มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม, Operation Smile Thailand, เทย่า โรเจอร์ส, ก้อย รัชวิน, คชา นนทนันท์ 

มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทย ชวนทุกคนมาร่วม “สร้างรอยยิ้ม” ให้กับเด็กๆ

Alternative Textaccount_circle
event
มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม, Operation Smile Thailand, เทย่า โรเจอร์ส, ก้อย รัชวิน, คชา นนทนันท์ 
มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม, Operation Smile Thailand, เทย่า โรเจอร์ส, ก้อย รัชวิน, คชา นนทนันท์ 

ปีใหม่ทั้งที สุดฯ อยากชวนเพื่อนๆ มาร่วมสร้างรอยยิ้มให้กับเด็กๆ ที่เกิดมาพร้อมกับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ เพื่อให้พวกเขาได้รับเขาการรักษา ไปกับมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม (Operation Smile Thailand)  

“สร้างรอยยิ้ม” ภารกิจที่ไม่สิ้นสุดของมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทย

ในแต่ละปีมีเด็กทารกในประเทศไทยประมาณ 1 ใน 700 คน ที่เกิดมาพร้อมกับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ เด็กที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะประสบปัญหาการหายใจ การดื่มนม การรับประทานอาหาร และการพูด ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการและคุณภาพชีวิตของเด็กเหล่านั้นในอนาคต ถึงแม้ว่าภาวะดังกล่าวจะสามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัด แต่ยังมีเด็กอีกจำนวนไม่น้อยจากครอบครัวในถิ่นทุรกันดาร ไม่สามารถเดินทางมายังโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการผ่าตัดได้ มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทย (Operation Smile Thailand) จึงได้เข้ามาทำหน้าที่อุดช่องว่างดังกล่าว และช่วยเหลือให้ผู้ป่วยที่ขาดโอกาสเหล่านั้นได้เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม และให้การดูแลต่อเนื่องไปจนกระทั่งหายเป็นปกติ

มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม, Operation Smile Thailand, เทย่า โรเจอร์ส, ก้อย รัชวิน, คชา นนทนันท์ 

ในปีที่ผ่านมา มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทย ได้ทำการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่จำนวน 3 ครั้ง ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน, จังหวัดบึงกาฬ และจังหวัดตาก มูลนิธิฯ ดำเนินการผ่าตัดให้กับผู้ป่วยยากไร้เป็นจำนวน 887 ครั้ง และมีผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลจากศูนย์แก้ไขความพิการบริเวณใบหน้าและศีรษะ คณะแพทยศาสตร์ จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 360 ราย โดยมูลนิธิฯ ให้การสนับสนุนอยู่

อย่างไรก็ตามการรักษาภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ไม่ได้จบเพียงแค่การผ่าตัดเท่านั้น การดูแลรักษาหลังการผ่าตัด การประเมินผลการผ่าตัดก็มีความสำคัญเช่นกัน ในบางกรณีอาจจะต้องผ่าตัดเพิ่มอีกหลายครั้ง

สำหรับปี 2562 นี้ เพื่อดำเนินการการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และเปิดรับผู้ป่วยใหม่ มูลนิธิฯนอกจากนี้ยังมีการติดตามผลทุกปีเพื่อทำการรักษาต่อเนื่อง อาทิ การทำฟัน การดูแลสุขภาพในช่องปาก และการฝึกหัดพูดเพื่อให้สามารถพูดได้เป็นปกติเหมือนคนทั่วไป การดูแลรักษาหลังผ่าตัดเหล่านี้อาจกินเวลานานถึง 10 – 20 ปี เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้งานและพูดได้เป็นปกติ

จึงได้วางแผนออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เป็นจำนวน 3 ครั้ง

  • โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในวันที่ 11 – 15 กุมภาพันธ์
  • โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ในวันที่ 9 – 13 กันยายน
  • โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก ในวันที่ 3 – 8 พฤศจิกายน

มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม, Operation Smile Thailand, เทย่า โรเจอร์ส, ก้อย รัชวิน, คชา นนทนันท์ 

