ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ,SACICT Craft Trend 2019,retelling The detailing

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)จัดงานเปิดตัวหนังสือและแกลเลอรี่ SACICT Craft Trend 2019

Alternative Textaccount_circle
event
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ,SACICT Craft Trend 2019,retelling The detailing
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ,SACICT Craft Trend 2019,retelling The detailing

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) จัดงานเปิดตัวหนังสือและแกลเลอรี่ SACICT Craft Trend 2019 แสดงเทรนด์งานคราฟต์ภายใต้แนวคิดใหม่  Retelling the Detailing

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ,SACICT Craft Trend 2019,retelling The detailing

จากความมุ่งมั่นสืบสานวัฒนธรรมสู่แนวทางพัฒนางานหัตถกรรมในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด  ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) นำโดย คุณอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการ ขึ้นเป็นประธานในพิธีเปิดตัวหนังสือ SACICT Craft Trend 2019 พร้อมจัดแสดงนิทรรศการ โดยจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 ซึ่งได้รวบรวมเทรนด์และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่น่าสนใจ 4 เทรนด์หลัก ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและต่อยอดแนวคิดการผลิตผลงานหัตถกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

โดยมีผู้คร่ำหวอดในวงการงานหัตถกรรมและการออกแบบ คุณแสงระวี สิงหวิบูลย์ รองผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) และ คุณดำรง ลี้ไวโรจน์ บรรณาธิการบริหารนิตยสาร room มาร่วมบอกเล่าแบ่งปันประสบการณ์ถ่ายทอดความเคลื่อนไหวของงาน Craft Trend ในอนาคต พร้อมทิศทางงานออกแบบจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อนำแนวคิดไปใช้ต่อยอดด้านการออกแบบได้อย่างตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้นซึ่งได้มีการจัดงานเปิดตัวหนังสือและแกลเลอรี่อย่างเป็นทางการ เมื่อวันอังคารที่18 กันยายน 2561 ณ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ,SACICT Craft Trend 2019

คุณอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ(องค์การมหาชน) กล่าวว่า “งานศิลปหัตถกรรมมีแนวโน้มได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นสาขาที่กำลังเป็นที่สนใจของคนทั่วโลกซึ่งงานศิลปหัตถกรรมได้เข้าไปอยู่ในไลฟ์สไตล์และเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเทรนด์จึงเป็นแนวโน้มการพัฒนาของโลกและสะท้อนมาถึงงานศิลปหัตถกรรม กระบวนการผลิต,วัตถุดิบการนำเสนอผลิตภัณฑ์ หรือการนำมาใช้งานผลิตภัณฑ์ จึงเป็นที่มาของเทรนด์โดยทาง SACICT ดำเนินการมาปีนี้เป็นปีที่ 5 แล้ว โดยจะพยายามให้เทรนด์เหล่านั้นเข้ามาอยู่เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานโดยนำมาใช้ประโยชน์เพื่อให้เป็นการพัฒนางานศิลปะหัตถกรรมและต่อยอดสืบไป

ซึ่งเทรนด์ต่างๆ นั้นมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นทางเราจึงมีนโยบายการศึกษาวิจัยตลาดมากขึ้นทำ Trend Talk, Guru panel และ ศึกษาแนวโน้มของต่างประเทศอีกด้วย เรามีมุมมองในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบ, นักการตลาด, ผู้ใช้งานผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆที่เข้ามามีส่วนร่วมกับ SACICT ในแต่ละปีก็จะมีความหลากหลายมากขึ้น ช่วยสะท้อนถึงแง่มุมต่างๆในการกำหนดเทรนด์ได้มากขึ้น”

นางอัมพวัน พิชาลัย,ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ,SACICT Craft Trend 2019

สำหรับเทรนด์งานคราฟต์ได้ถูกถ่ายทอดจากในหนังสือสู่การจัดแสดงนิทรรศการใน Innovative Craft Gallery โดยแบ่งออกเป็น 4 เทรนด์ ได้แก่ Retelling the detailing, Tropical Dream, Righteous Crafts และ Surreal Hospitality ซึ่งได้รวบรวมชิ้นงานหัตถกรรมจากเหล่าดีไซน์เนอร์ไทยอันทรงคุณค่า ที่สืบทอดมาจากภูมิปัญญาพื้นบ้านนำมาต่อยอดเป็นชิ้นงานอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่น และตอบโจทย์ผู้บริโภคในปี 2019

โดยสำหรับเทรนด์แรกซึ่งเป็นหัวใจหลักของงาน คือ Retelling the Detailing การนำเสนอที่มาที่ไปของสินค้าหัตถกรรมด้วยการ “เล่าเรื่อง” ที่เน้นการตอกย้ำถึงคุณค่าผลิตภัณฑ์ นำเสนอเรื่องราวเชิงลึกในรายละเอียดซึ่งมีอยู่ในขั้นตอนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่าประวัติศาสตร์ของแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ หรือชุมชน ต่อยอดจากผลิตภัณฑ์เดิมให้มีเรื่องราวเพิ่มขึ้น โดยในนิทรรศการคุณจะได้พบกับผลิตภัณฑ์น่าสนใจจากเทรนด์นี้อาทิ ม้านั่งไม้ ผลงาน Thinkk Studio และกลุ่มแกะสลักบ้านตองกาย จังหวัดเชียงใหม่ จากโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไทยนวัต-ศิลป์ SACICT เก้าอี้พลาสติกหุ้มเศษผ้าเก่าของ ภาสุรี วิรัชวิบูลย์กิจ หรือหูฟังตกแต่งลายเบญจรงค์ การนำบริบทของเบญจรงค์ในรูปแบบที่แปลกใหม่ ใช้ในชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น โดยคุณกฤษณ์ พุฒพิมพ์ และคุณบุญญารัตน์ เบญจรงค์จากโครงการพัฒนาอัตลักษณ์เบญจรงค์ไทยSACICT

