10 จุดหมาย BAB2020 City Route & River Route

Alternative Textaccount_circle
event

ชวนมาเที่ยวชมงานศิลป์กลางกรุงฯ ณ 10 จุดหมาย BAB2020 หรือ Bangkok Art Biennale 2020 ที่จัดตามเส้นทางเมือง (City Route) และ เส้นทางแม่น้ำ (River Route) กับเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ที่กลับมาสร้างสีสันให้กับชาวกรุงเทพฯ กันอีกครั้ง ในคอนเซ็ปต์ “Escape routes” หรือ “ศิลป์สร้าง ทางสุข” นำเสนอความคิดผ่านผลงานศิลปะ โดยอ้างอิงมาจากสถานการณ์ความวุ่นวายในปัจจุบันที่กำลังรอการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อร่วมกันทำความเข้าใจและค้นหาทางออกจากวังวนดังกล่าว ด้วยศิลปะที่เชื่อมโยงความเข้าใจของทุกคนเข้าหากัน

10 จุดหมาย BAB2020

10 จุดหมาย BAB2020

โซนการเที่ยวชมงาน BAB2020 มี 2 เส้นทาง คือ เส้นทางเมือง (City Route) และ เส้นทางแม่น้ำ (River Route)

City Routeมี 4 จุดหมาย คือ

-Bangkok Art and Culture Centre
-BAB Box @ONE BANGKOK
-The Prelude One Bangkok
-The PARQ

 

10 จุดหมาย BAB2020

River Route มี 6 จุดหมาย คือ

-วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
-วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
-วัดประยูรวงศาวาสวรวิหาร
-ล้ง 1919
-มิวเซียมสยาม
-ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก

10 จุดหมาย BAB2020

 

ผู้สนใจสามารถตามไปชมผลงานศิลปะสุดสร้างสรรค์กันได้แบบยาว ๆ ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2564
คลิกดูรายละเอียดเพิ่มติมได้ที่ https://www.bkkartbiennale.com/ 

อย่ารอช้า ตามมาดูแต่ละจุดหมายกันเลย

10 จุดหมาย BAB2020

1.Bangkok Art and Culture Centre

เป็นหอศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯ จัดนิทรรศการหมุนเวียน การแสดง และกิจกรรมที่เกี่ยวกับศิลปะทุกประเภท ในครั้งนี้จัดแสดงกว่า 86 ผลงาน
วันที่เปิดให้เข้าชม
ชั้น 1, 7, 8 : 29 ตุลาคม 2020 – 31 มกราคม 2021
ชั้น 9 : 29 ตุลาคม 2020 – 29 พฤศจิกายน 2020
เวลาเปิดปิด : 10.00 – 19.00 น. ปิดทุกวันจันทร์
10 จุดหมาย BAB2020
10 จุดหมาย BAB2020
10 จุดหมาย BAB2020
Untitled 2020 (infinite attempts never concluded) ผลงานของ ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช ศิลปะวัดวางเขาวงกตไม้ไผ่ที่สื่อถึงแรงงานท้องถิ่นและแรงงานอพยพ เกิดเป็นเส้นทางคดเคี้ยวที่ตรงกลางเป็นห้องสีขาวให้เข้าไปนั่งปลีกวิเวก แสดงถึงการเยียวยาและประนีประนอมในยุคแห่งความขัดแย้ง ความกลัว และความแตกแยก
10 จุดหมาย BAB2020
ผลงานของ Minah Son แสดงเนื้อหาจากไบเบิ้ลผ่านตัวอักษร MinahSon’s ที่มีลักษณะคล้ายบาร์โค้ต ซึ่งจะอ่านได้เมื่อมองในมุมมองที่ีกำหนดไว้เท่านั้น
10 จุดหมาย BAB2020
Dargonerpanzer ผลงานของ วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์
10 จุดหมาย BAB2020
ผลงานของ P7
10 จุดหมาย BAB2020
Classroom ผลงานของ Leandro Erlich ศิลปะจัดวางอินเตอร์แอคทีฟในรูปแบบห้องเรียนที่กระตุ้นให้เห็นภาพสะท้อนของผู้เข้าชม เหมือนได้ย้อนกลับไปนั่งในห้องเรียนที่ทรุดโทรม เป็นภาพฉายสลับปัจจุบันและอดีต
10 จุดหมาย BAB2020
ผลงานของ Ai Weiwei
10 จุดหมาย BAB2020
ผลงานของ พีรชัย (เสมอ) พัฒนพรชัย

