2 นิยายดังของนักเขียนพูลิตเซอร์ ฮาร์เปอร์ ลี

Alternative Textaccount_circle
event

            เวลาเข้าไปดูประวัติของนักเขียนระดับ
โลก เรามักจะพบกับลิสต์รายชื่อหนังสือที่พวกเขาเขียนนับสิบๆ เล่ม
แต่นั่นไม่ใช่ ฮาร์เปอร์ ลี เพราะเธอมี
ผลงานตีพิมพ์เพียง 2 เล่มในตลอดชั่วชีวิต คือ To Kill a Mockingbird และ Go Set a Watchman โดยเล่มแรกกับเล่มสุดท้าย
ตีพิมพ์ห่างกันถึง 55 ปี!

ฮาร์เปอร์ลีเป็นนามปากกาของเนลล์ฮาร์เปอร์ลีเธอเกิดเมื่อวันที่28เมษายน1926ซึ่งเป็นยุคที่คนผิวดำในสหรัฐอเมริกายังคงไม่ได้รับสิทธิ์เท่าเทียมกับคนผิวขาวและถูกมองว่าเป็นพลเมืองชั้นสองในสังคมโดยเฉพาะในรัฐทางใต้ที่ฮาร์เปอร์เติบโตขึ้นมาพ่อของฮาร์เปอร์เป็นทนาย-ความและนักหนังสือพิมพ์ซึ่งน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้เธอไม่น้อยเพราะฮาร์เปอร์เข้าเรียนวิชากฎหมายพร้อมกับเป็นนักข่าวให้หนังสือพิมพ์ของมหาวิทยาลัยด้วยแต่เธอก็ออกจากมหาวิทยาลัยก่อนจะเรียนจบเพื่อไปล่าความฝันที่จะเป็นนักเขียน

ฮาร์เปอร์ ลี

เธอย้ายไปอยู่นิวยอร์ก ทำงานเป็นพนักงานขายตั๋ว
เครื่องบินเพื่อเลี้ยงชีพ และเขียนหนังสือเมื่อมีเวลาว่าง
เพื่อนๆ หลายคนเห็นถึงความมุ่งมั่นจึงลงขันกันเป็นเงินก้อนโตเท่ากับเงินเดือนของฮาร์เปอร์ทั้งปีแล้วมอบให้เธอ
เป็นของขวัญ เพื่อที่ฮาร์เปอร์จะได้ลาออกจากงานมา
เขียนหนังสืออย่างเต็มที่ ซึ่งฮาร์เปอร์ก็ทำได้สำเร็จอย่างที่เพื่อนๆ คาดหวัง เธอเขียนต้นฉบับนิยายเรื่อง GoSetaWatchman ออกมาเสร็จเรียบร้อย และมีสำนักพิมพ์ให้
ความสนใจ แต่หนังสือเล่มนั้นก็ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ทันที เพราะบรรณาธิการต้องการให้เธอแก้ไขต้นฉบับในหลายจุด ซึ่งต้องใช้เวลาอีก 2 ปีกว่าที่หนังสือจะถูกตีพิมพ์ และฮาร์เปอร์ก็ได้เปลี่ยนชื่อหนังสือเป็น ToKillaMockingbird ซึ่งทางสำนักพิมพ์ให้เธอเตรียมใจ
เพราะหนังสือน่าจะขายได้เพียงไม่กี่พันเล่ม

แต่พระเจ้า! ToKillaMockingbird ได้รับเสียงตอบรับที่ดี และได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ ส่วนยอดขายก็อยู่
ในระดับเบสต์เซลเลอร์ จนตอนนี้ก็ยังตีพิมพ์ซ้ำอย่าง
สม่ำเสมอกว่า 40 ภาษา และมียอดขายรวมกว่า 40 ล้าน
เล่ม พร้อมถูกจัดให้เป็นหนึ่งในวรรณกรรมร่วมสมัยที่ดีที่สุด
ตลอดกาล

นอกจากนี้ ToKillaMockingbird
 ยังถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ในปี
1962 ซึ่งก็ทำเงินและกวาดรางวัล
ไปได้มากมาย แต่ฮาร์เปอร์กลับ
ไม่เคยตีพิมพ์ผลงานเล่มใหม่อีกเลย
เธอแทบไม่เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อ
หรือในตอนที่มหาวิทยาลัยต่างๆ 
มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ให้ แต่เธอก็ไม่เคยไปกล่าวปาฐกถาใน
งานรับปริญญาเลยสักครั้ง

