ครูส่วนพระองค์ กับความทรงจำที่มีต่อในหลวง ร.8 และ ร.9

Alternative Textaccount_circle
event

เหตุการณ์เศร้าที่สุดในชีวิตครู

เดือนกันยายน 2488 ในหลวงอานันท์ เจริญพระชนมายุครบ 20 พรรษา และต้องเตรียมพระองค์ขึ้นครองราชย์ การเดินทางกลับเมืองไทยระยะสั้น เพื่อพระราชพิธีดังกล่าวกำหนดขึ้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2488 และคาดว่าจะเสด็จกลับสวิตเซอร์แลนด์รวต้นปี 2489

ในหลวงอนันท์ ในหลวงภูมิพล และพระราชนนีทรงเขียนจนหมายมาถึงครูอยู่เรื่อยๆ อาทิ

วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2488

ในหลวงทรงเขียนมาจากสนามบินไครโร “ครูเกลย์องที่รัก ฉันไม่มีเวลาและคงเขียนได้ไม่ยาวนัก การเดินทางเรียบร้อยดี”

แต่แล้วเช้าตรู่วันที่ 9 มิถุนายน ก็เกิดเหตุการณ์สุดแสนวิปโยค ในหลวงรัชกาลที่ 8 สิ้นพระชนม์บนแท่นบรรทม ด้วยกระสุนจากอาวุธปืนโคลท์ เมื่อสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงทราบเหตุร้าย ก็ทรงพยายามติดต่อครูเกลย์องเพื่อแจ้งข่าว แต่ช่วงนั้นครูออกไปเดินเล่นกับครอบครัว จนตอนเย็นเมื่อกลับมาถึง ก็เห็นโน้ตสั้นๆ ของเพื่อนบ้านติดอยู่บนประตู ว่า มีคนโทรศัพท์มาที่บ้าน ให้โทรกลับด่วน แล้วครูเกลย์องก็ทราบข่าวร้ายที่สุดในชีวิตทางโทรศัพท์จากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทำให้ครูถึงกลับทรุด รีบส่งโทรเลขแสดงความเสียใจไปถวายสมเด็จพระราชชนนีและพระอนุชาภูมิพล คำตอบที่ได้รับเป็นโทรเลข ความว่า … เรารู้สึกซาบซึ้งเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับข้อความแสดงความเสียใจของคุณ (ลงพระนาม) สังวาลย์

ครูเกลย์องถวายการดูแลในหลวงอานันท์ทุกวันมาเป็นเวลานับสิบปี ไม่อาจทำใจได้ ความรักความผูกพันของครูที่มีต่อในหลวงทั้งสองพระองค์ ไม่มีผู้ใดสามารถบรรยายออกมาได้ ทั้งนี้เพราะนิสัยและบุคลิกที่ต้องกันระหว่างในหลวงทั้งสอง

29 มิถุนายน พ.ศ. 2489

ในหลวงภูมิพล ซึ่งเพิ่งครองราชย์ได้ไม่นาน ได้มีพระราชหัตถเลขาถึงครูเกลย์องบนกระดาษขอบดำ ดังต่อไปนี้ :

เมอซิเยอร์ ที่รัก ,

ขอบใจสำหรับจดหมายให้กำลังใจ สำหรับฉันที่กำลังอยู่ในช่วงที่โศกเศร้า และรู้สึกตัวคนเดียวแล้วเป็นสิ่งที่อบอุ่นใจมาก

พระองค์ทรงขอให้ครูเขียนจดหมายมาถวายอีก ในหลวงทรงแทรกภาพถ่ายที่ทรงฉายพระเชษฐาคราวเสด็จฯ ม.เกษตรศาสตร์ และทรงลงท้ายจดหมายถึงครูด้วยข้อความที่แสนกินใจว่า “จากภูมิพลเพื่อนคุณ”

 

ในหลวงอานันท์และครูเกลย์องในสวนของวิลล่าวัฒนา

ในหลวงทั้งสองพระองค์ และครูเกลย์องในสวนของวิลล่าวัฒนา 

ที่สนามบินเจนีวา ในหลวงอานันท์ทรงมีพระราชดำรัสครั้งสุดท้ายในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนประทับเครื่องบินเสด็จฯ กลับกรุงเทพฯ

เสด็จฯ ถึงกรุงเทพฯ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2488

พระบรมฉายาลักษณ์สุดท้ายของในหลวงอานันท์ ซึ่งเป็นภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของพระอนุชาภูมิพล

