Money Guru ณัฐ ศักดาทร,ณัฐ ศักดาทร,วิธีเก็บเงิน,การบริหารเงิน,เงินเดือน

อยากเก็บเงิน แต่ไม่มีเงินให้เก็บ Money Guru ณัฐ ศักดาทร มีทริคมาบอก #ถามณัฐ

Alternative Textaccount_circle
event
Money Guru ณัฐ ศักดาทร,ณัฐ ศักดาทร,วิธีเก็บเงิน,การบริหารเงิน,เงินเดือน
Money Guru ณัฐ ศักดาทร,ณัฐ ศักดาทร,วิธีเก็บเงิน,การบริหารเงิน,เงินเดือน

ใครอยากมีเงินเก็บสักก้อนต้องห้ามพลาด! เพราะวันนี้  Money Guru ณัฐ ศักดาทร มีทริคการเก็บเงินดีๆ มาฝากกัน รับรองได้ทำง่าย ทำได้จริง ไม่ยากเกินไปแน่นอน

หลายๆ คนเลือกใช้วิธีการเก็บเงินจากจำนวนเงินที่เหลือใช้ในแต่ละเดือน แต่พอถึงปลายเดือนจริงๆ ก็แทบจะไม่มีเงินเหลือให้เก็บแล้ว แถมบางเดือนอาจไม่พอด้วยซ้ำ วันนี้  Money Guru ณัฐ ศักดาทร จะมาแนะนำวิธีดีๆ ที่ช่วยบริหารและเพิ่มเงินเก็บให้เราได้อย่างเป็นระบบระเบียบ ซึ่งวิธีที่จะนำมาใช้นั่นก็คือ 50 : 30 : 20 ซึ่งก็คือการแบ่งเงินออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

 

Money Guru ณัฐ ศักดาทร,ณัฐ ศักดาทร,วิธีเก็บเงิน,การบริหารเงิน,เงินเดือน

 

50% สำหรับ Needs หรือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในแต่ละเดือน

สมมติว่าเรามีเงินเดือน 20,000 บาท 50% ของเงินเดือนเท่ากับ 10,000 บาท จำนวนเงินสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในแต่ละเดือน เช่น ค่ารถ ค่าอาหาร ค่าที่พัก ฯ

 

Money Guru ณัฐ ศักดาทร,ณัฐ ศักดาทร,วิธีเก็บเงิน,การบริหารเงิน,เงินเดือน

 

30% สำหรับ Wants หรือค่าความต้องการที่เราอยากได้

30% ของเงินเดือน 20,000 บาทเท่ากับ 6,000 บาท เงินในส่วนนี้มีไว้สำหรับค่าความต้องของเราในแต่ละเดือน เช่น ค่าเสื้อผ้า ค่ากระเป๋าและรองเท้าคู่ใหม่ ค่าไปเที่ยวต่างประเทศ ค่า Netflix  รวมถึงค่าอาหารในร้านหรูๆ ก็จัดอยู่ในส่วนของ Want

Money Guru ณัฐ ศักดาทร,ณัฐ ศักดาทร,วิธีเก็บเงิน,การบริหารเงิน,เงินเดือน

 

20% สำหรับ Saving and Investment หรือเงินเก็บและการลงทุนต่างๆ

เงินส่วนนี้ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เรามีเงินเก็บในแต่ละเดือนได้ 20% ของ 20,000 บาทเท่ากับ 4,000 บาท ใน 1 ปีเราจะมีเงินเก็บอยู่ที่ 48,000 บาท ซึ่งสามารถนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนเพิ่มเติมเพื่อสร้างรายรับให้มากยิ่งขึ้น  และถ้าใครบริหารเงินจากสองส่วนแรกดีๆ อาจจะมีเงินเก็บมากกว่า 20 % ก็ได้ซึ่งจะถือเป็นสิ่งที่ดีมาก

Money Guru ณัฐ ศักดาทร,ณัฐ ศักดาทร,วิธีเก็บเงิน,การบริหารเงิน,เงินเดือน

 

ทั้งนี้มนุษย์เรามีความสามารถพิเศษที่ทำให้สิ่งที่ต้องการกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นได้ ทำให้ค่าใช้จ่ายในบางส่วนไม่เพียงพอ วิธีที่จะทำให้เราสามารถแยก Needs กับ Wants ออกจากกันได้ คือถามตัวเองทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้ออะไรว่า จำ – เป็น – ไหม ถ้าจำเป็นและคุ้มค่าต่อเงินที่เสียไป ซื้อเลย แต่ถ้าซื้อเพราะคนอื่นมีหรือของชิ้นนั้นเป็นของที่กำลังอยู่ในกระแสมันอาจจะไม่คุ้มก็ได้นะ

 

Money Guru ณัฐ ศักดาทร,ณัฐ ศักดาทร,วิธีเก็บเงิน,การบริหารเงิน,เงินเดือน

 

วิธีจัดการ Wants ที่ไม่สิ้นสุดของเรา

  1. เปรียบเทียบจากวิธี Cost per use

หาก Wants ที่ต้องการมีค่า Cost per use ที่ต่ำเท่ากับว่า เมื่อเราซื้อสิ่งนั้นมาแล้วเราจะได้ใช้หลายครั้ง คุ้มค่าแก่การลงทุน แต่ถ้าซื้อมาแล้วค่า Cost per use สูงหมายความว่า เราไม่ได้ใช้บ่อย สิ่งของเหล่านั้นก็จะไม่คุ้มค่า ดังนั้นควรซื่อสัตย์ต่อตนเองและคิดไตร่ตรองให้ดีก่อนตัดสินใจ

  1. ถ้า Wants ชนิดนั้นสามารถเพิ่มสกิล (ทักษะ) ให้กับตนเองได้ ก็ถือว่าคุ้มค่า

หาก Wants นั้นเป็นสิ่งที่เราทำแล้วเพิ่มสกิลและความสามารถในการทำงาน เช่น เราอยากเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งจะทำให้มีความสามารถเพิ่มขึ้น มีโอกาสในการทำงานที่ดีขึ้น ส่งผลให้เงินเดือนเพิ่มขึ้นได้ เงินส่วนอื่นๆ ทั้งหมดก็จะเพิ่มขึ้นตาม ถือว่าเป็น Wants ประเภทที่เราควรจะใส่ใจมันก่อน Wants ประเภทอื่นๆ”

 

 

สูตร 50 : 30 : 20 ถือเป็นแค่ตัวช่วยอย่างหนึ่งในการเก็บเงิน ซึ่งบางคนอาจปรับสัดส่วนให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง แต่สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การบริหารจัดการเงินของเรามีประสิทธิภาพ คือความมีวินัยในการใช้จ่ายและการไตร่ตรองอย่างซื่อสัตย์ก่อนซื้อนั่นเอง

 

สามารถติดตาม SUDSAPDA Money Guru ณัฐ ศักดาทร ตอนอื่นๆ ได้ที่ SUDSAPDA TV

 

ติดตามข่าวที่น่าสนใจได้ที่นี่ค่ะ

พ่อขาหนูรักเค้า! 5 คำถามที่จะทำให้สาวๆ ตกหลุมรัก DAY6

สัมภาษณ์ดาราดัง “จูจีฮุน-แบดูนา-รยูซึงรยง” จากซีรี่ย์เกาหลี Kingdom

ไอดอลรุ่นเดอะ ยกขบวนมาไทย แค่หายใจในประเทศเดียวกัน น้องก็แฮปปี้แล้ว!!!

สุดสัปดาห์

keyboard_arrow_up