บริหารเงินให้ดี ทำอะไรก็ราบรื่น ไม่ติดขัด

Alternative Textaccount_circle
event

บางทีปัญหาใหญ่ของผู้หญิงเราคือไม่รู้จักบริหารเงิน ได้มาก็จ่ายไป บางทีก็ช็อปจนเกินตัว ทำให้สิ้นเดือนทีไรลำบากทุกที สุดฯ จึงมีแนวทางการ บริหารเงินให้ดี มาฝาก รับรองว่า ต่อไป ทำอะไรจะราบรื่น ไม่มีติดขัดแน่นอน

บริหารเงินให้ดี ชีวิตจะได้ราบรื่น

 

จุดอ่อนในการบริหารเงินของผู้หญิง

1. คิดว่าไม่มีเงิน ผู้หญิงจำนวนมากเข้าใจว่าการบริหารเงินเป็นเรื่องของคนมีเงิน ตัวเองมีเงินเดือนน้อยนิด ไม่พอค่าใช้จ่ายประจำวัน แล้วจะบริหารเงินได้อย่างไร แต่นี่เป็นความเข้าใจที่ผิด การบริหารเงินไม่เกี่ยวข้อกับรายได้ คนจนยิ่งต้องรู้จักบริหารเงินเพื่อหาเงินให้ได้มากกว่าเดิม จะได้เป็นคนรวย สิ่งสำคัญอยู่ที่การทำอย่างสม่ำเสมอ ถ้ามีเงิน 1,000 บาท ต้องหาทางลงทุนให้งอกเงยเป็น 2,000 บาท ไม่ใช่เก็บไว้เฉยๆ ซึ่งมีแต่จะลดค่าลง ไม่งอกเงยขึ้น

2. คิดว่าต้องให้ผู้ชายเลี้ยงดู ผู้หญิงหลายคนคิดว่าเก่งยังไงก็สู้ผู้ชายไม่ได้ ผู้หญิงต้องใช้ผู้ชายเลี้ยงดู ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด สังคมปัจจุบันชายหญิงเสมอภาคกัน และแรงกดดันในสังคมสูงมาก ผู้ชายคนเดียวหาเลี้ยงครอบครัวเป็นเรื่องยาก ถ้าผู้หญิงอาศัยผู้ชายทุกอย่าง นานเข้าผู้ชายจะรู้สึกว่าไม่ยุติธรรม คิดว่าผู้หญิงไม่ได้ทำอะไรให้ครอบครัว จึงมองไม่เห็นความสำคัญของผู้หญิงในครอบครัว

3. ไม่รู้ว่าการบริหารเงินมีหลายวิธี ผู้หญิงมักไม่สนใจการลงทุนที่ต้องเสี่ยง เช่น หุ้น หองทุนรวม ส่วนใหญ่ก็ทำแค่ฝากธนาคารหรือซื้อพันธบัตร ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ต่ำมาก จริงๆ เราสามารถแบ่งรายได้ออกเป็น 3 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน อีกส่วนหนึ่งเป็นเงินออม เก็บไว้ใช้ยามจำเป็น เหลืออีกส่วนหนึ่งนำมาลงทุนซื้อหุ้น เงินกองทุน หรือซื้ออสังหาริมทรัพย์ จึงจะเป็นหลักประกันให้ครอบครัว เป็นการกระจายความเสี่ยง และได้รับผลประโยชน์สูงสุด

4. พึ่งพาบัตรเครดิตมากเกินไป เพราะบัตรเครดิตนั้นใช้ง่าย สะดวก แต่ถ้าใช้เกินความจำเป็นก็ทำให้เกิดหนี้สินพอกพูน โดยที่เราไม่รู้ตัว เวลาใช้บัตรเครดิตจึงต้องรู้จักควบคุมตัวเอง อย่าปล่อยให้ความอยากเข้าครอบงำ และกลายเป็นทาสบัตรเครดิต

5. ชอบทำตามคนอื่น การบิรหารเงินไม่ควรทำตามคนอื่น เช่น เห็นคนที่มีเงินมากลงทุนด้วยการซื้ออสังหาริมทรัพย์ คนที่มีเงินน้อยถ้าจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ต้องคิดให้ดี เพราะถ้าทุ่มเงินทั้งหมดลงไปอาจจะลำบาก

บริหารเงินให้ดี

 

หลักการบริหารเงิน

1. วางแผนการใช้จ่ายให้เหมาะสม ต้องวางแผนการใช้จ่ายแต่ละเดือนให้ดี เดือนนี้จะซื้ออะไร ไม่ซื้ออะไร อะไรเร่งด่วน อะไรรอได้ เวลาใช้จ่ายควรชั่งใจก่อนว่าจำเป็นจริงหรือไม่ ถ้าไม่ซื้อจะเป็นไรไหม วิธีนี้ช่วยหักห้ามใจได้ ถ้าเดือนนี้ใช้จ่ายไปมาก ยิ่งต้องหักห้ามใจ อย่าใช้จ่ายโดยไม่คิดให้ดี

2. วางแผนการบริหารเงินตามกำลัง หากใช้จ่ายอย่างเหมาะสมก็จะเงินเหลือพอเอาไว้บริหาร วิธีทั่วไปคือฝากธนาคาร ถ้าฝากบัญชีออมทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยจะค่อนข้างต่ำ ควรฝากประจำเพื่อให้ได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น และฝึกออมเงินให้เป็นนิสัย ตัวอย่างเช่น ถ้าฝากเดือนละ 500 บาท พอครบ 10 ปีก็จะได้เงินก้อนใหญ่

สถานการณ์การเงินของแต่ละคนไม่เหมือนกัน วิธีบริหารเงินควรพิจารณาตามความสามารถและการรับความเสี่ยง อาจใช้วิธีซื้อหุ้น กองทุน อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นวิธีการบริหารเงินที่ดี

3. หาความรู้เกี่ยวกับการบริหารเงิน การบริหารเงินจำเป็นต้องค้นหาวิธีใหม่ๆ จึงจะพบวิธีที่เหมาะกับตัวเองและทำให้เงินงอกเงย

บริหารเงินให้ดี

 

ข้อมูลจาก หนังสือ “คู่มือเป๊ะเว่อร์ 360 องศา”, ไคซินเก๋อเก๋อ เขียน, รำพรรณ รักศรีอักษร แปล,สำนักพิมพ์ อมรินทร์ How-to

ภาพจาก www.pixabay.com

 

เรื่องราวดีๆ ยังมีให้อ่านอีก

ตรงต่อเวลา นิสัยที่ทุกคนควรมี

ภาพลักษณ์ดี มีชัยทุกที่

จัดดอกไม้ โทนสีสุภาพ สำหรับงานที่เป็นทางการ

สุดสัปดาห์

keyboard_arrow_up