รวมภาพ ในหลวง ทรงฉลองพระองค์ชุดลำลอง #ดูเมื่อไรคิดถึงพ่อเมื่อนั้น

Alternative Textaccount_circle
event

ในหลวง ทรงฉลองพระองค์ชุดลำลอง #ดูเมื่อไรคิดถึงพ่อเมื่อนั้น

 

ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็น ในหลวง ทรงฉลองพระองค์ชุดลำลองกับพระอิริยาบถผ่อนคลาย สุดสัปดาห์ จึงรวบรวมภาพที่แสนประทับใจนี้มาให้พี่น้องชาวไทยได้เก็บไว้ในความทรงจำอีกครั้ง

หลังจากที่เราได้หาข้อมูลเกี่ยวกับ ฉลองพระองค์ชุดลำลอง ก็ได้ไปสะดุดกับข้อมูลจากหนังสือ “70ปีรักแท้ ในหลวงและพระราชินี” ได้บันทึกถึงเรื่องราวของฉลองพระองค์ไว้ว่า …

ในหลวง

“ฉลองพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแบ่งเป็น 3 แบบ แบบแรกคือ ชุดข้าราชการขาวเต็มยศ ขาวปกติ ชุดทหารปกติ และฉลองพระองค์ชุดทหารมหาดเล็ก แบบที่สองคือ ชุดสากลชุดเบลเซอร์ หรือชุดสปอร์ตแจ๊กเก็ต และแบบที่สามคือ ชุดทรงสบาย”

“สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงดูแลฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยพระองค์เอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งฉลองพระองค์ใน ชุดทรงสบาย หรือชุดลำลอง ที่หมายรวมถึง รองพระบาทถุงพระบาทรัดพระองค์ (เข็มขัด) และเนกไท ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงดูแลด้วยพระองค์เองเสมอมา สำหรับฉลองพระองค์ชุดทรงสบายนั้นแต่เดิมในหลวงจะทรงเชิ้ตสีขาวเรียบเป็นประจำเพียงสีเดียว”

ในหลวงในหลวง

“ภายหลังสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถถวายคำแนะนำให้ทรงเปลี่ยนมาทรงสีฉูดฉาดบ้าง ทำให้ปรากฏพระบรมฉายาลักษณ์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์เชิ้ตใหม่ ซึ่งมีลวดลายและสีสันสดใส เช่น พระบรมฉายาลักษณ์ที่ทรงฉายกับ “คุณทองแดง” และครอบครัวของ “คุณทองแดง” (ซึ่งทรงเรียกว่า “พวกเด็กๆ”) อันเป็นฉลองพระองค์ทรงสบาย ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเลือกด้วยพระองค์เอง เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินยังประเทศอังกฤษฝรั่งเศสและอิตาลี”

ในหลวง

ในหลวง ในหลวง  “ฉลองพระองค์ทั้งหมด ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวตัดถวายโดยร้านตัดเสื้อ “ยูไลย” ในซอยศาลาแดงถนนสีลม โดยหากฉลองพระองค์นั้นมาจากต่างประเทศ ร้านตัดเสื้อยูไลยก็จะถวายงานแก้ไขให้ลงตัว และในบางโอกาสสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ ม.ร.ว.ยงสวาท กฤดากร กับม.ล.ปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี
ช่วยถวายงาน เกี่ยวกับฉลองพระองค์ในหลวงที่ต้องพระประสงค์ด้วย”

ในหลวง“นอกจากนี้ ในส่วนฉลองพระองค์ชุดลำลองนั้น แต่เดิมโปรดให้กรมวังชั้นผู้ใหญ่ชื่อ ชูพาสน์ ชูโต จัดถวาย แต่เมื่อกรมวังท่านนั้นถึงแก่อนิจกรรม การถวายงานนี้จึงเป็นหน้าที่ของ พล.ต. ท่านผู้หญิงอภิรดี ยิ่งเจริญ (บุตรีของ พล.ต. พระยาเสนีณรงค์ฤทธิ์ (มล.เล็ก สนิทวงศ์) ซึ่งทั้งหมดนี้ อยู่ภายใต้การดูแลของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเช่นเดียวกัน”

ดังที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัย กีฬาเรือใบ เป็นพิเศษ ทรงออกแบบเรือใบขึ้นประเภทหนึ่ง พระราชทานชื่อว่า เรือมด และทรงจดลิขสิทธิ์ที่ประเทศอังกฤษ เป็นประเภท INTERNATIONAL MOTH CLASS ต่อมา ทรงพัฒนาเรือแบบมดขึ้นมาใหม่ โดยได้พระราชทานชื่อว่าเรือใบ “ซูเปอร์มด” และเรือใบ “ไมโครมด” ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในกลุ่มนักแล่นเรือใบ

ในหลวงยามพระองค์ทรงเล่นเรือใบ ในหลวงรัชกาลที่9 จะทรงฉลองพระองค์ลำลอง ในชุดเสื้อเชิ้ตแขนสั้นสีสันสดใส และกางเกงขาสั้น เพื่อความคล่องตัวในการกีฬา พระองค์ทรงลงแข่งขันเรือใบในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อปี พ.ศ.2510 และ ด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงได้รับชัยชนะเหรียญทอง ร่วมกับ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตนราชกัญญาฯ ในเรือใบประเภทโอเค และมีการมอบเหรียญรางวัล ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510

ในหลวง  ในหลวง ในหลวง

ขอน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ และถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ดุจฤทัย ศานติวงศ์สกุล ผู้เรียบเรียง

 

ติดตาม เรื่องราวของพ่อหลวงเพิ่มเติม

สุดสัปดาห์

keyboard_arrow_up