เงินทองไม่เข้าใครออกใคร มีได้ก็หมดได้เพราะฉะนั้นแล้วเราจำเป็นที่จะต้องเตรียมพร้อมรับมือในช่วงที่หมุนเงินไม่ทันให้ดี โดยเริ่มจากการวางแผนบริหารเงินของเราให้ดี แต่ถ้าใครต้องการเงินกู้ด่วนไปต่อยอด เราจะมาแนะนำสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่ให้เงินก้อนเร็วภายใน 24-48 ชั่วโมงโดยไม่ต้องมีหลักประกันในการขอสินเชื่อ เรามาทำความรู้จักกับ สินเชื่อส่วนบุคคล ไปพร้อมๆ กันเลย
ทำความรู้จักกับ สินเชื่อส่วนบุคคล (Personal Loan) คืออะไร?
สินเชื่อส่วนบุคคล คือ เงินกู้ เรียกแบบง่ายๆ คือการที่เราไปกู้เงินกับธนาคารเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ โดยมีข้อดีตรงที่เป็นสินเชื่อถูกกฎหมาย และถูกควบคุมโดยแบงก์ชาติหรือธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้นความเสี่ยงในการถูกโกงก็จะน้อยกว่าพวกสินเชื่อนอกระบบ และดอกเบี้ยจะไม่สูงเกินกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
เมื่อเปรียบเทียบสินเชื่อส่วนบุคคลกับเงินกู้นอกระบบ เงินกู้นอกระบบจะไม่ถูกความคุมโดยแบงก์ชาติเนื่องจากเป็นสินเชื่อผิดกฎหมายโดยสินเชื่อประเภทนี้จะมีดอกเบี้ยที่สูงมากๆ เรียกว่าดอกเบี้ยแบบไม่มีเพดานทำให้เราจึงมักเห็นข่าวบ่อยๆ ว่าหลายคนที่เป็นหนี้นอกระบบ ใช้หนี้เท่าไรก็ใช้ไม่หมดสักที เพราะดอกเบี้ยสูง ผ่อนเท่าไรก็ไม่ไปตัดเงินต้นสักที
สินเชื่อส่วนบุคคล เหมาะกับใครบ้าง?
ด้วยกับการที่เราจะไปกู้ธนาคารเพื่อขอสินเชื่อส่วนบุคคล ธนาคารก็จะมีเกณฑ์พิจารณาที่เยอะเนื่องจากสินเชื่อส่วนบุคคลเป็นสินเชื่อที่ไม่ต้องใช้หลักประกัน ทำให้ไม่มีอะไรมาประกันเมื่อเราผิดนัดชำระหนี้ ดังนั้นเรามาดูกันว่าใครบ้างที่เหมาะจะกู้สินเชื่อส่วนบุคคล
- พนักงานบริษัทเอกชน เนื่องจากมีฐานเงินเดือนและรายได้ที่แน่นอน
- คนที่มีแพลนเอาเงินไปต่อยอด เช่น หารายได้เสริม
- คนที่เอาเงินไปหมุนโดยรู้ว่าเราจะสามารถหาเงินมาใช้หนี้ได้
- เจ้าของกิจการที่ดำเนินกิจการมาแล้วมากกว่า 2 ปี
สินเชื่อส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง?
จริงๆ แล้วมีอีกหลายสินเชื่อมากเลยที่เป็นสินเชื่อส่วนบุคคล หรือเป็นการกู้เงินกับธนาคารแต่มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปเพื่อให้คนเข้าใจว่าจริงๆ แล้วสามารถกู้สินเชื่อส่วนบุคคลไปใช้ทำอย่างอื่นได้นะ โดยธนาคารเขาเลยมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไป ดังนี้
- สินเชื่อรวมหนี้ หรือ รีไฟแนนซ์บัตรเครดิต จริงๆ แล้วใช้หลักการเดียวกับสินเชื่อส่วนบุคคล คือการไปกู้ธนาคารใหม่เพื่อมาปิดหนี้กับธนาคารเดิม เช่น เรามีหนี้บัตรเครดิต 3 ใบ ธนาคาร A B C ผ่อนขั้นต่ำรวมกันแพง เราเลยอยากเพิ่มสภาพคล่องโดยการลดยอดผ่อน เราจึงไปกู้เงินกับธนาคาร D เพื่อมาปิดหนี้บัตรเครดิตกับธนาคาร A B C
- บัตรกดเงิน จริงๆ แล้วบัตรกดเงินสดก็เป็นหนึ่งในสินเชื่อส่วนบุคคล แต่ต่างกันแค่เป็นเงินที่อยู่ในรูปของบัตร ลองคิดดูนะครับ บัตรกดเงินสด เราถือไว้เฉยๆ ไม่เป็นหนี้ แต่ถ้ารูดใช้เมื่อไหร่เราจะเป็นหนี้ทันที หลักการเดียวกับสินเชื่อส่วนบุคคลเลย
