ณัฐ ศักดาทร,วิธีใช้เงิน,การบริหารเงิน,Money Guru,สุดสัปดาห์

ใช้เงินยังไงให้คุ้มค่า by ณัฐ ศักดาทร SUDSAPDA Money Guru

Alternative Textaccount_circle
event
ณัฐ ศักดาทร,วิธีใช้เงิน,การบริหารเงิน,Money Guru,สุดสัปดาห์
ณัฐ ศักดาทร,วิธีใช้เงิน,การบริหารเงิน,Money Guru,สุดสัปดาห์

“การที่คนหนึ่งจะรวยขึ้นได้ ไม่ได้เกิดจากการใช้เงินน้อยที่สุด แต่เกิดจากการใช้เงินให้คุ้มค่าที่สุด” มุมมองการบริหารเงินจากหนุ่ม ณัฐ ศักดาทร ที่จะมาพูดถึงแนวคิด Cost per use แค่เปลี่ยนวิธีคิดก็เพิ่มเงินกระเป๋าได้

 

ณัฐ ศักดาทร,วิธีใช้เงิน,การบริหารเงิน,Money Guru,สุดสัปดาห์

 

จากแนวคิด Cost per use หนุ่ม ณัฐ ศักดาทร แนะนำว่าเป็นวิธีหาความคุ้มค่าจากสิ่งของที่จะตัดสินใจซื้อ “Cost คือราคา Use คือการใช้งาน Cost per use หมายถึง ราคาต่อจำนวนครั้งที่ใช้งาน โดยนำราคาหารด้วยจำนวนครั้งที่ใช้ เราจะทำยังไงให้เศษส่วนมีมูลค่าน้อยลง แปลว่าเราต้องเพิ่มจำนวนครั้งที่ใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ความคุ้มค่าก็จะเพิ่มขึ้น ใช้ให้มันบ่อยที่สุดเท่าที่จะบ่อยได้แล้วมันจะคุ้มเอง

“อย่างผมสมัครฟิตเนสเจ้าหนึ่งที่มีหลายสาขา ราคา 25,000 บาท/ปี แต่พอมีหลายสาขาผมมั่นใจเลยว่าไม่ว่าผมทำงานที่ไหน ผมจะสามารถแวะได้สักสาขา ตกอาทิตย์ละ 4-5 ครั้ง 365 วันผมใช้ประมาณ 180 วัน หารออกมาเท่ากับว่าใช้ครั้งละ 137 บาทเอง เพราะฉะนั้นมันขึ้นอยู่กับว่าเราได้ใช้มันบ่อยแค่ไหน เพราะว่าการที่เราใช้มันบ่อยขึ้น จะทำให้มันคุ้มค่าขึ้นเอง”

นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างที่สาวๆ ทุกคนจะต้องเคยผ่านมาก่อนนั่นก็คือ การเลือกซื้อเสื้อผ้า “สมมติเราซื้อเสื้อกันหนาวที่กำลังอยู่ในกระแส เป็นแฟชั่นที่กำลังมาสำหรับปีนี้ ประมาณ 2 หมื่น แต่ว่าคงใส่ได้แค่ปีนี้ เพราะใส่ปีอื่นๆ ก็คงเชยแล้ว กับอีกตัวหนึ่งเรียบๆ คุณภาพดี แพงกว่า แต่ว่าใส่ไปได้หลายๆ ปี มิกซ์แอนด์แมตช์ได้มากกว่า แล้วก็ดูคลาสสิคกว่า สุดท้ายมันก็ถูกใช้ได้คุ้มกว่าในชีวิตเรา”

สรุปก็คือยิ่งใช้บ่อยยิ่งคุ้มค่านั่นเอง ซึ่งไม่ได้ใช้เฉพาะกับการเปรียบเทียบของ 2 อย่าง แต่สามารถใช้ในการตัดสินใจว่าจะ ” ซื้อ ” หรือ ” ไม่ซื้อ ” เพื่อให้เราได้ใช้เงินอย่างคุ้มค่าที่สุด

