้อย ฉลองพระองค์ซ้ำๆ และฉลองพระบาทคู่เดิมเป็นสิบปี

ตามรอยพระยุคลบาท

 

4. มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก

ตลอดระยะเวลาการทรงงาน ในหลวง ร.9 ทรงยึดถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้งตลอด ไม่เคยนึกถึงพระวรกายหรือประโยชน์ส่วนพระองค์แม้แต่น้อย ดร.สุเมธเล่าว่า “เคยเข้าไปขอพรพระราชทานพร บอกวันนี้เกิดพระพุทธเจ้าค่ะ ขอ พระราชทานพร พระองค์พระราชทานว่า ‘ขอให้มีร่างกายทีแข็งแรงเพื่อสามารถทําประโยชน์ให้กับคนอื่นเขาได้ ขอให้มีความสุขจากการทํางาน และขอให้ได้รับความสุขจากผลสําเร็จของงานนั้น’ เห็นไหมว่าพรของพระองค์ก็ยังมุ่งเน้นให้ทำเพื่อผู้อื่น ท้ายสุดแล้วสิ่งที่เราได้รับนั่นคือความสุข”

 

5. รับฟังความเห็นของผู้อื่น เคารพความคิดที่แตกต่าง

ในหลวง ร.9 เคยตรัสไว้เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2546 ว่า “นั่งปรึกษาหารือกัน ฟังเขาแสดงเหตุผลออกมา แล้วเราแสดงเหตุผลออกไป แล้วดูซิ เหตุผลอันไหนจะยอมรับได้ถูกต้องมากกว่า และเมื่อตกลงกันแล้วก็เลิกเถียงกันต่อ ลงมือปฏิบัติเลยเพราะถ้ามัวแต่ทะเลาะกัน เถียงกัน สุดท้าย “บ้าน” ก็พัง

ตามรอยพระยุคลบาท

 

6. มีความตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียร

“พระเจ้าอยู่หัวเวลาทําอะไรทรงมุ่งมั่นมาก เรื่องความขยันไม่ต้องพูด ทรงงานไม่มีวันเสาร์ วันอาทิตย์ ไม่มีเวลากลางวัน กลางคืน” ดร.สุเมธกล่าว ยิ่งหากเป็นเรื่องทุกข์สุขของราษฎร พระองค์จะตรัสว่ารอไม่ได้ ต้องทำเดี๋ยวนี้

ส่วนเรื่องความตั้งใจจริง เราจะเห็นได้ว่าทรงเป็นเลิศหมดทุกอย่าง ทั้งด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา ด้านการเกษตร และอื่นๆ ซึ่งเป็นแนวทางให้เราเห็นได้ว่า ถ้าจะทำอะไรต้องมีความตั้งใจและความขยันหมั่นเพียร จึงจะประสบความสำเร็จ

 

7. ความสุจริต และความกตัญญู

ดร.สุเมธเล่าว่า “ความสุจริตเป็นเรื่องที่จะทรงแสดงให้เห็น ไม่ใช่เฉพาะความกตัญญู เห็นได้ชัดกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ทรงแสดงให้เห็นเลยเรื่องความกตัญญู ความกตัญญูต่อแผ่นดิน ความกตัญญูต่อสิ่งต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ ถ้าเป็นเรื่องของส่วนรวมนั้น พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงแสดงให้เราดู และทรงเตือนพวกเราด้วยให้ยึดสิ่งนี้ไว้ เพราะเป็นเรื่องจําเป็น เป็นเรื่องที่มีความสําคัญ เป็นเรื่องที่มีคุณค่า”

ตามรอยพระยุคลบาท

 

8. พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดีและคนเก่ง

ดร.สุเมธบอกว่าพึ่งตนเองก็คือเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงนี้ พระ เจ้าอยู่หัวบอกว่าคําที่สําคัญที่สุดในเรื่องราวที่อธิบายมานี้ คือ คําว่า “พอ” ทุกคน ต้องกําหนดเส้นความพอให้กับตนเองให้ได้ และยึดเส้นนั้นไว้เป็นมาตรฐานของตนเอง คําว่าพอนั้นก็ต้องดูตัวเอง ดูรายได้ของตัวเอง ดูขีดความสามารถของตัวเอง และขีดเส้นนั้นให้เหมาะสม ไม่ได้อยากมีอยากเป็นเหมือนคนอื่น และไม่ได้หมายความว่าต้องไปทำไร่ทำนา แต่คือใช้ชีวิตที่เรียบง่าย เดินทางสายกลาง”

ส่วนเรื่องส่งเสริมคนดีและคนเก่งนั้น คือ อย่าไปอิจฉาใครหากเขาเก่งกว่า ถ้าเขาเก่งจริงควรสนับสนุนเขา นี่คือสิ่งที่คนเป็นนายควรทำ

 

9. รักประชาชน

ดร.สุเมธเล่าว่า “พระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า คราวหลังถ้าเขาถามว่าฉันทําอาชีพอะไร ให้ตอบว่า “ทําราชการ”… ข้าราชการมีหน้าที่ “รับราชการ” ใช่หรือเปล่า รับจากพระองค์มาเพื่อทําต่อ พระองค์ท่านทรงรักประชาชน ทํางานเพื่อประชาชน คนที่รับราชการ ถือว่ารับงานของราชะมาทําต่อ สิ่งแรกที่ต้องทํา คือต้องรักประชาชนทํางานเพื่อประชาชน”

ตามรอยพระยุคลบาท

 

10. การเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน

ดร.สุเมธเล่าว่า “พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า รู้ไหมบ้านเมืองอยู่รอดมาได้ทุกวันนี้เพราะอะไร เพราะคนไทย ‘เรายังให้กันอยู่’ คนในครอบครัวยังช่วยเหลือซึ่งกันและกันอยู่ คนในชุมชนยังเอื้อกันอยู่ ข้าราชการยังให้บริการแก่ประชาชน เวลาเกิดทุกข์ยากที่ไหน ทุกคนยังรวมตัวกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันอยู่ อันนี้เป็นสังคมที่หาไม่ได้ในโลก

ที่มา : หนังสือ “หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท”, ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา

ภาพจาก Pinterest : Naruemol Ritkomrop , Oh Nakorn , Island Info Samui

 

รวมเรื่องราวของพระองค์ท่าน

5 เรื่องเล่า ครั้งยังทรงพระเยาว์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9

5 เรื่องเล่าแสนประทับใจ ถึง ในหลวง รัชกาลที่ 9

สุดสัปดาห์

keyboard_arrow_up