หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แค่บ้วนปากก็เป็นได้จริงหรือ??

Alternative Textaccount_circle
event

เพิ่งมีข่าวว่าคุณแม่ของ ญาญ่า-อุรัสยา ป่วยเป็น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ที่สำคัญคือมีคนดังหลายคนเป็นโรคนี้ ไม่ว่าจะอายุมากหรือน้อย จึงเป็นโรคที่เราควรตระหนักได้ว่าอาจจะเกิดขึ้นกับเราโดยไม่รู้ตัวก็ได้ สุดฯ เลยอยากนำเรื่องราวมาเป็นอุทาหรณ์กัน

 

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

 

มาพูดถึง คุณแม่ปลา ของสาว ญาญ่า ก่อน เหตุขึ้นเพราะคุณแม่แปรงฟันแล้วบ้วนปากผิดท่า (คาดเดาว่าอาจจะเป็นตอนที่กลั้วคอ แล้วก้มลงบ้วนปาก) ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังแตกไปทับเส้นประสาท จึงทำให้ต้องทำกายภาพบำบัดและรอคิวผ่าตัด ซึ่งอาการของคุณแม่ปลาก็ดีขึ้นแล้ว แต่สาวญ่ายังอดห่วงไม่ได้ ตอนนี้คนที่คอยดูแลสาวญ่าตามงานต่างๆ จึงเป็นพี่สาว แคทเธอรีน มารับไม้ต่อชั่วคราว ยังไงก็ขอให้การผ่าตัดผ่านพ้นไปได้ด้วยดี อาการดีขึ้นเร็วๆ นะคะ

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

นิโคล เทริโอ เพิ่งเข้าผ่าตัดจากอาการหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทเมื่อไม่กี่เดือนก่อนนี่เอง เหตุเพราะไปเล่นฟิตเนสแล้วบังเอิญมีคนวิ่งมากระแทกอย่างแรง ส่งผลให้เวลาที่เงยหน้าจะมีอาการชาที่แขนด้านขวา แต่ตอนนั้นคิดว่าไม่เป็นอะไรมาก แต่หลังจากเป็นประมาณ 1 เดือนแล้วยังไม่หายดี ก็เลยตัดสินใจไปหาหมอ แล้วปรากฏว่า หมอนรองกระดูกอักเสบ ทำให้กระดูกบริเวณคอ และกระดูกสันหลังแตกหักไปกดทับเส้นประสาท เธอจึงต้องผ่าตัดเอากระดูกที่แตกออกแล้วใส่เหล็กไทเทเนียมเข้าไปแทน

เนสท์-นิศาชล หรือ เนส AF9 เคยมีอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจนต้องเข้ารับการกายภาพบำบัดเมื่อปี 2558 เธอบอกว่าเธอเคยเป็นโรคนี้อยู่แล้วและไม่หายขาด แต่ที่มากำเริบน่าจะเพราะเธอใส่ส้นสูงทั้งวันและขับรถด้วย แล้ววันต่อมาเธอก็ไปออกกำลังกาย ซึ่งหลังจากออกกำลังกายเธอก็มีอาการปวดหลังและก้มไม่ได้ เมื่อตรวจอย่างละเอียดจึงพบว่าเป็นหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท ทำเอาแฟนคลับตกอกตกใจกันป็นแถว

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท


 

พฤติกรรมเสี่ยงเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  • ก้มๆ เงยๆ บ่อย หรือมากเกินไป
  • ยกของหนักซ้ำๆ หรือท่าเดิมๆ เป็นประจำ
  • ทำงานในบริวเณที่ต้องมีการสั่นสะเทือนบ่อยๆ เช่น งานก่อสร้าง
  • ผู้ที่น้ำหนักตัวมาก
  • อยู่ท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานเกินไป เช่น คนทำงานหน้าคอมพิวเตอร์

อาการเป็นยังไง

  • ปวดจี๊ดๆ เหมือนไฟฟ้าช็อต บริเวณเอว คอ อก หรือหลังช่วงล่าง เป็นๆ หายๆ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ขึ้นไป
  • มีอาการชาบริเวณที่ปวดร่วมด้วย
  • รู้สึกว่า คอ เอว หรือหลังช่วงล่างไม่มีแรง ขยับลำบาก
  • กล้ามเนื้อบริเวณคอ หลัง เอว อก ต้นขา น่อง หรือหลังเท้าอ่อนแรง

ป้องกันได้ยังไงบ้าง

  • ไม่ยกของหนักหรือยกของท่าเดิมมากเกินไป
  • เปลี่ยนอิริยาบถในการทำงานทุก 2-3 ชั่วโมง
  • หมั่นออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องแข็งแรง
  • ระมัดระวังการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น อย่าทำอะไรที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่หลัง

 

ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th , www.nineentertain.tv , www.daradaily.com , กรมการแพทย์, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพจาก Instagram : @urassayas , @happiinest , @nicolenicole23 และ fit4lifetampa.com

 

เรื่องราวที่น่าสนใจอื่นๆ

ปวดกล้ามเนื้อ อย่านิ่งนอนใจ เพราะอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ เหมือนเคส จอย-รินลณี

ไทรอยด์ โรคร้ายที่รักษาได้ ดาราคนไหนเป็นไทรอยด์บางนะ?

แค่เป็นหวัดก็หูหนวกได้!! บทเรียนจาก อายูมิ ฮามาซากิ

สุดสัปดาห์

keyboard_arrow_up