2.BAB Box @ONE BANGKOK

พื้นที่จัดนิทรรศการศิลปะสร้างขึ้นสําหรับบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ โดยเฉพาะ จัดกิจกรรมต่างๆ มากมายและมีร้าน
กาแฟให้ผู้ชมเบียนนาเล่ได้พักผ่อนอีกด้วย โดยจัดแสดงกว่า 20 ผลงาน
วันที่เปิดให้เข้าชม
12 ตุลาคม 2020 – 31 มกราคม 2021
เวลาเปิดปิด : 10.00 – 20.00 น. ปิดทุกวันอังคาร
ใช้เวลาเดินชม : 60 นาที
การเดินทาง : รถไฟใต้ดินสถานีลุมพินี, จอดรถฟรี
10 จุดหมาย BAB2020
10 จุดหมาย BAB2020
“We have found in the ashes what we have lost in the fire (2018)”
ผลงานของ Rushdi Anwar ในผลงานวิดีโอ I AM NOT FROM EAST OR WEST . . . MY PLACE IS PLACELESS ในปี พ.ศ. 2561 อันวาร์ได้พบกับผู้ลี้ภัยที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน และจดบันทึกการดำรงอยู่ของพวกเขาในค่ายผู้ลี้ภัย เน้นย้ำให้เห็นถึงความเปราะบางของการดำรงอยู่และความหวังที่อยู่ภายในนั้น ในศิลปะจัดวาง We have found in the ashes what we have lost in the fire ในปี พ.ศ. 2562 ภาพถ่ายโบสถ์แห่งหนึ่งในบาชิกาที่ถูกทำลายจัดแสดงอยู่ข้างเศษซากและสิ่งของจากโบสถ์ในกล่องความทรงจำ โดยกล่องและสิ่งของเหล่านี้จะพาผู้ชมไปสำรวจความคล้ายคลึงอันน่ากระอักกระอ่วนใจระหว่างการทำลายล้าง การดำรงอยู่เพียงชั่วคราว และการกลับคืนสู่สภาพเดิมที่ชุมชนพลัดถิ่นและถูกถอนรากถอนโคนทั่วโลกต้องเผชิญ
10 จุดหมาย BAB2020
10 จุดหมาย BAB2020

“DO A TO MII Doll 1939, Doll 2020” ผลงานของ Lolay ประกอบด้วยงานจิตรกรรมและประติมากรรมที่ต้องการแสดงถึงสภาพร่างกายที่เปรียบเหมือน สังคม ชุมชน เมือง ประเทศ และโลก ที่มีคาแรคเตอร์ และอาการแสดงผลบางอย่างในทางจินตนาการที่มาจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่มนุษย์ในช่วงเวลานี้ได้รับผลกระทบ ตั้งแต่ภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ เช่น โรคระบาดหรือภัยแห่งความขัดแย้งของมนุษย์ด้วยกันเองทั้งในทางการเมืองและการก่อสงคราม สงครามที่มีตั้งแต่ระดับในสังคม จนไปถึงระหว่างประเทศ และรวมไปถึงซีกโลก

10 จุดหมาย BAB2020

3.The Prelude One Bangkok

พื้นที่จัดนิทรรศการศิลปะในโครงการ One Bangkok โครงการอสังหาริมทรัพย์ระดับโลกที่อยู่ในระหว่างการ
พัฒนา และจะเป็นหมุดหมายแห่งอนาคตของกรุงเทพ โดยจัดแสดง 13 ผลงาน
วันที่เปิดให้เข้าชม
12 ตุลาคม 2020 – 31 มกราคม 2021
เวลาเปิดปิด : 10.00 – 20.00 น. ปิดทุกวันอังคาร
ใช้เวลาเดินชม : 30 นาที
การเดินทาง : จอดรถฟรี, บริการรถรับส่งจากปากซอยเชื่อมถนนวิทยุ

10 จุดหมาย BAB2020

ผลงานของ Yuken Teruya สร้างผลงานจากแบงค์ของเกมเศรษฐี นำมาตัด จัดวาง ด้วยเข็มหมุดลงบนแผ่นโฟม เพื่อสื่อถึงความผันผวนของค่าเงิน

