อาหาร
สสส. ชวนคนไทยลดโซเดียม แก้ปัญหาติดเค็มระดับชาติภายในปี 68
“กินเค็มเสี่ยงโรค” …เชื่อว่าทุกคนรู้เรื่องนี้ แต่คนไทยผู้รักการปรุงแบบเราๆ คงแอบโอดครวญในใจว่า ‘ก็ของมันต้องปรุง!’ แต่รู้หรือไม่ว่าปัญหามนุษย์ติดเค็มขึ้นแท่นเป็นปัญหาระดับประเทศไปแล้ว เพราะการบริโภคโซเดียมหรืออาหารหวาน มัน เค็มเกิน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนไทยกว่า 73% เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ (NCDs) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงต้องออกมาตรการตัดวงจรสะเทือนไตก่อนจะสายเกินแก้ โดยตั้งเป้าหมายให้คนไทยลดการบริโภคเค็ม 30% ภายในปี 2568 ปัญหาติดเค็มกลายเป็นประเด็นสำคัญที่สสส.ถึงกับออกมาตรการและตั้งเป้าหมายขนาดนี้ วันนี้สุดสัปดาห์เลยอยากชวนคนไทยร่วมขบวนสุขภาพนี้ด้วย ไม่ใช่เพื่อใครแต่เพื่อตัวคุณเอง โดยเราได้รวบรวมเกร็ดควรรู้เกี่ยวกับโซเดียมและวิธีลดเค็ม ลดโรคที่ทำตามได้ง่าย ไม่ฝืนใจเกินเหตุ โซเดียมคืออะไร ไม่ใช่แค่อาหารเค็มที่มีโซเดียม อาหารที่ไม่เค็มก็มีโซเดียมเช่นกัน โซเดียมคือสารอาหารชนิดหนึ่งที่อยู่ในอาหารทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น อาหารธรรมชาติอย่างเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ (ที่ความจริงมีปริมาณโซเดียมเพียงพอกับความต้องการของร่างกายแล้ว ไม่จำเป็นต้องปรุงเพิ่ม) อาหารแปรรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง เครื่องปรุงรส แม้แต่ซอสที่มีรสเปรี้ยวๆ หวานๆ ก็มีโซเดียมเช่นกัน นอกจากนี้ผงชูรสไอเท็มคู่ครัวของหลายๆ บ้านก็มีโซเดียม รวมทั้งขนมที่มีการเติมผงฟู หรือแม้แต่น้ำและเครื่องดื่มก็มีโซเดียมอยู่เช่นกัน ยิ่งน้ำผลไม้บรรจุกล่องยิ่งมีโซเดียมสูง ยิ่งอาหารผ่านการปรุงแต่ง ผ่านการแปรรูปมาก ก็จะยิ่งมีโซเดียมมาก ดังนั้นนอกจากอาหารเค็มแล้ว ต้องระวังโซเดียมจากอาหารเหล่านี้เช่นกัน ติดเค็ม ติดรสจัด น่ากลัวแค่ไหน […]