กระดาษโน้ตที่เพื่อนบ้านของครูแจ้งว่ามีโทรศัพท์ด่วนบอกข่าวสำคัญ

เสด็จฯ กลับโลซานน์และสำเร็จการศึกษา

19 สิงหาคม 2489 หลังงานพระราชพิธีวันที่ 18 สิงหาคม ทุกพระองค์เสด็จฯ กลับสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อถึงโลซานน์ ในหลวงภูมิพลทรงเปลี่ยนแนวการศึกษาจากสาขาวิทยาศาสตร์มาทรงศึกษานิติศาสตร์ เนื่องจากทรงเห็นว่าความรู้ทางนิติศาสตร์จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อหน้าที่ของพระองค์ในอนาคต

ช่วงปีท้ายๆ ของศึกษาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างปลาย พ.ศ. 2489 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 พระองค์ยังได้ทรงเดินทางไปเยี่ยมเยือนหลายประเทศในยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชกรณียกิจในอนาคต พระองค์ทรงสร้างสัมพันธ์ที่จำเป็นและมีประโยชน์เอาไว้ล่วงหน้ากับราชอาณาจักร ราชรัฐ และสาธารณรัฐต่างๆ ในยุโรป ตลอดจนนักการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในประเทศต่างๆ สมัยนั้น ในการเดินทางทั้งหมดนั้น ครูเกลย์องตามเสด็จฯ ด้วยตลอด แม้ว่าบางครั้งจะเป็นการเสด็จฯ ส่วนพระองค์

การเดินทางในบางครั้ง เพื่อให้คนจำไม่ได้ ก็ต้องอาศัยการปลอมตัวสารพัดรูปแบบ เช่น บอกว่าในหลวงเป็นลูกชายครู เป็นต้น แต่ครั้งหนึ่งที่ปารีส ครูทราบว่าฝ่ายรักษาความปลอดภัยของฝรั่งเศสไม่หลงกล เพื่อเมื่อสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของฝรั่งเศสฝากให้ครูเกลย์องช่วยถวายความเคารพอย่างสูงไปให้ “พระโอรส” ด้วย…

จากเดิมที่ครูตั้งใจเตรียมสอบปากเปล่าเพื่อป้องกันดุษฎีนิพนธ์ ครูเกลย์อง จึงหันมาทุ่มเทในการถวายพระอักษรวิชานิติศาสตร์แก่ในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยพระองค์ทรงเล่าเรื่องนี้พระราชทาน ให้ผู้เขียน (ซึ่งเป็นลูกชายครูเกลย์อง) เมื่อครั้งมีโอกาสเข้าเฝ้าฯ ปี 2546 และทรงเสริมว่าไม่เคยทรงลืมการที่ครูได้เสียสละในครั้งนั้น และทรงรู้สึกซาบซึ้งเป็นอย่างมาก

เสด็จฯ กลับสวิตเซอร์แลนด์ หลังงานพระราชพิธีพระบรมศพในหลวงร. 8 ครูเกลย์องเฝ้ารับเสด็จ ที่สนามบินเจนีวา สิงหาคม พ.ศ. 2489

ในหลวงภูมิพลกับมอเตอร์ไซค์จิ๋วของพลร่มอเมริกัน, ฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2489

ในหลวงภูมิพลขณะกำลังทรงดนตรีแจ๊สบทพระราชนิพนธ์ โดยมีนายปรีชา พหิทธานุกร หรือที่เพื่อนเรียกว่าปีเตอร์ บุตรของเอกอัครราชทูตไทยขณะนั้น และศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยโลซานน์รุ่นเดียวกับพระองค์ร่วมเล่นคาริเน็ต

ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชวโรกาสให้ครูเกลย์อง และครอบครัวเข้าเฝ้าฯ พ.ศ. 2531 ซึ่งตอนนั้นครูเกลย์อง อายุ 82 ปี

เรียบเรียง จีราวัจน์ ภาพและข้อมูลจากหนังสือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 และเจ้านายไทยในโลซาน ภาพบางส่วนจาก: thairoyalfamily

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เรื่องเล่าจากสมเด็จพระพี่นางฯ ถึง เจ้านายเล็กๆ ครั้งทรงพระเยาว์

ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ ในหลวงรัชกาลที่ 9 หาดูยาก อยากให้คนไทยได้ดู

เรื่องที่ต้องรู้ ภาพที่ต้องดู เรื่องของพ่อ ลูกขอจดจำ

 

สุดสัปดาห์

keyboard_arrow_up