โรคซึมเศร้าเป็นหนึ่งในโรคที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี โดยสาเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้าเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งจากสภาพแวดล้อมรอบตัว ความเครียดสะสม การสูญเสีย ความผิดปกติของสารสื่อประสาท หรือพันธุกรรม โดยปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า
ผู้ป่วยที่เป็นซึมเศร้าส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่าตัวเองกำลังเผชิญกับภาวะซึมเศร้า พวกเขาอาจรู้สึกแค่ว่าเหนื่อยล้า หมดกำลังใจ หรือขาดแรงจูงใจในชีวิต แต่หลายๆ คนไม่ได้ตระหนักการเป็นโรคซึมเศร้านี้ส่งผลต่อจิตใจ และจำเป็นต้องได้รับการดูแลทางการแพทย์ เพื่อหาวิธีการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าแต่ละราย
โรคซึมเศร้า คืออะไร? มาทำความเข้าใจให้มากขึ้น
โรคซึมเศร้า (Depressive Disorder) คือ โรคทางจิตเวชประเภทหนึ่งที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมของผู้ป่วย โรคซึมเศร้าทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเศร้าอย่างต่อเนื่อง ขาดความสนใจในกิจกรรมต่างๆ ที่ตัวเองเคยชื่นชอบ รวมถึงอาจรู้สึกหมดหวัง ท้อแท้ และมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่เคยนอนหลับสนิทกลายเป็นคนที่นอนหลับได้ยาก จากที่เคยทานอาหารอร่อยกลับกลายเป็นไม่อยากอาหาร เบื่ออาหารอย่างไม่มีสาเหตุ
นอกจากนี้ โรคซึมเศร้าคือโรคที่ยังส่งผลต่อการทำงาน การเรียน และความสัมพันธ์กับคนรอบข้างในชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจนำไปสู่ภาวะอาการของโรคซึมเศร้าที่รุนแรงมากขึ้นอย่างมีความคิดเชิงลบกับตัวเองหรือพยายามฆ่าตัวตาย ดังนั้นการรับรู้และการวินิจฉัยโรคซึมเศร้าอย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูสภาพจิตใจและกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
โรคซึมเศร้า เกิดจากปัจจัยไรบ้าง
สาเหตุของการเกิดขึ้นโรคซึมเศร้ายังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด เนื่องจากโรคซึมเศร้าเกิดจากหลายปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจและร่างกายของคนเรา โดยปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
- ความเครียดสะสม เช่น ปัญหาทางการเงิน การงาน ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ล้วนเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้
- ความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท ในสมองจะมีสารสื่อประสาทที่ช่วยควบคุมอารมณ์ เช่น เซโรโทนิน (Serotonin) และโดปามีน (Dopamine) เมื่อสารเหล่านี้ความไม่สมดุล อาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้
- พันธุกรรม หากพบว่ามีคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคทางจิตเวชอย่างโรคซึมเศร้ามาก่อน มีความเสี่ยงสูงที่ลูกจะเป็นโรคซึมเศร้าเหมือนกัน
- ปัญหาสุขภาพร่างกาย โรคบางประเภท เช่น โรคไทรอยด์หรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ มีส่วนทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกนำไปสู่ความเครียดและภาวะซึมเศร้าได้
- เหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อจิตใจ บางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อสภาพจิตใจอย่างรุนแรงในวัยเด็ก เช่น ถูกทำร้ายหรือถูกผู้ที่รักทอดทิ้ง
ปัจจัยเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดโรคซึมเศร้า ซึ่งผู้ป่วยบางคนอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งหรือหลายปัจจัยพร้อมกัน ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนทำให้สภาวะจิตใจย้ำแย่ต่อเนื่อง เกิดเป็นภาวะซึมเศร้าโดยไม่ทันรู้ตัว หากคุณกังวลหรือสงสัยว่าตัวเองอาจเป็นโรคซึมเศร้าเช็กอาการเบื้องต้นด้วยการประเมินโรคซึมเศร้าซึมเศร้าแบบทดสอบด้วยตนเอง เพื่อประเมินอาการเบื้องต้น แบบทดสอบนี้จะช่วยให้ทราบระดับโรคซึมเศร้าที่เกิดขึ้น
โรคซึมเศร้า มีอาการเสี่ยงที่บ่งบอกว่าป่วย
โรคซึมเศร้าสาเหตุสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยตามที่ได้อธิบายไปข้างต้น โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะมีอาการโรคซึมเศร้าที่มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจ อารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนี้
- โกรธ หงุดหงิดได้ง่าย
- รู้สึกเศร้า เสียใจ ร้องไห้ รู้สึกอ้างว้าง
- กิจกรรมที่เคยชื่นชอบ กลับเบื่อหน่ายไม่อยากทำ
- นอนไม่หลับหรือนอนมากขึ้นกว่าปกติ
- น้ำหนักตัวลดลงหรือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นภายในระยะเวลาอันสั้น
- ไม่มีสมาธิ โฟกัสไม่ได้ หรืออยู่เฉยๆ ไม่ได้
- อ่อนเพลีย รู้สึกไร้เรี่ยวแรง
- มีความคิดอยากทำร้ายตัวเอง หรือคิดฆ่าตัวตาย
เป็นโรคซึมเศร้าควรรับมืออย่างไร? ทำได้ด้วยตนเอง
การรับมือกับโรคซึมเศร้าสามารถทำได้หลายวิธี โดยผู้ป่วยต้องเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจถึงอาการและผลกระทบของโรค เพื่อที่จะสามารถจัดการกับความรู้สึกของตนเองได้อย่างเหมาะสม หนึ่งในวิธีการที่สำคัญคือการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาการโรคซึมเศร้า รวมถึงการสังเกตอารมณ์และความรู้สึกของตนเองว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในแต่ละวัน
นอกจากนี้ การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยตัวเองสามารถรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอาการไม่รุนแรงหรือผู้เริ่มมีภาวะซึมเศร้า เช่น การออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งช่วยกระตุ้นสารเคมีในสมองที่มีผลต่ออารมณ์ การนอนหลับให้เพียงพอ และพูดคุยระบายความรู้สึกให้กับคนรอบข้างได้รับฟังจะช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจ อารมณ์ได้ดีขึ้น หรือเข้าพบปรึกษาจิตแพทย์เบื้องต้น
โรคซึมเศร้ารักษาหายไหม?
แนวทางการรักษาโรคซึมเศร้าในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ที่จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอาการดีขึ้นและสามารถหายจากโรคซึมเศร้าได้ โดยวิธีการรักษาหลักของโรคซึมเศร้าคือ การบำบัดโรคซึมเศร้าหรือ “จิตบำบัด” เป็นวิธีการพูดคุยกับจิตแพทย์ และการทานยารักษาโรคซึมเศร้าควบคู่กันเพื่อปรับสมดุลสารสื่อประสาทในสมองนั่นเอง
โรคซึมเศร้า ภัยเงียบที่อย่าปล่อยไว้นาน ต้องรีบรักษา
โรคซึมเศร้าถือเป็นภัยเงียบที่ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบแต่จิตใจ ยังส่งผลไปยังร่างกายองค์รวมอีกด้วย หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจทำให้อาการค่อยๆ ทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงาน การเรียน และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ดังนั้นแล้ว อย่าลืมสังเกตตนเอง หากเริ่มมีอาการเข้าข่ายโรคซึมเศร้า ควรรีบเข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้ากับแพทย์โดยทันที เพื่อได้รับวินิจฉัยและเสนอวิธีการรักษาที่เหมาะสม จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจและกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็ว >> โหลดแอป BeDee ได้ที่นี่!