12 ย่านเก่ายังเก๋าอยู่

Alternative Textaccount_circle
event

1.บ้านโปรตุเกส ชุมชนกุฎีจีน

ชุมชนเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี มีวัฒนธรรมแบบผสมผสานหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งจีน ญวนและโปรตุเกส แม้กาลเวลาจะผ่านไปนาน แต่ชาวบ้านย่านนี้ยังรักษาความเป็นอยู่เรียบง่ายเหมือนยุคก่อนไว้อย่างน่าชม

ขนมฝรั่งกุฎีจีน

ขนมโบราณกว่า 200 ปี ต้นตำรับมาจากชาวโปรตุเกสในชุมชนนี้ ปัจจุบันเหลือบ้านที่ยังทำขนมฝรุ่งกุฎีจีนเพียง 2-3 เจ้าเท่านั้น ได้แก่ ขนมฝรั่งกุฎีจีนหลานแม่เป้า บ้านเลขที่ 103 ซอบกุฎีจีน 3 ยืนอยู่แค่หน้าบ้านก็ได้กลิ่นขนมลอยมาแตะจมูก เย้ายวนน่าชิม ถ้ามีกาสแวะเวียนไปอย่าลืมซื้อติดไม้ติดมือกลับมาเป็นของฝากด้วย

ธนูสิงห์

บ้านไม้หลังย่อมหลังนี้ทำขนมฝรั่งกุฎีจีนแบบโบราณสดใหม่ทุกวัน เด่นตรงใช้ของดี ทั้งแป้ง ไข่และน้ำตาล ตีให้ขึ้นฟูโดยไม่พึ่งผงฟูแต่อย่างใดและอบด้วยที่คิดค้นขึ้นเอง

2.บ้านโปรตุเกส วัดคอนเซ็ปชัน ซอยมิตตคาม ถนนสามเสน

หมู่บ้านเล็กๆแห่งนี้มีชาวต่างชาติเชื้อสายโปรตุเกสเข้ามาค้าขายตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวโปรตุเกสส่วนใหญ่รับราชการเป็นทหาร ออกรบหลายครั้งจนได้รับความดีความชอบ สมเด็จพระนารายณ์ฯจึงพระราชทานที่ดินให้สำหรับสร้างวัดและที่อยู่อาศัย

3.คลองบางหลวง ตำนานเก่ายังมีชีวิต

บ้านริมน้ำบางหลวงยังเต็มปด้วยกลิ่นอายในอดีตตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เรือนแถวไม้ชั้นเดียวทรงเก่าแก่ ภาพผู้เฒ่าผู้แก่นั่งอยู่หน้าบ้านคอยส่งยิ้มหวานให้ผู้มาเยือนด้วยความเอ็นดู ร้านค้าโบราณเรือหางยาว เรือเมล์ยังสัญจรผ่านอย่างต่อเนื่อง เสียงดังไปหน่อยแต่ก็เป็นเสน่ห์ของที่นี่

ร้านดีเลิศ

ร้านขายกาแฟและเครื่องดื่มน้ำปั่น ตกแต่งเก๋ไก๋สไตล์วินเทจด้วยข้าวของเครื่องใช้ที่เจ้าของสะสมไว้

บ้าน ศ.จิตรกร

บ้านเก่าโชว์งานศิลปะหลากหลายและรับวาดภาพเหมือน ใช้เวลาเพียง 15 นาทีเท่านั้น

ร้านบ้านของเล่น

ขายของเล่นย้อนยุคที่ทำให้คิดถึงความสุขสนุกในวัยเด็กขึ้นมาทันใด

บ้านศิลปิน

บ้านไม้สองชั้นทรงมะนิลา รูปตัวแอล สร้างล้อมรอบเจดีย์เก่า ปรับปรุงใหม่โดยกลุ่มศิลปิน เพื่อให้เป็นที่แสดงงานศิลปะและรวมตัวของกลุ่มศิลปิน

