สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 , ในหลวง รัชกาลที่ 10, พระราชกรณียกิจ , กษัตริย์จอมทัพไทย , พระราชกรณียกิจด้านการทหารและการบิน , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร , พระราชพิธีบรมราชาภิเษก , รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี , ราชวงศ์จักรี , การทหาร , การบิน

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 กับพระปรีชาสามารถด้านการทหารและการบิน

Alternative Textaccount_circle
event
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 , ในหลวง รัชกาลที่ 10, พระราชกรณียกิจ , กษัตริย์จอมทัพไทย , พระราชกรณียกิจด้านการทหารและการบิน , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร , พระราชพิธีบรมราชาภิเษก , รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี , ราชวงศ์จักรี , การทหาร , การบิน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 , ในหลวง รัชกาลที่ 10, พระราชกรณียกิจ , กษัตริย์จอมทัพไทย , พระราชกรณียกิจด้านการทหารและการบิน , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร , พระราชพิธีบรมราชาภิเษก , รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี , ราชวงศ์จักรี , การทหาร , การบิน

จากความสนพระราชหฤทัยส่วนพระองค์สู่การเป็น “กษัตริย์จอมทัพไทย” ผู้ทรงเชี่ยวชาญและทรงพระปรีชาสามารถด้านการทหารและการบินของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 กับพระปรีชาสามารถด้านการทหารและการบิน

หากกล่าวถึงพระราชกรณียกิจที่เหล่าพสกนิกรชาวไทยต่างก็ซาบซึ้งและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี นอกจากพระราชกรณียกิจด้านการศึกษา การแพทย์และสาธารณสุข ด้านศาสนา ด้านการเกษตร การต่างประเทศ อีกหนึ่งพระราชกรณียกิจที่สำคัญของในหลวงรัชกาลที่ 10 คือ พระราชกรณียกิจด้านการทหารและการบิน เป็นที่มาของคำกล่าวที่ว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงเป็นกษัตริย์แห่งจอมทัพไทยและกษัตริย์นักการทหาร

 

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 , ในหลวง รัชกาลที่ 10, พระราชกรณียกิจ , กษัตริย์จอมทัพไทย , พระราชกรณียกิจด้านการทหารและการบิน , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร , พระราชพิธีบรมราชาภิเษก , รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี , ราชวงศ์จักรี , การทหาร , การบิน

 

ครั้นสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรยังทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ (ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารในปีพ.ศ.2515) ทรงสนพระราชหฤทัยด้านการทหารและอากาศยาน (ทั้งอากาศยานทหารและอากาศยานพาณิชย์) เป็นอย่างมาก หลังจากทรงสำเร็จการศึกษาในระดับอนุบาลจากโรงเรียนจิตรลดา จึงเสด็จฯ ไปทรงศึกษาต่อในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนคิงส์มีด (King’s Mead School) แคว้นซัสเซกส์ สหราชอาณาจักร และศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมิลฟิลด์ (Millfield School) แคว้นซอมเมอร์เซท สหราชอาณาจักร

จากนั้นพระองค์ได้ศึกษาในระดับเตรียมทหารที่โรงเรียนคิงส์สกูล (King’s School) นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย และศึกษาต่อที่วิทยาลัยการทหารดันทรูน (Royal Military College) กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย ทรงได้รับปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิตการศึกษาด้านการทหาร คณะการศึกษาด้านการทหาร จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ (University of New South Wales) ประเทศออสเตรเลียในปีพ.ศ.2519

 

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 , ในหลวง รัชกาลที่ 10, พระราชกรณียกิจ , กษัตริย์จอมทัพไทย , พระราชกรณียกิจด้านการทหารและการบิน , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร , พระราชพิธีบรมราชาภิเษก , รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี , ราชวงศ์จักรี , การทหาร , การบิน

