สุดเจ๋ง! คณะวิศวะฯ จุฬาฯ สร้างหุ่นยนต์ต้านโควิด น้องปิ่นโต ส่งอาหารและยา ลดการแพร่เชื้อจากคนไข้สู่บุคลากร S

Alternative Textaccount_circle
event

โครงการ CU-RoboCovid โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการพัฒนาหุ่นยนต์ขนส่งอาหาร และยาที่ตั้งชื่อว่า น้องปิ่นโต และระบบสื่อสารทางไกลที่เหมาะกับการทำงานร่วมกับบุคลากรการแพทย์ เพื่อช่วยลดความเสี่ยง ลดจำนวนอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้แล้วทิ้งจำนวนมหาศาล เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ รวมถึงลดการแพร่ระบาดของเชื้อ โควิด-19 ทั้งในกลุ่มคนไข้และเจ้าหน้าที่

สุดเจ๋ง! คณะวิศวะฯ จุฬาฯ ผลิตหุ่นยนต์ต้านโควิด น้องปิ่นโต ช่วยขนส่งอาหารและยา ลดการแพร่เชื้อจากคนไข้สู่บุคลากร 

หุ่นยนต์ปิ่นโต “Pinto” ผู้ช่วยแพทย์ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19

วิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด 19 ตอนนี้ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเป็นจำนวนมากทั่วโลก ทั้งยังมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยความที่เป็นโรคอุบัติใหม่ บุคลากรทางการแพทย์รวมทั้งโรงพยาบาลและสถานพยาบาลที่มีจำกัดจึงไม่เพียงพอ ยิ่งไปกว่านั้นอุปกรณ์การแพทย์สำหรับโรคอุบัติใหม่นี้ยังขาดแคลนเป็นอย่างมาก

ด้วยเหตุนี้ เพื่อช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์และโรงพยาบาลอย่างเป็นรูปธรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดตั้งโครงการหุ่นยนต์และอุปกรณ์สนับสนุนการแพทย์ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 เพื่อสร้างหุ่นยนต์ และ อุปกรณ์สนับสนุนการแพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆ

จากการทดสอบความต้องการจริงของแพทย์และโรงพยาบาลหลาย ๆ แห่ง ทีมงานนำเสนอหุ่นยนต์หลายรูปแบบ แต่พบว่าในสถานการณ์วิกฤต สิ่งที่แพทย์และพยาบาลหน้างานต้องการคือ สิ่งที่ทำงานได้จริง ใช้ง่าย สะดวก ทำความสะอาดง่าย งบประมาณไม่มาก ไม่กินพื้นที่ทำงาน ไม่เสียเวลาการติดตั้ง และควรเป็นระบบที่คุ้นเคยและเรียนรู้ได้ง่าย สามารถสร้างเป็นจำนวนมากได้

ทีมงานจึงเลือกนำอุปกรณ์ที่ต้องใช้อยู่แล้วในโรงพยาบาลคือ รถเข็นส่งอาหารผู้ป่วย มาปรับระบบควบคุมการเคลื่อนที่ระยะไกล นั่นคือที่มาของ หุ่นยนต์ปิ่นโต  “Pinto” Quarantine Delivery robot ที่นอกจากส่งของได้ ยังมาพร้อมระบบสื่อสารดูแลผู้ป่วยระยะไกลกับแพทย์และพยาบาล Quarantine Tele-presence โดยมีเป้าผลิตจำนวน 100 ชุดเพื่อมอบให้โรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศ

ทำความรู้จักน้องปิ่นโต

น้องปิ่นโต (Quarantine Delivery Robot) หรือหุ่นยนต์พัฒนาเพื่อการขนส่งและการสื่อสารทางไกลเพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19

น้องปิ่นโต
น้องปิ่นโต

น้องปิ่นโตได้ผ่านการทดลองจริง เก็บข้อมูลจากผู้ใช้งานจริงกว่า 10 โรงพยาบาล เพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตรงตามความต้องการมากที่สุด

หุ่นยนต์ต้านโควิด-19 , โควิด-19
น้องปิ่นโต ช่วยอะไรได้บ้าง 


1. ขนส่งอาหาร ยา เวชภัณฑ์แก่คนไข้ โดยการใช้รถเข็นควบคุมทางไกล ทำให้แพทย์ พยาบาล และบุคลากร มีเสี่ยงน้อยลง ลดจำนวนครั้งที่ต้องเข้าไปอยู่ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ 

หุ่นยนต์ต้านโควิด-19 , โควิด-19

2. ช่วยในการสื่อสารระยะไกล ด้วยหน้าจอที่ติดอยู่ ณ รถเข็นควบคุมทางไกล จะทำให้แพทย์ พยาบาล สามารถคอยดูแลคนไข้ได้ตลอด โดยที่ระบบนี้จะช่วยลดปริมาณอุปกรณ์การแพทย์ที่ต้องทิ้งทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนโซนการตรวจ และ ลดระยะเวลาการใกล้ชิดผู้ติดเชื้อด้วย