10 จุดหมาย BAB2020

10 จุดหมาย BAB2020

10 จุดหมาย BAB2020

10 จุดหมาย BAB2020

ผลงานของ ประทีป สุธาทองไทย

4.The PARQ

โครงการมิกซ์ยูสแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ซึ่งมีพื้นที่แสดงงานศิลปะกว่า 1,000 ตารางเมตร บนพื้นที่ชั้น 15 สร้างขึ้น
สําหรับบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่โดยเฉพาะ เห็นวิวขอบฟ้าเมืองกรุงเทพฯ โดยรอบ และยังมีคาเฟ่และพื้นที่จัดกิจกรรม
เปิดใหม่ที่ชั้น 3 โดยจัดแสดงกว่า 25 ผลงาน
วันที่เปิดให้เข้าชม
12 ตุลาคม 2020 – 31 มกราคม 2021
เวลาเปิดปิด : 10.00 – 20.00 น.
ใช้เวลาเดินชม : 90 นาที
การเดินทาง : รถไฟใต้ดินสถานีศูนย์ฯสิริกิติ์, ที่จอดรถคิดค่าบริการ

10 จุดหมาย BAB2020

10 จุดหมาย BAB2020

 

10 จุดหมาย BAB2020

Tooth Clinic ผลงานของ Note Kritsada

10 จุดหมาย BAB2020

10 จุดหมาย BAB2020

Woven Chronicle, 2020 ผลงานของ Reena Saini Kallat การถักทอผลงานชิ้นนี้ โดยใช้สายไฟ สายเคเบิล ลวดลายและเสียงที่หาได้ในท้องถิ่น โดยคำนึงถึงมุมมองและรูปแบบการอพยพในท้องถิ่น

10 จุดหมาย BAB2020

5.วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร

เป็นที่รู้จักกันในนามวัดอรุณ หรือวัดแจ้ง ซึ่งได้ถูกตั้งชื่อโดยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อครั้งกรุงธนบุรีตั้งเป็นศูนย์กลางของสยาม วัดอรุณมีประวัติศาสตร์ยาวนานก่อสร้างตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยา ภายหลังในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ได้ทรงครองราชย์ วัดอรุณได้ถูกบูรณะครั้งใหญ่ขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 200 ปี ของการย้ายศูนย์กลางประเทศมาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ภายในวัดอรุณแห่งนี้มีจุดเด่นคือพระปรางค์ที่ตั้งตระหง่านอยู่ พระปรางค์นี้ประดับด้วยชิ้นส่วนเครื่องเคลือบดินเผาหลากสีสันซึ่งได้มาจากการแลกเปลี่ยนค้าขายจากประเทศจีน ด้วยประวัติศาสตร์ที่สำคัญและความงามของวัดนี้ทำให้ทุกวันนี้ภายในวัดอรุณเต็มไปด้วยกลุ่มนักท่องเที่ยวเสมอ ในปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา
วัดอรุณเป็นหนึ่งในพื้นที่แสดงผลงานของงานบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ งานศิลปะร่วมสมัยได้ถูกจัดวางผสมผสานกับองค์ประกอบของวัดโดยใช้ความหมายและนัยเป็นจุดเชื่อมระหว่างสองศาสตร์เช่น Across the Universe (พ.ศ. 2561) โดยสานิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ จัดตั้งเรียกความสนใจและดึงจุดเด่นและเรื่องราวบริเวณเขามอของวัดอรุณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง และ สองเกลอ (พ.ศ. 2561)โดยคมกฤษณ์ เทพเทียน ที่เล่าถึงประวัติความสัมพันธ์ระหว่างสยามและจีนในอดีต

10 จุดหมาย BAB2020

 

 

 

10 จุดหมาย BAB2020
ผลงานจัดแสดงที่ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ของ Anish Kapoor (สหราชอาณาจักร) . ผลงาน Sky Mirror ปี พ.ศ. 2561 อนิชสร้างสรรค์มาจัดวางที่สนามหญ้า ของวัดโดยเฉพาะ สเตนเลสสตีลทรงกลม แวววาวของผลงานทำปฏิกิริยากับรูปทรงที่ไม่ปะติดปะต่อกัน ซึ่งสะท้อนจากเมฆที่เคลื่อนไหวบนท้องฟ้า เฉกเช่น ความว่างเปล่าที่เปลี่ยนรูปร่างไปเรื่อยๆ ตามการหมุน ของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และดวงดาว การเคลื่อนไหว ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับระนาบสุริยวิถีซึ่งจะมีผลต่อการ คำนวณทางโหราศาสตร์ของแต่ละบุคคล