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 , ในหลวง รัชกาลที่ 10, พระราชกรณียกิจ , กษัตริย์จอมทัพไทย , พระราชกรณียกิจด้านการทหารและการบิน , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร , พระราชพิธีบรมราชาภิเษก , รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี , ราชวงศ์จักรี , การทหาร , การบิน

 

หลังจากสำเร็จการศึกษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเสด็จนิวัติประเทศไทยและทรงเข้ารับราชการทหารตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม พ.ศ.2518 เป็นต้นมา โดยทรงพระยศทางทหารทั้ง 3 เหล่าทัพคือ พลเอก พลเรือเอก พลทหารเอก จากนั้นในปีพ.ศ.2520 – 2521 ทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ในปีพ.ศ.2522 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการบินเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป และทรงได้รับพระราชทานประดับเครื่องหมายแสดงความสามารถในการบินของกองทัพอากาศจากในหลวงรัชกาลที่ 9 หลังทรงสำเร็จหลักสูตรนักบินพร้อมรบของกองทัพอากาศไทย ฝูงบิน 102 กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา ได้เสด็จไปฐานทัพอากาศวิลเลียมส์ รัฐอริโซนา สหรัฐอเมริกาในปีพ.ศ.2525 ทรงฝึกการบินด้วยเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูง และหลักสูตรการบินรบชั้นสูง

หลังจากนั้นในปีพ.ศ.2530 ทรงสำเร็จการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 2 จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในปีพ.ศ.2533 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จฯ ไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแห่งสหราชอาณาจักร พ.ศ.2547 ทรงฝึกเครื่องบินลำเลียง (อากาศยานเชิงพาณิชย์) ใช้เวลาเพียง 2 ปีก็ทรงสามารถขับเครื่องบินในตำแหน่งนักบินที่ 1 ได้ ด้วยทรงเป็นผู้ที่หมั่นแสวงหาความรู้อยู่เสมอ และเข้าฝึกการบินหลักสูตรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ จนเป็นผู้รอบรู้เทคนิคด้านการบินทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติที่มีชั่วโมงบินทั้งอากาศยานทหารและเชิงพาณิชย์รวมๆ แล้วกว่า 5,000 ชั่วโมง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ยากสำหรับนักบินทั่วโลกที่จะทำได้

ด้วยพระปรีชาและความตั้งใจที่อยากจะนำความรู้ด้านการบินและการทหารมาพัฒนากองทัพไทย รวมไปถึงช่วยเหลือประชาชนชาวไทย และสืบสานพระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 จึงเป็นที่มาของพระราชกรณียกิจมากมายของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรที่ได้ทรงทำไว้ให้กับกองทัพไทยและพสกนิกร ดังเช่น

 

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 , ในหลวง รัชกาลที่ 10, พระราชกรณียกิจ , กษัตริย์จอมทัพไทย , พระราชกรณียกิจด้านการทหารและการบิน , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร , พระราชพิธีบรมราชาภิเษก , รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี , ราชวงศ์จักรี , การทหาร , การบิน

 

– เหตุการณ์ยุทธการภูขวาง ณ บ้านหมากแข้ง ต.กกสะทอน อ.ด่านซ้าย จ.เลย โดยวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2519 ในหลวงรัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรที่ทรงดำรงตำแหน่งร้อยเอกในขณะนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมทหาร ตำรวจตระเวนชายแดน และราษฎรในพื้นที่ เนื่องจากถูกผู้ก่อการร้ายโจมตี

ตามการอ้างอิงจากหนังสือจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555 และ หนังสือ 63 พรรษามหาวชิราลงกรณ, สำนักงานศิลปวัฒนธรรมระบุว่า  พันเอกสมจริง สิงหเสนี นายทหารนอกราชการ อดีตผู้สื่อข่าวและช่างภาพกองทัพภาคที่ 3 ผู้ถ่ายภาพเหตุการณ์ในครั้งนี้ของในหลวงรัชกาลที่ 10 เอาไว้ได้ ได้เล่าถึงเหตุการณ์นั้นไว้ว่า

