สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์

สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) เปิดตัวแคมเปญ ‘The Story from the North’

Alternative Textaccount_circle
event
สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์
สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์

สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) เปิดตัวแคมเปญ ‘The Story from the North’ดึง ญาญ่า-อุรัสยา เสปอร์บันด์ นักแสดงชื่อดังลูกครึ่งไทย-นอร์เวย์ เป็นพรีเซนเตอร์คนแรกของ Seafood from Norway ในประเทศไทย ปักธงให้นอร์เวย์เป็นประเทศแห่งอาหารทะเลและโปรโมตการใช้อาหารทะเลจากนอร์เวย์ เช่น แซลมอน ฟยอร์ดเทราต์ และนอร์วีเจียนซาบะ เป็นวัตถุดิบในเมนูอาหารไทย ด้วยงบการตลาดโดยรวมของสภาฯ กว่า 72 ล้านบาท ที่จะสร้างการรับรู้ผ่านช่องทางโทรทัศน์ ข่าวประชาสัมพันธ์ ยูทูป เฟสบุ๊ค อินสตาแกรม รถไฟฟ้ามหานครรถไฟฟ้าบีทีเอส และสื่อกลางแจ้งทั่วประเทศ ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม 2565 แคมเปญนี้คาดว่าจะช่วยดันยอดปริมาณการนำเข้ารวมของแซลมอนและฟยอร์ดเทราต์ในไทยโต 20% ภายในปี 2566

สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์

ดร. อัสบีเยิร์น วาร์วิค เรอร์ทเว็ท ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) กล่าวว่า “นี่เป็นแคมเปญที่ใหญ่ที่สุดของทางสภาฯ ที่เคยมีมาในประเทศไทย ยอดขายของแซลมอนในปีนี้ทำให้เราได้มีงบเพื่อใช้ในแคมเปญการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์ให้คนไทยได้สัมผัสถึงนวัตกรรม เทคโนโลยี และความยั่งยืนของอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ การได้ร่วมงานกับ ญาญ่า-อุรัสยา นักแสดงเชื้อสายไทย-นอร์เวย์ ซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศไทยที่เต็มไปด้วยอาหารอร่อย ๆ โด่งดังไปทั่วโลก และนอร์เวย์ที่เป็นประเทศแห่งอาหารทะเล โดยที่ทั้งสองประเทศมีหลายอย่างที่คล้ายคลึงกัน เป็นโอกาสอันดีที่เราจะโปรโมตการใช้อาหารทะเลจากนอร์เวย์ในเมนูอาหารไทย ประเทศไทยยังคงเป็นตลาดที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียและของโลก เป็นรองเพียงแค่ประเทศจีน

ในเรื่องของการซื้ออาหารทะเลผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากความนิยมที่มีอย่างต่อเนื่องของอาหารญี่ปุ่น ปีนี้ เป็นที่น่าพึงพอใจ ด้วยรายได้รวมกว่า 7.2 หมื่นล้านบาท และคาดว่ามูลค่าตลาดรวมจะเติบโตกว่า 70%”