4.เสาชิงช้า ถิ่นค้าขายเครื่องสังฆภัณฑ์

ถ้าจะไปให้นึกถึงแหล่งที่ขายเครื่องสังฆภัณฑ์มากที่สุดในเมืองไทยก็ต้องนึกถึงเสาชิงช้า ข้อมูลจากคนเฒ่าคนแก่ทำให้รู้ว่าย่านนี้ค้าขายกันมานานนับร้อยปี ในร้ายไม้คูหาเล็กๆ ต่อมาร้านทรุดโทรมจึงรื้อสร้างเป็นตึก 2 ชั้น แต่ยังคงเค้าโครงสถาปัตยกรรมจำลองมาจากตึกแถวที่สิงค์โปร คือเป็นคูหาแบบเก่า มีกำแพงหนา ของประตูตอนบนโค้งมน อาคารแบบนี้นิยมสร้างกันในสมัยรัชกาลที่ 5

5.บ้านบาตร ถิ่นหัตถกรรมกลางกรุง

จากเสาชิงช้ามุ่งหน้าไปทางประตูผี ข้าวสะพานสมมติอมรมารค แล้วเข้าสู่ถนนบริพัตร เดินไปทางขวามืออีกนิดจะเห็นป้ายบอกชัดเจนว่า ชุมชนบ้านบาตร เสียงตีเหล็กดังก๊องแก๊งๆแว่วมาแต่ไกล

บ้านบาตรเป็นหมู่บ้านหัตถกรรมเก่าแก่ตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นแหล่งทำบาตรด้วยมือแห่งเดียวในเมืองไทย น่าเสียดายที่วันนี้เหลือเพียง 4-5 หลังคาเรือนเท่านั้นที่ยังคงยึดอาชีพนี้ด้วยใจรัก เพราะบาตรปั้มจากโรงงานคลองตลาดเป็นส่วนใหญ่ ชาวบ้านไม่ค่อยมีสถานที่ขาย แต่ละครอบครัวต้องทำเองขายเองที่หน้าบ้าน

6.บ้านครัว ชุมชนทอผ้าไหมอายุกว่าร้อยปี

ใครจะคิดว่าในกรุงเทพมีชุมชนเล็กๆที่ทอผ้าไหมเป็นอาชีพมาร้อยกว่าปี แม้ตอนนี้เหลืออยู่แต่สองบ้าน ก็นับว่าเป็นย่านเก่าที่น่าสนใจไม่น้อย ชุมชนแห่งนี้อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑ์บ้านเรือนไทยจิม ทอมป์สัน มีคลองมหานาคคั่นกลางเท่านั้น

7.พาหุรัด ชม ชิม ช๊อป สไตล์ลิตเติ้ลอินเดีย

เดิมพาหุรัดเป็นที่ดินส่วนพระองค์ในสมเด็จฯ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย พระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 ซึ่งสิ้นพระชนม์ด้วยวัยเพียง 10 พรรษา พระราชธิดาได้ทรงนำทรัพย์สินส่วนพระองค์ของสมเด็จ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย มาสร้างเป็นถนน พระราชทานนามว่า ถนนพาหุรัด

คุรุดวาราศรีคุรุสิงห์สภา วัดซิกข์แห่งแรกของไทย

ตั้งตระหง่านท่ามกลางความพลุกพล่านในย่านพาหุรัด วัดแห่งนี้เป็นศูนย์รวมความศรัทธาของชุมชนที่นี่ บุคคลทั่วไปเข้าชมได้ โดยต้องแต่งกายสุภาพ ไม่สวมกางเกงขาสั้นและเสื้อแขนกุด สำหรับผู้หญิงต้องคลุมศรีษะด้วยผ้า ซึ่งทางวัดจัดเตรียมไว้ให้

ออน ล๊อก หยุ่น ร้านกาแฟเก่าแก่

บรรยากาศของร้านยังคงชีวิตชีวาแบบเดิม เอาไว้ทั้งโต๊ะ เก้าอี้ เคาน์เตอร์ เสริฟเมนูชา กาแฟ น้ำผลไม้และอาหารเช้า อย่าลืมสั่งขนมปังเนื้อแน่นนุ่มเหมือนมาร์ชแมลโลว์ พร้อมเนยแข็งและน้ำตาลมากินด้วย รับรองว่าคุ้มค่าแก่การมาเยือน

8.เสน่ห์สามแพร่ง “แพร่งสรรพศาสตร์-แพร่งภูธร-แพร่งนรา”