ภารกิจของมูลนิธิฯ ในวันนี้จึงยังไม่สิ้นสุด ยังมีเด็กยากไร้อีกเป็นจำนวนมาที่รอคอยความช่วยเหลือ มูลนิธิฯ ยังต้องการความช่วยเหลือ และแรงสนับสนุนอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อเปลี่ยนสังคมนี้ให้ดีขึ้น ด้วยการสร้างรอยยิ้มและสร้างโอกาสให้กับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ติดตามการทำงาน

และร่วมสนับสนุนโครงการของมูลนิธิสร้างรอยยิ้มประเทศไทยได้ที่ โทรศัพท์ 02 075 2700 – 2 เว็บไซต์ www.operationsmile.or.th และเฟซบุ๊ค www.facebook.com/OperationSmileThailand/

 

ช้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่

จากการเก็บข้อมูลเพื่อการศึกษา ในทุกๆ 3 นาที ทั่วโลก มีเด็กหนึ่งคนที่เกิดมาพร้อมกับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และ เด็กที่เกิดมาพร้อมกับโรคปากแหว่งเพดานโหว่นั้นจะไม่สามารถดื่มนมแม่ หรือทานอาหารได้อย่างปกติ มีความผิดปกติทั้งในการออกเสียง และได้ยินเสียง หรือมีปัญหากับระบบการหายใจ มักเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม เด็กที่เกิดมาพร้อมโรคนี้ต้องใช้ชีวิตอย่างหลบซ่อน ถูกกีดกันจากสังคม มักจะมองตนเองไร้ค่า และหลบเลี่ยงสังคม ใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยว ในประเทศไทย มีผู้ป่วยเด็กปากแหว่งเพดานโหว่จานวนมากที่ไม่เคยได้รับโอกาสผ่าตัดแก้ไขเลยจนตลอดชีวิต

มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม, Operation Smile Thailand, เทย่า โรเจอร์ส, ก้อย รัชวิน, คชา นนทนันท์ 

สาเหตุของภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่

· สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ปรากฏแน่ชัด

· ความผิดปกติในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์

· เกิดจากความผิดปกติของยีนส์ และปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม เช่น โรคของมารดา การขาดสารอาหาร หรือยาเสพติด
สถิติ

· ในทุกๆ 3 นาที ทั่วโลก มีเด็กหนึ่งคนที่เกิดมาพร้อมกับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่

· เด็ก 1 ใน 700 ราย มีภาวะปากแหว่ง หรือเพดานโหว่ บางรายมีอาการทั้งสองอย่าง

· ในประเทศไทยโดยเฉลี่ยจะมีเด็ก 2,000 รายต่อปีที่มีภาวะปากแหว่ง หรือเพดานโหว่ ยังไม่รวมถึงชาวเขา หรือผู้ลี้ภัยที่ยังไม่ทราบจานวนแน่นอน

 

เกี่ยวกับมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม

มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม, Operation Smile Thailand, เทย่า โรเจอร์ส, ก้อย รัชวิน, คชา นนทนันท์ 

มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม (Operation Smile Foundation) เป็นองค์กรการกุศลที่ไม่แสวงหาผลกำไร มีพันธกิจในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ที่มีภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ รวมถึงแผลไฟไหม้ และความผิดปกติบนใบหน้าอื่นๆ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

สำหรับในประเทศไทย การออกหน่วยลงพื้นที่ให้การผ่าตัดครั้งแรกของมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2540 และต่อมาในปี พ.ศ. 2544 มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทย จึงได้รับการจดทะเบียนก่อตั้งเป็นองค์กรการกุศล ให้การรักษาผู้ป่วยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ที่ยากไร้ อาศัยในพื้นที่ห่างไกลทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบันมีการมอบการผ่าตัดเปลี่ยนชีวิตจากมูลนิธิสร้างรอยยิ้มไปแล้วกว่า 13,000 ครั้ง จากความอุตสาหะของคณะแพทย์ พยาบาลอาสาสมัคร และคณะทำงานอาสาสมัครของมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม

 

ข้อมูลและภาพจากมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม

 

 

สุดสัปดาห์

keyboard_arrow_up