พระราชนิยมในศิลปะและดนตรีของพระบาทสมเด็จพระพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เป็นที่ประจักษ์แก่พสกนิกรชาวไทย และกระจายไปถึงชาวต่างประเทศด้วย พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัย ด้านดนตรี มาตั้งแต่ยังทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
พระอัจฉริยภาพทาง ด้านดนตรี
ทรงฝึกฝนวิชาดนตรีอย่างลึกซึ้ง คือการเขียนโน๊ตและบรรเลงแบบคลาสสิก แนวดนตรีที่ทรงสนพระราชหฤทัยคือ แนวแจ๊ส ทรงศึกษาประวัตินักดนตรีที่มีชื่อเสียงและทรงเปรียบเทียบฝีมือการเล่นดนตรีต่างๆ จากแผ่นเสียงสไตล์ที่โปรด เช่น สไตล์การเป่าโซปราแซกโซโฟนของ Sydney Bechet ออโต แซกโซโฟน ของ Johny Hodges เป็นต้น ทรงมีพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรีเป็นพิเศษ เครื่องดนตรีที่โปรดคือ เครื่องเป่าแทบทุกชนิด เช่น แซกโซโฟน คลาริเน็ต และทรัมเป็ต เป็นต้น จนได้รับการถวายการยกย่องว่า ทรงเป่าโซปราโนแซกโซโฟนได้ดีที่สุดในประเทศไทย
พระองค์ทรงเล่นดนตรีร่วมกับวงดนตรีได้กับทั้งวงไทยและต่างประเทศ ทรงสามารถใช้ปฏิภาณเล่นเดี่ยวได้อย่างยอดเยี่ยม เรียกว่า การเดี่ยวแบบ “Solo Adlib” ซึ่งถือว่ายาก โดยทรงสามารถบรรเลงโต้ตอบได้อย่างสนุกสนานกับนักดนตรีที่มีชื่อเสียงของโลก เช่น Benny Goodman หรือ Jack Teagarden เป็นต้น
ผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทและผู้ที่เคยได้ร่วมเล่นดนตรีกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เล่าถึงพระราชอัจฉริยภาพในการพระราชนิพนธ์เพลงว่า ทรงแต่งเพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย ครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัย หยิบฉวยซองจดหมายได้ก็ทรงตีเส้น 5 เส้น แล้วทรงเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นโดยฉับพลัน เช่น เพลง “เราสู้” เป็นต้น
จากลักษณะพิเศษต่างๆ ของเพลงพระราชนิพนธ์ อาจกล่าวได้ว่า บทเพลงพระราชนิพนธ์ทั้ง 48 เพลง ต่างสะท้อนถึงพระราชประวัติตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ตลอดจนพระราชกรณียกิจนานัปการที่ได้ทรงปฏิบัติตั้งแต่เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ
ข้อมูลจาก : web.ku.ac.th , anonaeteam.blogspot.com และ www.thaihealth.or.th
ภาพจาก : m.naewna.com , www.manager.co.th , hilight.kapook.com , KingSiam
ติดตามเรื่องราวน่าสนใจเพิ่มเติม
ห้องทรงงาน ของในหลวง รัชกาลที่ 9 ไม่ได้เลิศหรูอย่างที่เราเคยคิด
พระปรีชาสามารถในด้าน ศิลปะ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9
เรื่องของในหลวง ที่เราอาจไม่เคยรู้ : พระอัจฉริยภาพ
รวม 40 เรื่องราว-400+ พระบรมฉายาลักษณ์ ในหลวง ร.9 และพระบรมวงศานุวงศ์