ในช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคม 2565 สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) รายงานตัวเลขมูลค่าการส่งออกทั่วโลกของอาหารทะเลจากนอร์เวย์ ทำสถิติสูงสุดอยู่ที่ 4 แสนล้านบาท เติบโต 14% นับเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้น 5.4 หมื่นล้านบาทเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว เทียบเท่ากับการบริโภคมื้ออาหาร 37 ล้านมื้อต่อวัน หรือประมาณ 25,000 มื้อต่อนาที  ในประเทศไทย ปริมาณการนำเข้าแซลมอนเพิ่มขึ้น 6% รวม 16,100 ตัน มูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 55% รวม 5.4 พันล้านบาท การเติบโตที่สูงที่สุดคือฟยอร์ดเทราต์ ประเทศไทยกลายเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญที่สุดรองจากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีปริมาณการนำเข้าฟยอร์ดเทราต์เพิ่มขึ้น 51% รวม 6.6 พันตัน มูลค่าเพิ่มขึ้น 114% รวม 2.2 พันล้านบาท ในส่วนของปริมาณการนำเข้านอร์วีเจียนซาบะเพิ่มขึ้น 23% รวม 9.4 พันตัน ในปีนี้ ‘The Story from the North’เล่าถึงเรื่องราวจากนอร์เวย์ผ่านสายตาของ ญาญ่า-อุรัสยา ซึ่งเป็นบ้านหลังที่สองที่เรียกได้ว่าเป็นประเทศแห่งอาหารทะเล การประมงของนอร์เวย์อาศัยความพิถีพิถันและประเพณีอันยาวนานของผู้คน ความเคารพต่อธรรมชาติ และนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ญาญ่า เป็นตัวแทนของสิ่งที่ดีที่สุดจากสองโลก เดินทางไปนอร์เวย์เพื่อกลับสู่อ้อมกอดของครอบครัว ลองทำอาหารไทยกับเชฟเทเรียร์ ออมมุนเซนต์ ที่กรุงออสโล เห็นถึงความใส่ใจในความยั่งยืนและเทคโนโลยีอันล้ำสมัยที่กระชังปลาแซลมอนแบบดั้งเดิมและแบบใหม่ล่าสุดใจกลางมหาสมุทรแอตแลนติก ที่เวสเตอโรลน์ เดินขึ้นเขาที่โลโฟเทน ล่าแสงเหนือสุดอลังการ และสัมผัสประสบการณ์ที่อบอุ่นหัวใจกับคนท้องถิ่นที่ได้เจอตลอดทาง สามารถรับชมคลิปเต็มได้ที่นี่

สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์

ภายในงาน นางอัสตริด เอมีเลีย เฮลเล เอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย ซึ่งเพิ่งเข้ารับตำแหน่ง ได้ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน และเชฟเทเรียร์ ออมมุนเซนต์ เจ้าของร้านอาหาร Plah และ Ahaanในกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ประจำ Live Station นำเสนอเมนูพิเศษของญาญ่าที่ผสมผสานอาหารทะเลจากนอร์เวย์กับอาหารไทยอย่างลงตัว เมนูประกอบไปด้วย ยำส้มโอแซลมอนย่างกับมะพร้าวกรอบและหอมแดงทอด แซลมอนย่างราดน้ำจิ้มซีฟู้ด ปูจักรพรรดินอร์เวย์กับน้ำจิ้มซีฟู้ดและสมุนไพร และนอร์วีเจียนซาบะเคียงด้วยมะพร้าว มะกรูด พริก และน้ำปลา

สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์

นอร์เวย์เป็นผู้ผลิตแซลมอนแอตแลนติกอันดับหนึ่งของโลกและเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่ที่สุด การประมงในนอร์เวย์ใช้ความเชี่ยวชาญที่ตั้งอยู่บนหลักจริยธรรม ชีววิทยาทางทะเล และเทคโนโลยี เพื่อรับรองความปลอดภัยด้านอาหารและสร้างความมั่นคงให้กับอนาคตของอุตสาหกรรม โดยอาศัยแนวทางการปฏิบัติที่เข้มงวด การติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด และความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอย่างยั่งยืน นอร์เวย์ใช้เม็ดเงินถึง 620 ล้านบาทจากผู้เพาะเลี้ยงปลาในแต่ละปี (นอกเหนือจากงบจากทางรัฐบาล) เพื่อลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา ด้วยประสบการณ์การเพาะเลี้ยงแซลมอนมากว่า 50 ปี ทำให้นอร์เวย์ส่งแซลมอนคุณภาพสูงไปทั่วโลกได้ภายในเวลาไม่ถึง 48 ชั่วโมงหลังจากนำปลาออกจากทะเล แซลมอนจากนอร์เวย์เป็นหนึ่งในสินค้าอาหารที่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมสูงที่สุดในโลก

สุดสัปดาห์

keyboard_arrow_up