3. ลดอัตราการเดินเข้าออกหอผู้ป่วย ลดความเสี่ยง เพิ่มประสิทธิภาพ และยังคงดูแลอย่างเต็มที่ เช็คคนไข้ได้สะดวก ดูแลได้ตลอดเวลา

หุ่นยนต์ต้านโควิด-19 , โควิด-19

หุ่นยนต์ต้านโควิด-19 , โควิด-19

นอกจากนี้ ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์ในสถานการณ์วิกฤติเช่นนี้ ด้วยการพัฒนาและผลิตอุปกรณ์สนับสนุนการแพทย์ชนิดอื่นๆ ที่มีความจำเป็นสำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโรคระบาดโควิด-19 ไม่แพ้กัน เช่น เครื่องทดแทนเครื่องช่วยหายใจ

ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ รศ. ดร. วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ ผู้อำนวยการ International School of Engineering และ หัวหน้าทีมงานโครงการหุ่นยนต์และอุปกรณ์สนับสนุนการแพทย์ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 หรือ ทีม CURoboCovid ซึ่งในทีมงานประกอบด้วย กลุ่มคณาจารย์ ดร สุรัฐ ขวัญเมือง จาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กลุ่ม Startup ของศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คือ บริษัท HG Robotics และ Obodroid. ได้เปิดเผยว่า

ตั้งแต่เมื่อได้รับดำริจากท่านคณบดี ในการสร้างทีม CURoboCovid เพื่อสร้างหุ่นยนต์และอุปกรณ์สนับสนุนแพทย์และโรงพยาบาล​ ทีมงานได้นำหุ่นยนต์ปิ่นโตไปทำการทดสอบการใช้งานจริงแล้วที่โรงพยาบาลหลายโรงตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม​ และในวันที่​ 29​ มีนาคม​ 2563​ หุ่นยนต์ “Pinto” Quarantine Delivery Robot พร้อมระบบสื่อสารทางไกล ​Quarantine Tele Presence​ ได้รับการติดตั้งที่ แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลรามาธิบดี และได้ผลลัพธ์ในด้านประสิทธิภาพการใช้งานและความพึงพอต่อการใช้งานจากบุคลากรทางการแพทย์เป็นอย่างดี

ถือได้ว่า หุ่นยนต์ “Pinto” ตัวนี้ค่อนข้างเป็นคำตอบที่ถูกใจและตรงใจ ในการช่วยแก้ปัญหาของเหล่าบุคลากรทางแพทย์หุ่นยนต์ปิ่นโตนี้มีขนาดค่อนข้างเล็ก ทำให้สามารถเคลื่อนที่รอบตัวคนไข้บนเตียงได้ ดูแลทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคได้ง่าย ไม่สะสมให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อแพร่ต่อไปได้อีก รวมถึงยังช่วยลดการใช้งานของชุดป้องกันตนเองที่ถึงว่าเป็นส่งขาดแคลนอยู่ในขณะปัจจุบันนี้

ที่สำคัญอีกหนึ่งประเด็นคือ ไม่จำเป็นต้องทำการติดตั้งเครื่องมือหรือโครงสร้างอื่นใดเพิ่มเติมเพื่อที่จะใช้งานหุ่นยนต์นี้ จึงทำให้แพทย์และพยาบาลสามารถใช้งานได้ทันที

ปัจจุบันได้ดำเนินการติดตั้งหุ่นยนต์ปิ่นโตและใช้งานจริงเป็นที่เรียบร้อยแล้วใน โรงพยาบาลรามาธิบดี (ER) ติดตั้ง ปิ่นโต 1 ตัว Telepresence หมอ 3 เครื่อง Telepresence คนไข้ 3 เครื่อง โรงพยาบาลรามาธิบดี (จักรี) Telepresence หมอ 5 เครื่อง Telepresence คนไข้ 12 เครื่อง และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สำหรับโรงพยาบาลที่กำลังดำเนินการติดตั้งน้องปิ่นโต มีกว่า 80 แห่งทั่วประเทศ

 

 หุ่นยนต์ต้านโควิด-19 , โควิด-19

หุ่นยนต์ต้านโควิด-19 , โควิด-19
มาร่วมสมทบทุนผลิตหุ่นยนต์รน้องปิ่นโตช่วยเหลือบุคลากรทุนทางการแพทย์ทุกท่านที่ทำงานอย่างหนักในช่วงโควิดกันนะคะ สอบถามเพิ่มเติม Line: @curobocovid หรือทางอินบอกซ์ และช่องทางการบริจาคของทางโครงการ
ชื่อบัญชีกองทุนนวัตกรรม วิศวฯ จุฬาฯ
ธ. กรุงเทพ
939-0-10892-7
ธ. กสิกรไทย
630-2-37158-8
ธ. ไทยพาณิชย์
405-4-13788-7

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

 

 

สุดสัปดาห์

keyboard_arrow_up