6.วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร

ริเริ่มให้ก่อสร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลกมหาราชบนพื้นวัดเก่า วัดโพธิ์ถือว่าเป็นหนึ่งในวัดที่มีความสำคัญมากที่สุดในประเทศไทย และถือว่าเป็นสถานที่ สำหรับการศึกษาแห่งแรกของชาติอีกด้วย ส่วนประกอบที่สำคัญ ที่สุดในวัดคือพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) ที่มีความสวยงามมาก และมีขนาดใหญ่ที่มีความยาวถึง 46 เมตร ในปีพ.ศ. 2561 บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ได้นำผลงานศิลปะร่วมสมัยเข้ามาจัดแสดงที่วัดโพธิ์ เช่น ผลงาน ทางศรัทธา (พ.ศ. 2561) ที่ศิลปิน จิตต์สิงห์ สมบุญได้ออกแบบชุดสำหรับผู้มาเยือน ได้สวมใส่ตามแนวทางปฏิบัติ กฎ และมารยาทที่วัดได้กำหนดไว้ รวมถึงผลงานของปานพรรณ ยอดมณี ภาพตะวัน สุวรรณกูฏ หวง ย่ง ผิง และธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์ ที่ผลักดันความสำคัญ ของประวัติศาสตร์ของวัดโพธิ์ในรูปแบบการเล่าเรื่องอย่างร่วมสมัย

 

ผลงานของ อัฐพร นิมมาลัยแก้ว (ไทย) . อัฐพร นำภาพบุคคลที่เดินทางย้อนอดีตจากภาพเขียนโบราณในวิหารของวัดโพธิ์ซึ่งเปิดให้คนทั่วไปเข้าไปไหว้พระกลับมาสร้างใหม่เป็นงานจิตรกรรมบนผ้าที่แขวนเบาบางอยู่ในนั้น ภาพบุคคลที่ย้อนอดีตกับบุคคลปัจจุบันล้วนกำลังนั่งสมาธิ เพื่อแสดงความสงบนิ่งของจิตใจในโบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ได้ดึงดูดผู้ชมให้คล้อยตามไปถึงความงดงามของผลงานในสถานที่ ดังกล่าว . ความหลากหลายชาติพันธุ์ทีปรากฏอยู่ในภาพเขียนโบราณในสถานที่แห่งนี้เป็นที่มาของการสร้างความเชื่อมโยงของพลังอำนาจของวัตรปฏิบัติที่ทรงคุณค่า ของพุทธศาสนิกชนให้ปรากฏขึ้นมาลางเลือนอีกครั้ง มันเป็นการทวนความทรงจำถึงบริบทแห่งอดีตที่หายไป แต่คงเหลือหลักฐานที่ปรากฏผ่านภาพและเรื่องเล่า ให้หลอมรวมความรู้สึกของผู้ชมที่เข้ามากราบไหว้ หรือท่องเที่ยว ได้พบเห็นประสบการณ์ใหม่ของงานศิลปะที่ผสมผสานจิตวิญญาณของชาวพุทธ

ผลงานของ Anish Kapoor (สหราชอาณาจักร) . ภายในศาลาการเปรียญวัดโพธิ์ตกแต่งด้วยสีแดงอบเชย สีขาวหินอ่อน และสีทองอร่าม ผลงาน Push Pull II ในปี พ.ศ. 2552 ของอนิชที่ประกอบด้วยแว็กซ์สีแดงเข้ม และเม็ดสีน้ำมัน เป็นเรื่องเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงและแรงตึง ตลอดจนปริมาตรและวัสดุ ด้ามเลื่อยถูกผลัก และดึงเพื่อสร้างมวลสีแดงเข้มที่ดูดึงดูดและดุดัน การควบคุมการหายใจเข้าออกด้วยการผลักดึงเป็นจังหวะ เราจะเริ่มตระหนักถึงชีวิตและเลือดเนื้อแม่และธรรมชาติ ภายใต้ดวงดาวสีแดงและสีทองบนเพดานที่เปรียบ เหมือนอาณาเขตสวรรค์และจักรวาล สีแดงอบเชยเป็นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนา สื่อถึงความว่างเปล่าและ การมองไม่เห็น

