รับมือ “ความว้าวุ่น” อารมณ์ใหม่ใน Inside Out 2 ที่ป่วนชีวิตเราทุกคน

Inside Out 2 ภาพยนตร์ภาคต่อที่กลับมาพร้อมอารมณ์ใหม่ที่ซับซ้อนขึ้น จะทำอย่างไรเมื่อ “ความว้าวุ่นวิตกกังวล” ส่งผลกับชีวิตเราจนยากจะควบคุม Inside Out ภาคแรกกลายเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันในดวงใจของใครหลายคนด้วยเนื้อหากินใจที่ถ่ายทอดผ่านตัวละครสุดน่ารัก และในปีนี้ Inside Out กลับมาพร้อมความเปลี่ยนแปลงแต่ยังน่าประทับใจไม่แพ้เรื่องราวในภาคแรก โดย Inside Out 2 บอกเล่าเรื่องราวของไรลีย์ที่โตขึ้นจากภาคแรกหนึ่งปีและกำลังก้าวเข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งทำให้อารมณ์และความต้องการของเธอซับซ้อนขึ้นกว่าที่เคย  เหล่าตัวละครที่สื่อถึงอารมณ์พื้นฐานในจิตของไรลีย์ ได้แก่ ลั้นลา (Joy) เศร้าซึม (Sadness) ฉุนเฉียว(Anger) หยะแหยง (Disgust) และกลั๊วกลัว (Fear) จึงต้องเผชิญกับ 4 อารมณ์ใหม่สุดป่วน ได้แก่ ว้าวุ่น (Anxiety) อิจฉา (Envy) เขิ้นเขินอ๊ายอาย (Embarrassment) และเฉยชิล (Ennui/Boredom) ที่เข้ามาอยู่ร่วมกันในศูนย์บัญชาการทางอารมณ์ เรื่องราวจะดำเนินให้เห็นว่าไรลีย์และอารมณ์ทั้ง 9 ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในช่วงวัยที่โตขึ้น จนเกิดเป็นการผจญภัยที่น่าเอาใจช่วยไปจนจบ *เนื้อหาต่อจากนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์ Inside Out  2 เชื่อว่าหลายคนที่เข้าไปดูคงรู้สึกเหมือนภาพยนตร์กำลังสะท้อนชีวิตของตัวเองเลยทีเดียว โดยเฉพาะตอนที่ “ว้าวุ่น” เข้ามามีอิทธิพลกับความคิดและการตัดสินใจของไรลีย์ค่อนข้างมาก ซึ่งเราต่างก็ทราบดีว่าความว้าวุ่นวิตกกังวลไม่ได้มีอิทธิพลแค่ตอนวัยรุ่นเท่านั้น แต่ยังคงมีอิทธิพลกับเราแม้จะเติบโตจากวันนั้นมามากแล้ว เราจึงอยากชวนทุกท่านไปทำความรู้จักกับอารมณ์ใหม่หน้าคุ้นอย่างความว้าวุ่นให้มากขึ้น และวิธีการรับมือเบื้องต้นอย่างเหมาะสมกัน ปัญหาก็เยอะซะด้วย ทีนี้ก็ “ว้าวุ่น (Anxiety)” เลย เคยไหมที่รู้สึกกลัวหรือกังวลใจในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น คาดเดาต่างๆ นานาไปก่อนแม้เหตุการณ์นั้นยังมาไม่ถึง อาการว้าวุ่น วิตกกังวล (Anxiety) แบบนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราทุกคนเป็นปกติ ประโยชน์ของมันคือทำให้เราตื่นตัวและพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ และช่วยป้องกันเราจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่ในอีกมุมหนึ่ง ความวิตกกังวลที่มากเกินไปก็สามารถพัฒนาเป็นโรควิตกกังวลและกลับมาทำร้ายเราได้ โรควิตกกังวลเป็นโรคทางจิตที่พบได้มากที่สุดโรคหนึ่ง คนที่เป็นโรควิตกกังวลจะรู้สึกกลัวหรือกังวลเกินเหตุ ส่งผลต่อความคิด สภาพจิตใจและร่างกายจนกระทบกับการใช้ชีวิตของตัวเอง โรควิตกกังวลสามารถแบ่งย่อยเป็นโรคอื่นๆ ได้อีกหลายประเภท เช่น โรคแพนิก โฟเบีย PTSD ฯลฯ แต่ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกกันที่โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder) […]

keyboard_arrow_up