 

ณัฐ ศักดาทร,วิธีใช้เงิน,การบริหารเงิน,Money Guru,สุดสัปดาห์

 

เชื่อว่าเวลาอยากได้ของอะไร ใครๆ ก็ต้องหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองว่าต้องได้ใช้บ่อยแน่ๆ ใครไม่แน่ใจว่าคุณกำลังหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองหรือเปล่า ณัฐ มี Checklist มาบอก

1.ดูจากประสบการณ์เก่าๆ อย่าหลอกตัวเอง

“การลองเช็คของที่เรามีอยู่ในสต็อกที่บ้าน ของที่มันคล้ายๆ กัน แต่ละอันเราใช้มันถี่แค่ไหนเป็นตัวที่บอกเราได้ว่า ถ้าเราซื้อมาอีกอัน เราก็จะใช้ความถี่ประมาณนั้นแหละ คงไม่ต่างไปมากเท่าไหร่หรอก”

2.อย่าตามกระแส

“ถามตัวเองเลยว่า ถ้าคนไม่ได้ฮิตอยู่ตอนนี้เราจะอยากได้มันจริงไหม จะเอามาใช้ทำอะไร ถ้าเพื่อนไม่พูดถึงมันเลย เราจะใช้มันออกไปใส่ไปอวดใครบ้างไหม ถ้าคำตอบคือไม่ ก็อย่าซื้อ ลองสมมติว่าคนทั้งโลกไม่ได้ชอบมันแล้วเราจะชอบมันไหม”

3.Budget (รายได้)

“คุณมี Budget หรือเปล่า คุณมีรายได้เท่าไหร่ คุณซื้ออันนี้แล้วเป็นหนี้หรือเปล่า ถ้าเป็นหนี้คุณโอเคใช่ไหม คุณยอมทุกข์ ยอมที่จะทำงานหนักขึ้น เพื่อเป็นหนี้ ถ้าคำตอบคือใช่ แล้วคุณคิดว่าคุณทำได้ ทำไปเลยครับ แต่ต้องรับผิดชอบในการกระทำของตัวเองด้วย และเมื่อเวลาผ่านไปเราเริ่มรู้สึกว่า เฮ้ย มันไม่คุ้มค่านี่ จดไว้ ว่าครั้งนั้นเราเคยแอบเข้าข้างตัวเองแล้วมันผิดนะ แล้วครั้งต่อไปเข้าข้างตัวเองให้น้อยลงครับ”

 

ณัฐ ศักดาทร,วิธีใช้เงิน,การบริหารเงิน,Money Guru,สุดสัปดาห์

 

บางครั้งแนวคิด Cost per use ก็ไม่สามารถใช้ได้กับของทุกสิ่งเสมอไป มีข้อยกเว้นดังนี้

1.ของที่มีวันหมดอายุ

“เช่น นมที่เราไปซื้อกันตามซูเปอร์มาร์เก็ต นมแกลลอนกับนมขวด สมมติว่าคุณคำนวณว่า 1 แกลลอนกินได้ 10 แก้ว แบบขวดคุณกินได้ 4 แก้ว แบบแกลลอนหารราคาออกมาแล้วมันคุ้มค่ากว่า แต่พอเอาจริงๆ คุณใช้มันได้ไม่ถึง 10 ครั้งตามที่คุณคำนวณไว้ แปลว่าตัวเลขที่คุณคำนวณแต่แรกมันผิด ความเบื่อก็เป็นการหมดอายุอย่างหนึ่งในของแต่ละอย่าง ความเบื่อมันเหมือน Expiration Date ที่อยู่ในตัวเรา เพียงแต่มันเป็น Expiration Date ที่เราไม่รู้ว่าจะมาเมื่อไหร่ ถ้าของอันไหนนะมันมีให้ลอง ทดลองเลย ใช้ช่วงที่ลองเป็นโอกาสในการตอบตัวเองให้ได้ว่า Expiration Date ของเราในเรื่องนี้มันจะมาเร็วแค่ไหน แต่ต้องซื่อสัตย์กับตนเองด้วยนะ”