 

7.วัดประยูรวงศาวาสวรวิหาร

อีกหนึ่งใน 10 จุดหมาย BAB2020 เป็นสถานที่เรียกสั้นๆ ได้ว่า วัดประยูรฯ และยังถูกเรียกว่า ‘วัดรั้วเหล็ก’ อีกด้วย เป็นที่เชื่อกันมาช้านาน ว่าชื่อวัดรั้วเหล็กนี้มาจากเหตุการณ์ในอดีต สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อการแลกเปลี่ยนค้าขายสินค้าระหว่างสยามและอังกฤษเกิดขึ้น โดยอังกฤษจะส่งรั้วเหล็กมาที่สยามเพื่อแลกเปลี่ยนกับน้ำตาลของสยามที่มีน้ำหนักเท่ากันกับรั้วเหล็กส่งคืนกลับไป และรั้วเหล็กที่ได้รับมานั้นก็ถูกนำมาใช้เป็นรั้วของวัดประยูรฯ ต่อมา เรื่องเล่านี้อาจไม่ได้คุ้นหูสำหรับคนทั่วไปนัก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2561 ในงานบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ที่กมล เผ่าสวัสดิ์ ได้สร้างสรรค์ผลงานจัดวาง Sweet Boundary: In the Light Tube (พ.ศ. 2561) ที่ทำให้เรื่องการแลกรั้วเหล็กและน้ำตาลได้ถูกมาเล่าสู่กันฟังอย่างเป็นรูปธรรม

ผลงานของ อารยา ราษฎร์จำเริญสุข (ไทย) ผลงานวิจัย Escape Routes เกี่ยวข้องกับภารกิจที่จะอยู่กับตัวเองอย่างสงบสุข การเผชิญหน้ากับความตาย และชีวิตหลังความตาย เป็นธีมที่ปรากฏอยู่เสมอในงานศิลปะและวรรณกรรมของเธอ ในขณะที่เขียน A Novel in Necessity’s Rhythmนี้ เธอหวนนึกย้อนความทรงจำในอดีตที่ปรากฏในภาพอันขุ่นมัวของความตายในสถานการณ์ต่างๆ ผ่านการเล่าเรื่องด้วยเสียงบริเวณระเบียงคตรอบเจดีย์นี

 

ผลงานของ บุษราพร ทองชัย (ไทย) . ผลงาน Dear Family, พ.ศ. 2563 บุษราพรตั้งคำถาม ถึง ‘ความเงียบ’ ที่เกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ระดับที่ใกล้ชิดที่สุด คือครอบครัว ในขณะที่ปัจจุบันตัวเธอเองที่ทำงานเป็นล่ามและให้คำปรึกษาแรงงานในเบอร์ลิน ทำให้เธอได้มีโอกาสในการฟังเรื่องราวปัญหาของคนอื่น และหลาย ครั้งจะได้พูดคุยกับผู้หญิงหลายคนที่ทำงานบริการทาง เพศ ซึ่งต้องเผชิญกับสถานการณ์คล้ายๆ กับที่เธอและครอบครัวของเธอเจอมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขชีวิตที่ไม่แน่นอน การต้องทำงานผิดกฎหมาย และที่สำคัญคือ การไม่ถูกพูดถึงและเปิดเผยถึงอาชีพที่พวกเขาทำทั้งในครอบครัวหรือในสังคม แม้บางครั้งครอบครัวจะได้รับเงินจากการประกอบอาชีพบริการทางเพศก็ตาม ในผลงานนี้บุษราพรจับคู่ผู้ที่ทำงานบริการทางเพศให้พูดคุยกับคนในครอบครัวทั้งหมด 3 คู่ รวมถึงเธอกับพี่สาวของเธอเอง และยังรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ทำเป็นหนังสือ ภาพสำหรับเด็กเพื่อส่งต่อประวัติศาสตร์ส่วนนี้ให้กับหลานสาวของเธอต่อไป

 