แฟนหนังสือต้องรอถึง 55 ปี
กว่าที่ฮาร์เปอร์จะออกนิยายเล่มที่
สองในชีวิต นั่นคือต้นฉบับ GoSet aWatchman ที่ในที่สุดก็ได้รับการ
ตีพิมพ์เมื่อปี 2015

GoSetaWatchman มีเนื้อเรื่องที่ต่อเนื่องจาก ToKillaMockingbird เมื่อจีน ฟินช์ ลูกสาวของแอตติกัสที่
ปัจจุบันอายุ 26 ปี พบว่าพ่อของตัวเองมีทัศนคติที่เปลี่ยน
ไปในเรื่องการเหยียดผิว แม้จะดูเหมือนภาคต่อ แต่จริง ๆ
แล้ว GoSetaWatchman คือต้นฉบับร่างแรกของ 
ToKillaMockingbird ก่อนที่จะได้รับการแก้ไขนั่นเอง
และเนื่องจากเป็นผลงานที่ถูกเขียนขึ้นก่อน ชั้นเชิงทาง
วรรณกรรมและความคิดที่แฝงอยู่จึงไม่เฉียบคมเท่า
 ToKillaMockingbird แต่ก็ทำให้ผู้อ่านได้รู้จักกับ
ตัวตนของฮาร์เปอร์ในวันที่เธอเริ่มต้นเป็นนักเขียน

หลังจาก GoSetaWatchman ได้รับการตีพิมพ์ไม่ถึงปี 
ฮาร์เปอร์ก็เสียชีวิตอย่างสงบเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2016
ด้วยวัย 89 ปี แต่ถึงตัวจะจากไป นิยายทั้งสองเล่มของ
เธอก็ยังคงได้รับการพูดถึงตลอดไป ตราบใดที่โลกใบนี้
ยังมีการเหยียดผิวและความอยุติธรรม

นิยายของฮาร์เปอร์ลีทั้งสองเล่มได้รับการแปลเป็นภาษาไทยแล้วโดยToKillaMockingbirdมีชื่อไทยว่าฆ่าม็อคกิ้งเบิร์ดส่วนGoSetaWatchmanมีชื่อไทยว่าจงไปวางยามไว้ให้เฝ้าดู

 

To Kill a Mockingbird

บอกเล่าเรื่องราวสะท้อนสังคมในยุคที่คนดำในอเมริกายังถูกเหยียดผิวอย่างรุนแรงเมื่อมีการกล่าวหาชายผิวดำคนหนึ่งว่าข่มขืนหญิงผิวขาวผู้คนในเมืองต่างต้องการให้ลงโทษชายผิวดำคนนั้นขณะที่ตัวเอกของเรื่องแอตติกัสฟินช์ผู้เป็นทนายพยายามจะพิสูจน์ว่าชายผิวดำนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ซึ่งการต่อสู้เพื่อปกป้องเพื่อนมนุษย์และความยุติธรรมกลับทำให้ครอบครัวของแอตติกัสตกอยู่ในอันตรายจากชาวเมืองที่คลุ้มคลั่งและโกรธแค้นแม้จะพูดถึงประเด็นหนักแต่ToKillaMocking-bird กลับเล่าเรื่องผ่านสายตาของเด็กผู้เป็นลูกของแอตติกัสซึ่งได้พบเห็นเรื่องราวมากมายทั้งโหดร้ายและน่าประทับใจขณะที่พ่อของพวกเขาช่วยเหลือลูกความทำให้นิยายเรื่องนี้อ่านง่ายและยังถ่ายทอดเนื้อหาที่ต้องการบอกกับผู้อ่านออกมาได้อย่างไม่ชวนให้เบื่อไปเสียก่อน

– Text : kidcat

– Photo Harper Lee : The Independent

 

อ่านรีวิวหนังสือดีๆ ได้ที่นี่ค่ะ

รีวิว 3 นิยายอีโรติก 3 สไตล์ ฟินจิกหมอน เร่าร้อน 21+

คู่มือท่องเที่ยวเก๋ๆ ให้คุณไปเที่ยวได้แบบไม่ซ้ำใคร

 

สุดสัปดาห์

keyboard_arrow_up