เริ่มต้นที่หน้าประตูวังกรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ มองขึ้นไปยังเทพธิดากรีกที่ยืนอยู่เหนือซุ้มประตูเป็นอันรู้ว่ามาถึง แพร่งสรรพศาสตร์ แล้ว เดินอีกไม่ไกลมาถึง แพร่งนรา ที่เป็นย่านอาการการกินขึ้นชื่อ ถัดไปหนึ่งช่วงตึกก็จะถึงถนน แพร่งภูธร

9.ถนนนางเลิ้ง ย่านนี้มีแต่ของอร่อย

ได้ชื่อว่าเป็นตลาดบกแห่งแรก (เพราะสมัยก่อนมีแต่ตลาดน้ำ) มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันตลาดนางเลิ้งยังคงได้รับการอนุรักษ์ให้คงสภาพเดิมมากที่สุด บ้านเรือน ร้านค้าเก่าทาด้วยสีชมพูอ่อนตัดขาวแบบเดียวกันทุกหลัง

ร้านนางเลิ้งอ๊าร์ต (ตรงข้ามทางเข้าตลาด)

ร้านทำล็อกเกตหินจำหน่ายเป็นแห่งแรกของเมืองไทย แถมยังเป็นร้านถ่ายรูปที่ก่อตั้งพร้อมกับย่านนางเลิ้งมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6

โรงหนังเฉลิมธานี

เปิดมห้ความบันเทิงในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น หลังคามุงสังกะสี เมื่อเวลาล่วงเลย ความทันสมัยเข้ามาแทนที่ ความนิยมค่อยๆลดลง สุดม้ายก็ปิดกิจการในปี 2536 เหลือไว้เพียงอาคารเก่าที่มีคุณค่าให้คนรุ่นหลังชื่นชม

กาแฟโบราณ Salon de Café

ร้านกาแฟเก่าแก่คูหาเดียวริมถนนนครสวรรค์ ตรงข้ามธนาคารกสิกรไทย แม้ร้านจะอยู่รอมถนนแต่คุณภาพของวัตถุดิบและฝีมือการชงไม่เป็นรองกาแฟตามร้านดังแม้แต่น้อย

ก๋วยเตี๋ยวเป็ด ส.รุ่งโรจน์

อยู่ในตลาดนางเลิ้ง ขายมาตั้งแต่ปี 2510 รสชาติที่ใครๆติดใจคือรสเค็มกำลังดีของเป็ดพะโล้และรสหวานนิดๆของเป็ดตุ๋น หอมกลิ่นพะโล้จางๆ เนื้อเป็ดนุ่มลิ้น อร่อยทั้งเมนูข้าวและก๋วยเตี๋ยว

10.สะพานหัน-เวิ้งนาครเขษม เก่าแต่เก๋

เป็นย่านเก่าที่มีร้านเก๋าๆท้าทายกาลเวลา ทุกร้านยังคงสภาพเดิมไว้ไม่เคยเปลี่ยน เพื่อบอกกล่าวเรื่องราววันวานในทุกมุมของร้านให้คนรุ่นหลัง

ร้านเซี่ยงไถ่

มุจุดเริ่มต้นจากการรับซ่อมร่มของนายสี่ แซ่กอง เมื่อปี 2451 จนขยายมาสู่การนำเข้าร่มจากต่างประเทศ เซี่ยงไถ่พัฒนาด้วยการผลิตร่มเอง และส่งร่มไปขายยังยุโรปมาถึงวันนี้ เรียกว่าเป็นผู้นำแห่งร่มครบวงจรทั้งผลิต ส่งออก จำหน่ายและรับซ่อมแซมเลยทีเดียว

กวง อัน ตึ้ง

ร้านขายยาแผนโบราณของคนแต้จิ๋ว ขายมานานนับร้อยปี สังเกตได้จากอุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้ในร้านเป็นของเก่าทั้งสิ้น ตัวอาคารก็เป็นตึกเก่างดงานน่าชม เลยเข้าซอยไม่ไกลมีร้านขายยาจีนเก่าแก่อีกร้านชื่อ ฮุ่ย จี ตึ้ง ส่วนอีกหนึ่งร้านคือ ไตเย็บใหม่ ร้านเก่าแก่ในตึก เก่าอายุกว่า 80 ปี ขายกรุดุมและผ้าลูกไม้สวยๆ สามารถเลือกซื้อไปทำงานแฮนด์เมดเก๋ๆได้เลยหรือใครชอบออกแบบเสื้อผ้าเองก็รับรองไม่ผิดหวัง ราคาไม่แพง คุณภาพเกินคุ้ม