ผลงานของ Ana Prvački (เยอรมนี) . Post Apis ในปี พ.ศ. 2563 เป็นที่เก็บน้ำผึ้งออร์แกนิกดิบที่ได้รับการคัดสรรมาอย่างดี และนำมาฝากไว้กับพื้นที่ศักดิ์ สิทธิ์ ของวัด ผึ้งเป็นแมลงที่สำคัญที่สุดในโลกในฐานะแมลงผสมเกสร ผึ้งอยู่มานานหลายล้านปี แล้ว แต่ในศตวรรษที 21 นี้กำลังใกล้จะสูญพันธุ์ ซึงจะทำให้มนุษย์เสี่ยงที่จะสูญเสียพืชทั้งหมดที่อาศัยผึ้งผสมเกสร สัตว์ทั้งหมดที่กินพืชเหล่านี้เป็นอาหาร และมนุษย์จะไม่มีน้ำผึ้งให้บริโภคอีกต่อไป . น้ำผึ้งบรรจุด้วยข้อมูล อันเป็นเอกลักษณ์ตามสิ่ งแวดล้อมและบรรยากาศที่น้ำผึ้งถูกผลิต ไม่ว่าจะเป็นของดอกไม้ที่ผึ้งผสมเกสรหรือยาฆ่าแมลงและสารเคมีที่ใช้ในพื้นที่ แอนาจะกล่าวว่า “น้ำผึงนั้นคือทองคำเหลว” หากจัดเก็บอย่างเหมาะสม สามารถเก็บได้นานถึง 2,000 ปี และตู้เซฟสำหรับเก็บน้ำผึ้ง Post Apis ของเธอเป็นมากกว่าที่เก็บรักษาทรัพยากรธรรมชาติ อันมีค่า เพราะถือเป็นข้อพิสูจน์สุดท้ายที่ เป็นไปได้เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพที่น่าทึ่งขอโลกใบนี้ ซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเปราะบางของระบบนิเวศน์ของเรา

8.ล้ง 1919

โครงการแหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมที่โดดเด่นด้วยศิลปะเชิงอนุรักษ์บอกเล่าประวัติศาสตร์ไทย-จีนริมแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นอัญมณีที่ถูกซ่อนไว้จากกาลเวลาที่ยาวนานกว่า 180 ปี ได้เปิดเผยความงาม เรื่องราวของ ชาวจีนโพ้นทะเลที่มาอาศัยร่มพระบรมโพธิสมภาร และได้เริ่มก้าวแรกบนแผ่นดินสยาม นำคุณค่า ความงามของ ความเชื่อและศรัทธาในการใช้ชีวิต สร้างอนาคต ผ่านศิลปะแบบจีนโบราณ ผ่านวิถีชีวิตที่กลมกลืนจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของ ชาวไทยเชื้อสายจีนในปัจจุบัน เหมาะอย่างยิ่งที่จะเป็นหนึ่งใน 10 จุดหมาย BAB2020 ครั้ง

 

ผลงานของ ญาณากร สินวัชราภรณ์ (ไทย) ผลงานใน BAB 2020 ญาณากร ใช้ตั้งแต่ราวบันไดไม้เก่าที่แกะสลักให้กลายเป็นกลอนประตู บานพับหน้าต่างเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของตัวเองกับของเก่า หรือการนำตะไคร่น้ำตากแห้งจากสวนลุมฯ ในกรุงเทพฯ เพื่อสื่อสารถึงความสัมพันธ์ของเขากับเด็กในสวนลุมฯ ที่ลงไปเล่นน้ำและเก็บตะไคร่มาให้ นอกจากนี้ยังนำปุ๋ยหมักของพ่อ ที่เกิดจากวงจรชีวิตของหนอนตั้งแต่เกิดจนตาย การนำดินที่พ่อขุดขึ้นมาสร้างเป็นผลงาน ความสัมพันธ์ของสิ่งเล็กๆ ที่ดูไร้ค่ากลับก่อความหมายในเชิงนามธรรมที่มีผลต่อความทรงจำ การสังเกตและ พิจารณาสิ่งเล็กน้อยคล้ายกับการมองเข้าไปยังหน่วย ย่อยของดวงดาวเล็กๆ ในจักรวาลขนาดใหญ่ ซึ่งมีผลต่อความรู้สึกโดยตรงของเขาเอง