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพวรางกูรได้เสด็จฯ โดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งไปยังฐานปฏิบัติการบ้านห้วยมุ่น หลังจากประทับรับฟังการบรรยายสรุปแล้ว พระองค์ทรงรับสั่งด้วยเสียงอันหนักแน่นว่า “จะต้องไปแก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้นให้ได้” ถึงแม้ว่าแม่ทัพภาคที่ 3 จะกราบบังคมทูลทัดทานเนื่องจากสถานการณ์ขณะนั้นไม่น่าไว้วางใจ แต่พระองค์ทรงยืนยันอย่างหนักแน่นว่าชักช้าไม่ได้ ต้องรีบแก้ไขในวันนี้และเดี๋ยวนี้   

จากนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรับสั่งให้นักบิน นำเครื่องมุ่งตรงไปยังฐานบ้านหมากแข้งทันที ขณะที่เฮลิคอปเตอร์กำลังร่อนลงยังไม่ทันถึงพื้น พระองค์ก็ทรงกระโดดลงแล้ววิ่งโผเข้าหาที่กำบังอย่างห้าวหาญ ในขณะเดียวกันผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ใช้อาวุธปืนเล็กระดมยิงเข้ามายังฐานบ้านหมากแข้งอย่างหนัก พระองค์ได้สั่งให้ทหารที่ตามเสด็จแยกย้ายและยิงโต้ตอบจนกระทั่งผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ต้องล่าถอยไป ในคืนนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพวรางกูร ทรงประทับแรมที่ฐานปฏิบัติการบ้านห้วยมุ่น และเสวยพระกระยาหารอย่างเรียบง่าย เช่นเดียวกับทหารคนอื่นๆ ท่ามกลางสภาพอากาศหนาวเย็น เหตุการณ์ในครั้งนั้น สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ตำรวจตระเวนชายแดน ทหาร และราษฎรในพื้นที่อย่างหาที่สุดมิได้”

 

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 , ในหลวง รัชกาลที่ 10, พระราชกรณียกิจ , กษัตริย์จอมทัพไทย , พระราชกรณียกิจด้านการทหารและการบิน , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร , พระราชพิธีบรมราชาภิเษก , รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี , ราชวงศ์จักรี , การทหาร , การบิน

 

– ในปีพ.ศ.2522 เกิดสงครามกลางเมืองในประเทศกัมพูชา ทำให้มีผู้อพยพลี้ภัยเข้ามาทางชายแดนของประเทศไทยผ่านทางจังหวัดปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดตราดในขณะนั้นได้ทำการช่วยเหลืออย่างเต็มกำลังแล้ว แต่ด้วยชาวกัมพูชาที่อพยพเข้ามานั้นมีสภาพตกทุกข์ได้ยากทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ อีกทั้งทางจังหวัดตราดก็ขาดแคลนทุนทรัพย์และบุคลากร สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรจึงได้เสด็จไปทอดพระเนตรและทรงช่วยเหลือผู้อพยพชาวกัมพูชาในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2522 ระหว่างนั้นยังมีการยิงข้ามเขตแดนมายังประเทศไทยทั้งที่ตั้งใจและยิงพลาดด้วย ทำให้มีชาวกัมพูชาได้รับบาดเจ็บหนัก และล้มตายเป็นจำนวนมาก

ยิ่งไปกว่านั้นคือพื้นที่บริเวณนั้นติดริมทะเล และมีสภาพที่ทรุดโทรมมาก ทำให้ฝ่ายตรงข้ามสามารถแทรกซึมเข้ามาได้ ในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 จึงรับสั่งแก่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระราชทานนโยบายในการจัดการระวังป้องกัน และปกป้องชีวิตชาวกัมพูชาที่อพยพเข้ามาในไทยให้ได้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรจึงทรงคุ้มกันพื้นที่บริเวณรอบค่ายผู้อพยพกัมพูชาที่เขาล้าน จังหวัดตราดด้วยพระองค์เอง โดยมีการจัดระเบียบค่ายต่างๆ และพัฒนาภูมิประเทศบริเวณนั้นให้มีความปลอดภัย และเหมาะกับการตั้งรับการถูกโจมตีมากขึ้น