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ,SACICT Craft Trend 2019,retelling The detailing

ต่อด้วยเทรนด์ที่สอง ตอบโจทย์ชีวิตผู้คนเมืองใหญ่ที่ห่วงใยสิ่งแวดล้อม กับ Tropical Dream คือ การนำความเป็นธรรมชาติ มาทำให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันด้วยการจำลองบรรยากาศความเขียวไว้ในบ้าน หรือที่ ทำงานรวมถึงการสร้างสรรค์กิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการช่วยเติมความสดชื่นให้กับจิตวิญญาณของคนเมือง ผ่านการหยิบชิ้นงานของตกแต่งบ้านชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ใช้ “ไม้”และเส้นใยธรรมชาติเป็นวัสดุหลัก อาทิ เก้าอี้สตูลจากไม้ไผ่ขด เส้นสายจากธรรมชาติที่นำไปสู่รูปทรงและลวดลายที่โดดเด่น โดย Plural Designs และชุมชนงานไม้ไผ่ขด บ้านศรีปันครัว จังหวัดเชียงใหม่ จากโครงการไทยนวัตศิลป์ SACICT ร่วมด้วยการใช้รูปทรงรูปลักษณ์และลวดลายของธรรมชาติมาใช้ได้อย่างลงตัว

เทรนด์ที่สาม Righteous Crafts คือความพิถีพิถันในการพิจารณาว่าสินค้านั้น ๆ มีความถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมหรือสังคมอย่างไรหรือไม่ เป็นการหันไปมอง “ที่มาที่ไป” ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมของสินค้าแต่ละชิ้น การออกแบบที่นึกถึงวัฒนธรรมแบบบริโภคนิยม การไม่ใช้วัสดุแบบทิ้งขว้างจึงขยายวงกว้างในการออกแบบอย่างหยั่งลึก

เห็นได้จากผลงานตะกร้าใส่ของ ผลิตภัณฑ์งานจักสานจากเนื้อไผ่และผิวไผ่ ออกแบบ: Plural Designs และกลุ่มจักสานไม้ไผ่ บ้านก๋ายน้อย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จากโครงการไทยนวัตศิลป์ SACICT ที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการ เรียกได้ว่าเป็นการคิดค้นกระบวนการผลิตที่ไม่รบกวนสิ่งแวดล้อม หรือเลือกใช้วัสดุทางเลือกรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นมาใช้ทดแทน รวมถึงการคืนประโยชน์ให้แก่ชุมชนหรือเจ้าของวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นการคืนรายได้ให้ชุมชน และพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับเจ้าของภูมิปัญญาอย่างใกล้ชิดอีกด้วย

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ,SACICT Craft Trend 2019,retelling The detailing

สุดท้ายกับเทรนด์ที่เกี่ยวพันกับธุรกิจการท่องเที่ยว Surreal Hospitality  คือ พูดถึงการออกแบบตกแต่งสถานที่ต่างๆ ในรูปแบบที่จะสามารถสร้างความประทับใจจนเกิดการแชร์และบอกต่อได้ ซึ่งเป็นผลจากพฤติกรรมส่วนหนึ่งจากกลุ่มเจเนอเรชั่นY โดยเป็นกลุ่มที่น่าจับตาทั้งในฐานะผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวที่มีผลต่อธุรกิจท่องเที่ยวอย่างมหาศาล ดังนั้นการออกแบบในพื้นที่เหล่านั้นจึงเป็นโอกาสให้เกิดงานคราฟต์พื้นถิ่นสุดวิจิตรที่จะได้รับการประยุกต์ให้ร่วมสมัยตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายนี้ได้เป็นอย่างดีมากขึ้น

ดังเช่น ผลงานการออกแบบของคุณกฤษณะลักษณ์  ภัครกุทวี หยิบเอาเสื่อกก มาออกแบบให้เป็นชิ้นส่วนประดับตกแต่งผนัง เพิ่มมูลค่าให้แก่สิ่งที่ดูคุ้นตาสะดุดใจ ประกอบกับการใช้วิธีออกแบบเป็นชิ้นส่วนโมดูลาร์ เพื่อให้ถอดประกอบปรับเปลี่ยนรูปทรงได้ง่าย เป็นหนึ่งในผลงานจากการประกวด Innovative Craft Award 2018ซึ่งได้นำมาจัดแสดงนิทรรศการในครั้งนี้อีกด้วย

สำหรับผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2561 เป็นต้นไป ณ Innovative Craft Gallery ชั้น 2 อาคารศาลาพระมิ่งมงคล ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  www.sacict.or.th หรือติดตามข่าวสารที่ www.facebook.com/sacict/

สุดสัปดาห์

keyboard_arrow_up