ผลงานของ จุรีพร เพชรกิ่ง (ไทย) จัดแสดงผลงานศิลปะจัดวางและ การแสดงสด ซึ่งได้รวบรวมเรื่องราวของชาวจีนอพยพทีต้องทนกับความยากลำบากและการเลือกปฏิบัติ ตอนที่พวกเขาเดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ในช่วงแรกๆ การแสดงบนจักรเย็บผ้าตลอดทั้งวันของเธอแสดงให้ เห็นถึงงานอันน่าเบื่อหน่ายที่ผู้หญิงที่เคยอาศัยอยู่ใน ล้ง 1919 ต้องทำเป็นประจำทุกวัน และการตัดเย็บเชื่อมโยงประเพณีจีน-สยามอันยาวนานและสายเลือดที่ยังคง ดำเนินมาจนถึงทุกวันนี้ ล้ง 1919 มีคุณค่าทางจิตใจและมีความหมายไม่เพียงแต่ต่อตัวเธอเองเท่านั้น หากแต่ยังมีต่อชุมชนชาวจีนอพยพในวงกว้างอีกด้วย

 

 

ผลงานของ Sarah Naqvi (อินเดีย) ศิลปะจัดวาง How Does One Say Queen in Islam? ในปี พ.ศ. 2563 ซึงจัดทำขึ้นเป็นพิเศษสำหรับ งานบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2020 ซาร่าห์ได้สร้างประวัติศาสตร์อิสลามฉบับใหม่ โดยใช้คำที่ผู้หญิงใช้เท่านั้น รูปแบบการเล่าเรื่องแบบดั้งเดิมผสมผสานเข้ากับนิทาน และเพลงในวัยเด็กของเธอ ในดินแดนที่เหมือนความฝันที่ผู้นำ นักรบ นักร้องและนักปฏิวัติหญิงร่วมต่อสู้กับการ แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ของแม่และยายของพวกเธอ

 

 

9.มิวเซียมสยาม

พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ (Museum Siam: Discovery Museum) ภายใต้ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) เป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งแรกที่เน้น การสร้างประสบการณ์สดใหม่ในการชมพิพิธภัณฑ์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบของ แหล่งเรียนรู้ที่น่ารื่นรมย์ และช่วยยกระดับมาตรฐานการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ ให้กับประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนไทยเกี่ยวกับการสร้างสำนึกในการรู้จัก ตนเอง รู้จักเพื่อนบ้าน และรู้จักโลก รวมถึงการสร้าง “แนวคิดและภาพลักษณ์ใหม่” ของพิพิธภัณฑ์ในสังคมแห่งการเรียนรู้ ผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ และกิจกรรมสร้าง สรรค์ เพื่อให้การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และเรื่องราวต่างๆ เป็นไปอย่างสนุกสนานยิ่งขึ้น ซึ่งประกอบด้วย ส่วน นิทรรศการหลัก นิทรรศการหมุนเวียน และ พื้นที่กิจกรรมการเรียนรู้

 

ผลงานของ เรืองศักดิ อนุวัตรวิมล
มี 3 ชิ้นที่เชื่อมโยงกัน ชิิ้นแรกคือ การนำพืชและต้นไม้
ที่ทนทานความร้อนแล้ง และทนทานกับสภาวะน้ำท่วม น้ำเค็ม ซึงมีต้นกำเนิดมาจากหลากหลายประเทศทัวโลก จำนวน 98 ต้น มาอยู่ในห้องแสดงงานเพื่อต้องการสื่อความหมายซึ่งเชื่อมไปถึงทฤษฎีการคัดสรรเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่แข็งแรงที่สุดในการอยู่รอด
ผลงานอีกชิ้นเป็นงานจิตรกรรมภาพ กวางไซก้าซึงพบได้แต่ในประเทศรัสเซีย ล้มตายอยู่ในทุ่งหญ้า ได้มีการฟื้นฟูกวางชนิดนี้ที่ถูกล่าจนเกือบจะสูญพันธุ์ ผลของการฟื้นฟูทำให้กวางแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว แต่ผลที่ตามมาคือ สายพันธุ์ที่ใกล้ชิดกันทำให้กวางอ่อนแอ และเมือเกิดโรคระบาดจึงล้มตายกันเป็นจำนวนมาก เพราะปราศจากภูมิคุ้มกัน

