รวมภาพและเรื่องประทับใจ ในหลวง ร.9 กับบทบาท ‘พ่อ’ ของลูก

Alternative Textaccount_circle
event

5 ธันวาคม ของทุกปี ถือเป็นวันสำคัญของชาติไทย คือ 1. เป็นวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร 2. วันชาติ  3. วันพ่อแห่งชาติ และ  4. วันดินโลก ในโอกาสนี้สุดสัปดาห์ ขอรวมภาพและเรื่องราวสุดประทับใจของ ในหลวง รัชกาลที่9 ในบทบาทของ “พ่อ” เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในโอกาสวันพ่อแห่งชาติ

ในหลวง รัชกาลที่9 พ่อแห่งแผ่นดินของไทยทุกคน

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ หรือ ในหลวง รัชกาลที่9 ของปวงชนชาวไทย เสด็จพระราชสมภพ ในราชสกุลมหิดลอันเป็นสายหนึ่งในราชวงศ์จักรี ณ โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ อันเป็นที่ซึ่งพระบรมราชชนก และพระบรมราชชนนี กำลังทรงศึกษาวิชาการอยู่ เมื่อวันจันทร์ ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระโอรสองค์ที่ 3 ในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก  ในกาลต่อมา) และหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ตะละภัฎ, สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในกาลต่อมา) มีพระนามเมื่อแรกประสูติ อันปรากฏในสูติบัตรว่า เบบี สงขลา (อังกฤษ: Baby Songkla) ต่อมาคือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช เมื่อได้รับพระราชทานนาม พระองค์มีพระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า “เล็ก”

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เปี่ยมล้นไปด้วยพระปรีชาสามารถ และมีพระเมตตาแผ่ไพศาลทั่วแผ่นดินไทย ทรงเปรียบเสมือน “พ่อแห่งแผ่นดิน” ของพสกนิกรไทย  และในมุมส่วนพระองค์ บทบาทของความเป็น “พ่อ” ก็ทรงเป็น พระราชบิดาของพระราชโอรส และพระราชธิดา ทั้ง 4 พระองค์ ที่น่ารัก และอบอุ่น แม้จะทรงมีภารกิจน้อยใหญ่มากมาย แต่หน้าที่ความเป็นพ่อของพระองค์ ก็ทรงมิได้ขาดตกบกพร่องเลย ทรงเป็นต้นแบบของ “พ่อ” และ “หัวหน้าครอบครัว” ให้กับพสกนิกรชาวไทยอย่างแท้จริง

ในหลวง รัชกาลที่9

ในหลวง ร.9 ในหลวง รัชกาลที่9

ทูลกระหม่อมชายของทูลกระหม่อมพ่อ

มีการบันทึกไว้ในหนังสือ “สี่เจ้าฟ้า” ฉบับเรียบเรียงใหม่โดย  ลาวัณย์ โชตามระ กล่าวไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ในขณะนั้น ทรงเป็นทูลกระหม่อมเจ้าฟ้า เพียงพระองค์เดียวใน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงไม่มี “ชื่อเล่น” เหมือนสมเด็จพระเชษฐภคินีหรือพระขนิษฐาอีก 3 พระองค์ อาจจะเพราะทรงเป็น “ทูลกระหม่อมชาย” เพียงพระองค์เดียว คำว่า “ชาย” จึงเป็นเสมือนชื่อที่ใช้แทนพระองค์

ในหลวง รัชกาลที่9

ด้านการศึกษาของทูลกระหม่อมฟ้าชายนั้น เริ่มตั้งแต่พระชนมายุได้ 5 พรรษา ทูลกระหม่อมพ่อและสมเด็จแม่ได้โปรดเกล้าฯ ให้ดัดแปลงชั้นล่างของพระที่นั่งอุดรในพระราชวังดุสิตเป็นห้องเรียน เมื่อทรงย้ายมาประทับที่พระตำหนักจิตรลดาฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียนขึ้นในพระราชฐานด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อที่จะได้ทรงดูแลการศึกษาของทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าทุกพระองค์ได้อย่างใกล้ชิด พระราชทานชื่อว่า “โรงเรียนจิตรลดา” เป็นโรงเรียนราษฎร์ที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และจะเปิดสอนชั้นสูงขึ้นไปเรื่อยๆ โดยใช้หลักสูตรการเรียนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ภายในบริเวณที่พ้นจากเสียงรบกวนจากภายนอก มีสนามสำหรับวิ่งเล่น มีห้องเรียนที่พอเหมาะกับจำนวนนักเรียน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเคยมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับโรงเรียนจิตรลดาความว่า “…โรงเรียนอะไรก็ไม่ดี เพราะครูๆ อาจตามใจลูกๆ ฉัน … ดังนั้นเราจึงตั้งโรงเรียนขึ้นในวัง สอนพวกลูกข้าราชการ และคนที่ทำงานอยู่ในบริเวณนั้น…” (ถอดความจากหนังสือ “ความรักของพ่อ”)