- สินเชื่อเพื่อการศึกษา อย่างที่รู้กันว่าเราสามารถเอาสินเชื่อส่วนบุคคลไปต่อยอดได้ และการลงทุนที่ดีที่สุดคือการลงทุนกับความรู้ ดังนั้นเผื่อใครคิดไม่ออกว่าจะกู้เงินไปทำอะไร ก็ขอสินเชื่อนี้ได้เลย
- กู้แต่งงาน เนื่องจากในปัจจุบันการจะแต่งงานก็จะต้องมีสินสอดและค่าจัดงาน ดังนั้นธนาคารก็คิดมาแล้วแหละว่าจะต้องมีคนกู้เงินไปทำสิ่งนี้แน่ๆ และแน่นอนว่าสินเชื่อนี้ก็คือ สินเชื่อส่วนบุคคลนั่นเอง
สิ่งที่ต้องรู้ก่อนขอ สินเชื่อส่วนบุคคล
มาถึงตรงนี้หลายคนคงอยากที่จะขอสินเชื่อส่วนบุคคลกันเต็มทีแล้ว แต่ก่อนอื่นมีสิ่งที่เราต้องรู้เกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลก่อนที่เราจะไปขอกู้ธนาคาร เพราะอย่าลืมว่าพอกู้เงินไปแล้วเราต้องผ่อนคืน และการผ่อนก็จะต้องมีการคิดดอกเบี้ยด้วย
การคิดอัตราดอกเบี้ย
สินเชื่อส่วนบุคคลจะคิดดอกเบี้ยได้ 2 แบบแล้วแต่เราเลือก
- แบบคงที่ ก็คือดอกเบี้ยจะเท่าเดิมไม่ว่าเราจะผ่อนจนเงินต้นเหลือเท่าไหร่ เช่น 9.99% ต่อปี โดยจะไม่เอาเงินต้นมาคำนวณรายครั้ง
- แบบลดต้นลดดอก ดอกเบี้ยจะลดลงตามจำนวนของเงินต้นที่ลดลง โดยจะใช้เงินต้นมาคำนวณด้วย
วงเงินของสินเชื่อ
วงเงินสินเชื่อคือ จำนวนเงินก้อนที่ธนาคารจะให้เรากู้ โดยส่วนมากจะมีการกำหนดไว้ เช่น รายได้มากกว่า 30,000 บาทสามารถกู้ได้ 5 เท่าของรายได้ แต่ทั้งนี้ธนาคารก็จะดู % ของยอดหนี้ของเราด้วย คือไม่ควรเกิน 40-60% ของรายได้
การวิเคราะห์สินเชื่อของธนาคาร
สินเชื่อส่วนบุคคล อย่างที่บอกว่าธนาคารจะมีการวิเคราะห์หลายส่วนเนื่องจากเป็นสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน โดยจะวิเคราะห์ตั้งแต่รายได้ ทางที่ดีควรมากกว่า 30,000 บาท และยอดหนี้ไม่เกิน 40-60% ของรายได้ครับ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคล
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในการขอสินเชื่อส่วนบุคคล ก็มักจะมาคำถามที่เกิดขึ้นมากมาย เนื่องจากไม่ใช่ว่าทุกคนที่ขอสินเชื่อส่วนบุคคลแล้วจะผ่าน เนื่องจากธนาคารเขาก็มีเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนั้นเราจึงรวบรวมคำถามที่พบบ่อยและจะมาตอบให้
ต้องมีรายได้เท่าไหร่ถึงขอ สินเชื่อส่วนบุคคลได้?
ผู้ที่อยากขอสินเชื่อส่วนบุคคลจริงๆ รายได้ที่ดีควรมากกว่า 30,000 บาท เนื่องจากจะขอได้ 5 เท่าของรายได้ แต่รายได้น้อยกว่า 30,000 บาทก็ขอได้เช่นกัน แต่จะได้สูงสุดแค่ 3 เท่าของรายได้ และเราอาจจะต้องมีหนี้น้อยๆ หน่อยเพื่อเพิ่มโอกาสในการผ่านอนุมัติ
สินเชื่อบุคคลแบบมีหลักประกัน และแบบไม่มีหลักประกันต่างกันอย่างไร?
สินเชื่อส่วนบุคคลแบบมีหลักประกันก็คือจะมีสินทรัพย์บางอย่างมาค้ำ เพื่อให้ธนาคารอนุมัติได้สูงขึ้นและดอกเบี้ยต่ำลงเนื่องจากมีความน่าเชื่อถือว่าถ้าหากเราผิดชำระหนี้กับทางธนาคารเขาจะสามารถยึดหลักประกันของเราได้
สรุปเกี่ยวกับการขอสินเชื่อส่วนบุคคล
สำหรับใครที่ต้องการกู้สินเชื่อส่วนบุคคล แต่ไม่รู้ว่าสินเชื่อส่วนบุคคลธนาคารไหนดีที่สุด ก็แนะนำให้ลองเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์ Refinn เลย โดยเราสามารถกรอกข้อมูลและเปรียบเทียบโปรโมชั่นสินเชื่อส่วนบุคคลได้จากทุกธนาคาร และถ้าอยากรู้ว่าสินเชื่อส่วนบุคคลอนุมัติไวใน 48 ชั่วโมงจริงไหม ก็อย่าลืมลองสมัครกันดู