ผลงานของ เรืองศักดิ อนุวัตรวิมล . ผลงานอีกชินเป็นงานประติมากรรมที่พูดถึงพฤติกรรมการกินของมนุษย์ที่กระทบต่อสัตว์ต่างๆ ด้วยความเชือว่าร่างกายของมนุษย์จะแข็งแรง ทว่ามันกำลังเบียดเบียนสัตว์จำนวนมากทีกำลังล้มตายอย่างมากมายตลอดเวลา . ผลงานทังหมดคือการเชื่อมโยงของสภาวะของมนุษย์ทีสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ ความแข็งแรงของเผ่าพันธุ์มนุษย์นำมาสู่หายนะของโลก และกับสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 อาจทำให้มนุษย์ตระหนักรู้ถึงความอ่อนแอของตัวเองที่กำลังพ่ายแพ้เพราะพฤติกรรมของตนเอง

10 จุดหมาย BAB2020

ผลงานของ Venzha Christ . Mars is (Not) A Simulation – A terraforming paradox after the mission ในปี พ.ศ. 2563 เป็น ศิลปะจัดวางที่พัฒนาโดยมีแรงบันดาลใจมาจากภารกิจการจำลองดาวอังคารและใช้หลักการทางดาราศาสตร์วิทยุ ผลงานนี้ตรวจสอบพิจารณาความขัดแย้งของสมมติฐานที่ว่า ดาวอังคารอาจเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับมนุษย์และโลก ที่สองในอนาคต แม้จะมีการสังเกตทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์แล้วว่า ดาวอังคารนั้นไม่เอื้อต่อการดำรง ชีวิตของมนุษย์ . ชิ้นงานประกอบด้วยกลุ่มโมดูลที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ และเครือข่ายเสาอากาศที่ทำหน้าที่จับคลื่นวิทยุจากอวกาศ สัญญาณที่ได้รับจะแสดงออกมาเป็นภาพกราฟิกและ ถอดรหัสออกมาเป็นเสียงให้ได้ยิน ผลงานนี้จะทำให้คุณได้เห็นอวกาศอันไกลโพ้นและได้ยินเสียงแห่งจักรวาล

 

10 จุดหมาย BAB2020

ผลงานจัดแสงดที่ มิวเซียมสยามของ Marinella Senatore (ฝรั่งเศส)

10.ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก

1 ใน 10 จุดหมาย BAB2020 นี้เป็นศูนย์ศิลปะและวัตถุโบราณที่ประกอบไปด้วยร้านค้าของล้ำค่าแห่งเอเชียในอาคารขนาดใหญ่สูง 4 ชั้น และเป็นที่ท่ีดึงดูดนักสะสม ผู้ค้าและผู้ชื่นชอบวัตถุโบราณ จากทั่วโลก

10 จุดหมาย BAB2020

10 จุดหมาย BAB2020

10 จุดหมาย BAB2020

ผลงานของ Ai Weiwei (สาธารณรัฐประชาชนจีน) เป็นศิลปินนักเคลื่อนไหวจาก เกี่ยวกับกรณีพิพาทชายแดน การแบ่งแยกทางการเมือง และลัทธิชาตินิยม ในนิทรรศการนี้ได้จัดแสดงภาพหัวสัตว์ 12 ราศี สะท้อนถึงส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์จีน ซึ่งภาพต้นฉบับที่เคยประดับในพระราชวังฤดูร้อน ถูกกองกำลังฝรั่งเศสและอังกฤษปล้นไป ภาพเหล่านี้จึงเป็นภาพที่กระตุ้นทั้งความโกรธและความภูมิใจในชาตินิยมของคนจีน โดยศิลปินได้ต่อภาพด้วยเลโก้ที่มีต้นกำเนิดจากตะวันตก ซึ่งได้เคยนำไปจัดแสดงมาแล้วกว่า 40 เมืองในตะวันตก และภายในงานยังมีผลงานการจัดเรียงเลโก้เป็นภาพอื่นๆ ให้ชมกันด้วย

10 จุดหมาย BAB2020

เรื่อง : ศรายุทธ ศรีทิพย์อาสน์
ภาพ : ฤทธิรงค์ จันทองสุข, อภิรักษ์, สิทธิศักดิ์ น้ำคำ, สมัชชา วิราพร, J

 

สุดสัปดาห์

keyboard_arrow_up