ร้านเขษมบรรณกิจ

ร้านหนังสือเล็กๆเก่าแก่ อยู่ในเวิ้งนาครเขษม ขายหนังสือเก่าหายาก โดยเฉพาะตำราโหราศาสตร์และตำราโบราณ ร้านนี้คือตำนานของคนรักหนังสือและแม้จะขึ้นชื่อเรื่องตำราโหราศาสตร์ แต่ก็ยังมีหนังสือเก่าๆที่ทางร้านเคยตีพิมพ์ให้เลือกซื้อพอสมควร ใช้เวลาค่อยๆดูค่อยๆหาไปเรื่อยๆ หน้าปกและตัวหนังสือเก่าคือเสน่ห์ที่หาดูไม่ได้จากร้านหนังสือทั่วไป

41

11.สำเพ็ง ช็อปกระจายในแหล่งค้าส่ง

เส้นทางช็อปบนถนนสายเดียวคือถนนวานิช 1 (ช่วงที่ 1 และ 2 จากถนนจักรวรรดิ-ถนนราชวงศ์) ตรอกซอกซอยเล็กๆในสำเพ็งมีภาพชินตาคือร้านค้าเรียงรายไปตลอดสองฝั่ง เวสป้าขนผ้า รถเข็นขายของดูวุ่นวาย ชวนให้หงุดหงิด แต่นี่แหละคือรสชาติสำหรับการช็อปปิ้งในสำเพ็ง

12.เยาวราช ชม ช็อป ชิม สไตล์ไชน่าทาวน์

ตรองซอกซอยสามชั้น อย่างซอยมังกร ตรอกอิสรานุภาพ ถนนผดุงด้าว ถนนแปลงนาม ที่เชื่อมถนนเยาวราชและเจริญกรุง ล้วนมีเรื่องราว วิถีชีวิตที่เล่าสู่กันฟังไม่มีวันจบ การค้าขาย บ้านเรือนแต่ละจุด ต่างก็มีเอกลักษณ์และเสน่ห์เฉพาะตัว

ร้านเอี๊ยะแซ

ที่นี่ใช้เมล็ดกาแฟคั่วสด ชงใหม่วันต่อวัน รสจึงเข้มข้นหอมขึ้นจมูก ตัวร้านก้ได้อารมณ์โบราณทั้งโต๊ะ เก้าอี้และลูกค้า ส่วนใหญ่เป็นอาเจ๊ก อาแป๊ะ มานั่งเมาท์กันเป็นภาษาจีน น่ารักไปอีกแบบ

ร้านเล่ากว้างเจียบเซีย

ขายและรับซ่อมเครื่องดนตรีจีนตั้งแต่ปี 2480 เพราะรู้ดีถึงอิทธิพลของดนตรีจีน จึงยังคงรักษาร้านนี้ให้คงอยู่ในซอยแปลงนามต่อไป แม้จะมีลูกค้าน้อยก็ตาม

ร้านเซียงเฮงเส็ง

ร้านขายตะเกียง 1 ใน 2 ร้านที่เหลืออยู่ในเยาวราช ตะเกียงเก่าแก่ สวยงามคลาสสสิกแขวนเรียงรายไว้เต็มเพดาน

ตลาดเครื่องกระดาษและของไหว้เจ้า

ที่ตรอกเจริญไชย ซอยเจริญกรุง 21 (ตรอกอิสรานุภาพ) เป็นแหล่งขายข้าวของเครื่องใช้สำหรับไหว้เจ้ามานาน ร้านค้าส่วนใหญ่ในตรอกอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป

กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟุชุมชนเจริยไชย

ซ่อนตัวอยู่ในซอยเจริญกรุง 23 จัดให้เป็นโซนบ้านเก่าเล่าเรื่อง ล้วนแต่เป็นอาคารบ้านเรือนร้านค้า ที่มีรูปแบบของสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของไชน่าทาวน์

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก นิตยสารสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 677
เรียบเรียง Pitchaya

สุดสัปดาห์

keyboard_arrow_up