สำหรับนักเรียนในโรงเรียนจิตรลดา นอกจากทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าแต่ละพระองค์แล้ว ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุตรธิดาของข้าราชบริพาร ซึ่งมีอายุวัยเดียวกันได้เข้าร่วมศึกษาด้วย เพื่อให้ทูลกระหม่อมทุกพระองค์ได้มีพระสหายเป็นบุคคลสามัญ โรงเรียนจิตรลดาเริ่มเรียนตั้งแต่เวลา 09.00 น. หยุดพักกลางวัน และเริ่มเรียนในภาคบ่ายอีกครั้งจนถึงเวลา 15.55 น.

ในหลวง รัชกาลที่9 ในหลวง รัชกาลที่9 ในหลวง รัชกาลที่9

ในหนังสือ “สี่เจ้าฟ้า” ระบุด้วยว่า ทุกวัน ทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าชายจะตื่นบรรทมแต่เช้า เวลาประมาณ 7 นาฬิกา เมื่อเสร็จธุระส่วนพระองค์แล้ว จะเสด็จลงเพื่อออกกำลังกลางแจ้ง เช่นเดียวกับเด็กธรรมดาทั่วไป มีวิ่งเล่นบ้าง ซ่อนหาบ้าง และยังได้กล่าวถึงการอบรมเลี้ยงดู สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ของทูลกระหม่อมพ่อและสมเด็จแม่ไว้ว่า “เมื่อเสด็จกลับจากโรงเรียนแล้ว ก่อนจะเสด็จเข้าบรรทมตอนหัวค่ำ ทูลกระหม่อมฟ้าชายจะต้องเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อรับพระบรมราโชวาท และทรงสวดมนต์ก่อน”

นอกจากนั้น ยังทรงเน้นเรื่องวินัยในชีวิตประจำวันเป็นอย่างยิ่ง ทรงเคยตกลงวินัยใดไว้ จะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยทรงอนุญาตให้ทูลกระหม่อมทุกพระองค์ ทอดพระเนตรโทรทัศน์ได้เฉพาะวันหยุดเรียน และหากบรรทมน้อยกว่า 9 ชั่วโมง ก็จะไม่ได้ทอดพระเนตร และเวลาทอดพระเนตรโทรทัศน์ต้องมีสมุด ดินสอ ดินน้ำมัน หรืองานเล็กๆ ใดๆ ใกล้พระหัตถ์เสมอ เพราะโปรดให้ทรงขยัน ไม่ให้เกียจคร้านนิ่งเฉย โปรดให้ทรงหางานทำไว้เสมอ แม้จะเป็นงานเล็กน้อยก็ตาม

ในช่วงวันหยุดทูลกระหม่อมพ่อ และสมเด็จแม่มีพระราชประสงค์ ให้ทูลกระหม่อมทุกพระองค์เสด็จออกกลางแจ้ง เพื่อให้ได้รับอากาศและแสงแดดให้มากที่สุด และให้ออกพระกำลัง เช่น ทรงฟุตบอลหรือว่ายน้ำจนถึงเวลาเสวย เมื่อทรงพระเจริญวัยขึ้น นับวันทูลกระหม่อมฟ้าชายโปรดเล่นเครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ อย่างเด็กผู้ชายทั้งหลาย เช่น รถยนต์ เครื่องบิน รถถัง เรือ โปรดทอดพระเนตรหนังสือต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการช่าง การก่อสร้าง และมีพระนิสัยใฝ่รู้ เมื่อทรงสงสัยสิ่งใด ก็จะทรงตั้งปัญหาถาม และจะทรงถามจนกระทั่งได้รับคำอธิบายเป็นที่พอพระทัย

ในหลวง รัชกาลที่9 ในหลวง รัชกาลที่9

ในหลวง รัชกาลที่9

ความคิดถึงลูก เมื่ออยู่ห่างไกล

เรื่องเล่าจาก หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา ผู้ซึ่งเคยถวายงานฯ ถึงความห่วงหาอาทรในพระราชโอรสของทูลกระหม่อมพ่อ ระบุว่า เมื่อหลายสิบปีก่อน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องเสด็จไปทรงศึกษาต่อต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชหฤทัยระลึกถึงพระราชโอรสเป็นอย่างยิ่ง วันหนึ่ง หม่อมดุษฎี ได้เข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ ในเวลานั้นเป็นช่วงที่ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่ต่างประเทศ ก่อนร่วมโต๊ะเสวย หม่อมดุษฎี ได้รับการกำชับจาก ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ว่า “ห้ามพูดถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ นะ เพราะพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหฤทัยระลึกถึงพระราชโอรสมาก และคงไม่โปรดให้ใครพูดถึงเพื่อจะได้ลืม และคลายความคิดถึงบ้าง”