 

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 , ในหลวง รัชกาลที่ 10, พระราชกรณียกิจ , กษัตริย์จอมทัพไทย , พระราชกรณียกิจด้านการทหารและการบิน , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร , พระราชพิธีบรมราชาภิเษก , รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี , ราชวงศ์จักรี , การทหาร , การบิน

 

– ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2537 เป็นต้นมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรทรงพระกรุณาปฏิบัติหน้าที่ครูการบินเครื่องบินขับไล่ F-5 E/F ฝึกสอนนักบินขับไล่ของกองทัพอากาศทั้งภาควิชาการและการบิน โดยได้ทรงนำความรู้ด้านการบินที่พระองค์ได้ทรงสั่งสมมาตลอดหลายปีจากการเรียนทั้งในและต่างประเทศมาสอน เพื่อพัฒนากองทัพไทยให้แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 , ในหลวง รัชกาลที่ 10, พระราชกรณียกิจ , กษัตริย์จอมทัพไทย , พระราชกรณียกิจด้านการทหารและการบิน , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร , พระราชพิธีบรมราชาภิเษก , รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี , ราชวงศ์จักรี , การทหาร , การบิน

 

– ในปีพ.ศ.2552 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรทรงปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ 1 เครื่องบินโบอิ้ง 737 – 400 ในเที่ยวบินสายใยรักแห่งครอบครัว ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และจัดหาอุปกรณ์ด้านการแพทย์สำหรับโรงพยาบาลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 , ในหลวง รัชกาลที่ 10, พระราชกรณียกิจ , กษัตริย์จอมทัพไทย , พระราชกรณียกิจด้านการทหารและการบิน , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร , พระราชพิธีบรมราชาภิเษก , รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี , ราชวงศ์จักรี , การทหาร , การบิน

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 , ในหลวง รัชกาลที่ 10, พระราชกรณียกิจ , กษัตริย์จอมทัพไทย , พระราชกรณียกิจด้านการทหารและการบิน , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร , สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร , พระราชพิธีบรมราชาภิเษก , รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี , ราชวงศ์จักรี , การทหาร , การบิน

 

จากทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจด้านการทหารและการบินเพียงส่วนหนึ่งของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเท่านั้น พระองค์ยังทรงมีพระราชกรณียกิจอีกมากมายหลายด้านที่ทรงเสียสละเพื่อพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า ถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้ 

 

เรียบเรียงข้อมูลจาก ส่วนการประชาสัมพันธ์ สํานักพัฒนาการประชาสัมพันธ์ / TNN ช่อง16 / สำนักนายกรัฐมนตรี / กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สํานักงานศาลยุติธรรม / SpringNews / จดหมายข่าว ผู้ตรวจการแผ่นดิน / หนังสือจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555 และ หนังสือ 63 พรรษามหาวชิราลงกรณ, สำนักงานศิลปวัฒนธรรม / กาชาดสัมพันธ์ฉบับพิเศษ สภากาชาดไทย

รูปจาก : สำนักนายกรัฐมนตรี / phralan.in.th / deac.drr.go.th / yavf.or.th / photoontour.com

เรื่องโดย : Lizhu

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้ที่นี่

ตราสัญลักษณ์ที่ถูกต้องสำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

การแต่งกายในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สำหรับประชาชนทั่วไป

ความเป็นมาของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และการสืบทอดราชประเพณีในสมัยรัตนโกสินทร์

หมายกำหนดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครอบคลุมช่วงต้น – ช่วงกลาง – ช่วงปลาย

สุดสัปดาห์

keyboard_arrow_up