2.คุณภาพ

“ยกตัวอย่างง่ายๆ เตียงนอน เตียงหนึ่งราคา 5,000 บาท อีกเตียงราคา 10,000 บาท ใช้ได้ 5 ปีเท่ากัน ใช้นอนทุกวันเหมือนกัน แต่กลายเป็นว่าเตียงราคา 10,000 บาท อาจจะดีกับสุขภาพมากกว่า ทำให้เราหลับสบายกว่า สุดท้ายมันต้องตัดสินใจเองครับ ว่าเตียงไหนทำให้เรารู้สึกแฮปปี้กับการล้มตัวลงนอนมากกว่า”

3.One time use

“เป็นสิ่งของที่เราสามารถใช้ได้แค่ครั้งเดียว ตัวอย่างเช่น ชานมไข่มุกร้านต่างๆ อาหารที่เรากินกันในแต่ละวันมันเป็น One time อยู่แล้ว จำนวน Use มันคือครั้งเดียว อันที่แพงกว่าก็คือแพงกว่า อันที่ถูกว่าก็คืออันที่ถูกกว่า ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ หรือว่ารสนิยมการกินของเรามากกว่าว่าจะเลือกแบบไหน”

4.การลงทุนเพื่อตัวเอง

“สมมติว่าเราซื้อคอร์สเรียนภาษาอังกฤษ มี 2 คอร์ส ความถี่ในการสอนเท่ากัน อาทิตย์ละครั้ง ราคาต่างกันหมื่นสอง หมื่นหารออกมาแล้วอันที่ถูกกว่ามันดูจะคุ้มกว่าใช่ไหมครับ แต่ว่าถ้าศึกษาดีๆ แล้วอันที่แพงกว่าอาจจะมีคุณภาพครูที่ดีกว่า บทเรียนดีกว่า สอนเข้าใจกว่า เราพัฒนาเร็วกว่า ซึ่งการพัฒนาเร็วกว่ามันทำให้เราเองมีโอกาสอื่นๆ ในชีวิตที่ดีขึ้นได้เร็วกว่า นั่นมันคือการพัฒนาของเรา ดังนั้นจะเลือกแต่ความถูก”

 

สรุปแล้วการซื้อของถูกหรือแพงไม่สำคัญเท่าเราซื้อมาแล้วใช้ได้คุ้มค่าไหม ซึ่งความถี่ในการใช้จะทำให้ความคุ้มค่าเพิ่มขึ้น ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจซื้ออะไรเพื่อนๆ ลองเอาจำนวนครั้งที่คิดว่าจะได้ใช้หารราคาดูนะว่า ราคาต่อจำนวนครั้งที่ใช้เป็นเท่าไหร่ เรารู้สึกว่าคุ้มค่าไหม อย่าหลอกตัวเองและอย่าเข้มงวดกับตัวเองมากเกินไป เพราะยังไงความสุขในชีวิตก็สำคัญ (แต่ที่สำคัญกว่าคือ อย่าทำให้ตัวเองเดือดร้อนนะจ๊ะ)

 

ติดตามข่าวที่น่าสนใจได้ที่นี่ค่ะ

แฟชั่นลายมิกกี้ เมาส์ 90 ปี ฟีเวอร์ (Mickey Mouse 90 years)

เปิดกล่อง ของขวัญ Innisfree Green Christmas 2018 ปีนี้ขอ

รองเท้าบู๊ท รุ่นพิเศษ จาก Dr.Martens และ Timberland

สุดสัปดาห์

keyboard_arrow_up