แต่เมื่อหม่อมดุษฎี เดินไปนั่งที่โต๊ะเสวย ยังไม่ทันได้นั่งที่เก้าอี้ดี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ก็มีพระราชกระแสรับสั่งถึงทูลกระหม่อมฟ้าชายอย่างยืดยาวติดต่อกัน โดยไม่มีช่องว่างให้หม่อมดุษฎี กราบทูลอะไรเลย กลายเป็นพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่คิดถึงพระราชโอรสจนอดที่จะตรัสถึงไม่ได้

ในหลวง รัชกาลที่9

ในหลวง รัชกาลที่9
ในหลวง รัชกาลที่9 ทรงป้อนพระกระยาหารแด่เจ้าฟ้าชาย เป็นภาพที่น่าประทับใจยิ่งนัก

 

ในหลวง รัชกาลที่9

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดูแลฉลองพระองค์ถวาย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในงานพระราชทานเลี้ยง โอกาสที่นายจอร์จ ดับเบิล ยู บุช และภริยา ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

สลาตันของพ่อ 

เมื่อครั้งทรงเป็นทารกน้อย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไม่โปรดบรรทม และบรรทมยากเป็นอย่างยิ่ง เพราะทรงต้องเสวยพระเกษียรธารา (น้ำนม) ของสมเด็จแม่ ไม่สามารถเสวยนมผงได้เลย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงทรงมาช่วยกล่อมให้บรรทม โดยที่พระองค์จะอุ้มกรมสมเด็จพระเทพฯ ไว้ในอ้อมพระกรข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งทรงอิเล็คโทนเพลงพระราชนิพนธ์ Lullaby แล้วทูลกระหม่อมน้อยก็ทรงหลับไป เหตุการณ์นี้ แสดงถึงความใส่พระราชหฤทัยแก่พระราชธิดาองค์น้อย และแบ่งเบาภาระของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นอย่างยิ่ง ส่วน “สลาตัน” เป็นฉายาที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่ กรมสมเด็จพระเทพฯ ด้วยเพราะเมื่อครั้งพระเยาว์ ทรงวิ่งเร็วและซนมาก

ในหลวง รัชกาลที่9

คลิปพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้ง 4 พระองค์ วิ่งเข้ามากระโดดกอดทูลกระหม่อมพ่อ และสมเด็จแม่ สังเกตว่า กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงวิ่งเร็วอย่างที่ ในหลวง รัชกาลที่9  ตรัสจริงๆ

 

พ่อก็อยากรู้เหมือนกัน

เมื่อครั้ง กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุ 8 พรรษานั้น ได้เคยทูลถามพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ว่า ข้าวสาร 1 กระสอบมีกี่เม็ด พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงอธิบายว่า .. ข้าวสาร 1 กระสอบมีน้ำหนัก 100 กิโลกรัม กิโลกรัมหนึ่งมีเครื่องชั่งวัดได้ 10 ขีด ดังนั้น ก็เอาภาชนะไปตวงข้าวสารมาชั่งได้ 1 ขีด แล้วก็นับข้าวสารที่ตวงมานั้นมีกี่เม็ด แล้วก็เอา 10 คูณ เสร็จแล้วเอา 100 คูณ ผลลัพธ์อีกทีก็จะได้จำนวนเม็ดข้าวใน 1 กระสอบ

กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทูลว่า “ไม่อยากรู้แล้ว” พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงสอนว่า “ไม่ได้หรอก หากถามก็แสดงว่าอยากรู้ ดังนั้นจงไปหาข้าวสารมาตวง และนับเสีย เมื่อได้ผลเป็นอย่างไร ให้มาบอกด้วยว่าข้าวสารหนึ่งกระสอบมีกี่เม็ด เพราะว่าก็อยากรู้เหมือนกัน”

ในหลวง รัชกาลที่9

วันสำเร็จของลูก

15 กรกฎาคม 2520 กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับพระราชทานปริญญาบัตร จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในวันนั้นพระองค์ท่านได้ทรงถามกรมสมเด็จพระเทพฯ ว่า พ่อแม่เขาต้องถ่ายรูปวันที่สำเร็จการศึกษาใช่ไหม เขาไปถ่ายที่ไหน พาเราไปสิ” จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปทรง “ฉายพระรูป” กับองค์บัณฑิตใหม่ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชวงศ์ และพระประยูรญาติ เช่นเดียวกับครอบครัวของบัณฑิตอื่นๆ

ในหลวง รัชกาลที่9 ในหลวง รัชกาลที่9

ในหลวง รัชกาลที่9

ในหลวง รัชกาลที่9

ในหลวง รัชกาลที่9

 

อ่านเรื่องราวประทับใจได้ที่หน้าถัดไป

สุดสัปดาห์

keyboard_arrow_up