ปูตินผู้นำรัสเซีย

ปูตินผู้นำรัสเซีย เทิดทูนในหลวงร.๙ มหาราชผู้ยิ่งใหญ่

Alternative Textaccount_circle
event
ปูตินผู้นำรัสเซีย
ปูตินผู้นำรัสเซีย
      วันนี้เมื่อปีที่แล้ว (19 ตค.60) วลาดิมีร์ ปูตินผู้นำรัสเซีย ได้ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังประชาชนชาวไทยในการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของคนทั้งชาติ

หลังจากสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จสวรรคต เกิดบทพิสูจน์ที่ทำให้ได้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทั่วโลกให้การยกย่อง หนึ่งในนั้นคือประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ได้ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังประชาชนชาวไทยในการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของคนทั้งชาติ โดยใจความในสาส์นได้ระบุถึงความสำเร็จที่ผ่านมาในตลอดช่วงรัชสมัยของพระองค์ที่ยาวนานถึง 70 ปี

ปูติน

โดยประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ยกย่องเทิดทูน สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ประธานาธิบดีแห่งรัสเซีย ได้กล่าวว่า สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ไม่เคยสู้รบกับใคร แต่สามารถทำให้ทุกคนยกย่องสรรเสริญได้ ทั่วโลกต้องยอมรับว่ามีเพียงสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น

ปูตินผู้นำรัสเซีย
ภาพจากรายการเจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand

ทั้งนี้ คำกล่าวมีออกมาหลังจากที่ ผู้นำรัสเซีย ได้ทราบข่าวการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สร้างความเสียใจแก่ตัวเองและภริยาเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ เขายังกล่าวอีกว่า พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงเป็นผู้นำความสำเร็จมาสู่เศรษฐกิจ สร้างความแข็งแกร่งของไทยในต่างแดนให้เพิ่มมากขึ้น และในสารโทรเลขจากกรุงมอสโกยังระบุต่อว่า “พระองค์ทรงได้รับการยอมรับอยู่ในหัวใจทุกผู้ของปวงชนชาวไทยโดยแท้จริง และเป็นที่ยอมรับและนับถือในต่างประเทศ”

ภาพเมื่อครั้งเยือนประเทศไทยเมื่อปี 2547 ปูตินผู้นำรัสเซีย

ผู้นำรัสเซียและภริยา เคยได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานวโรกาสให้เข้าเฝ้า และได้รับพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำ เมื่อครั้งเดินทางมาเยือนประเทศไทยเมื่อปี 2547 โดยระบุว่าถือเป็นถ้อยคำที่แสดงถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างสองประเทศ

ปูตินผู้นำรัสเซีย
ย้อนความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย แนบแน่นมากกว่า 120 ปี!

การติดต่อเชื่อมความสัมพันธ์กันครั้งแรกของรัสเซียและสยาม เกิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีพ.ศ. 2406 เมื่อเรือของรัสเซียจำนวนสองลำ คือ “กายดามัค” และ “โนวิค” ได้เข้าจอดเทียบท่าที่ท่าเรือกรุงเทพฯ ในแม่น้ำเจ้าพระยา ในปลายทศวรรษที่ 70 ได้มีพระราชหัตถเลขาประกาศความพร้อมที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้า การทูต และความร่วมมือทางวัฒนธรรมของสองประเทศต่อจักรวรรดิรัสเซีย

ต่อมาในปีพ.ศ. 2434 มกุฎราชกุมารรัสเซียเซซาเรวิช นิโคลัส ได้เสด็จประพาสสยามในการเดินทางท่องตะวันออกของพระองค์ เหตุการณ์นี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่สอง ในเดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ. 2434 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระอนุชาในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเยือนประเทศรัสเซียและได้รับพระราชทานพระวโรกาสเข้าเฝ้าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 พร้อมทั้งได้ถวายจดหมายพระราชไมตรีของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ปูตินผู้นำรัสเซีย

ตลอดช่วงระยะเวลาอันยาวนานของการติดต่อกันอย่างเป็นทางการและความสัมพันธ์ส่วนพระองค์ระหว่างพระราชวงศ์รัสเซียกับราชสำนักสยาม ได้เป็นส่วนที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาความร่วมมือของสองประเทศ

ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ. 2440 เมื่อสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเยือนประเทศรัสเซียและได้ทรงพบกับพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ซึ่งถือเป็นการผนึกความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างสองประเทศ โดยในปี พ.ศ.2441 เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ซึ่งเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จไปศึกษาในประเทศรัสเซีย และทรงเข้ารับราชการทหารในกองทัพบกรัสเซีย จนกระทั่งปีพ.ศ. 2449 ได้ทรงอภิเษกสมรสกับชนชั้นสูงรัสเซียนามว่านางอีคาเทอรีนา เดนิสกายา ตามบันทึกที่มีปรากฏ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่สองทรงปฏิบัติต่อพระองค์เจ้าจักรพงษ์ฯ เสมือนเป็นพระราชโอรสของพระองค์เอง ด้วยการดูแลอย่างดีและการจัดการศึกษาให้เป็นพิเศษ ในช่วงเวลานั้นมีหนุ่มสาวชาวสยามประมาณหนึ่งร้อยคนที่ได้รับการศึกษาในรัสเซีย

ปีพ.ศ. 2441 นายอเล็กซานเดอร์ โอลาลอฟสกี กงสุลใหญ่รัสเซียประจำนครนิวยอร์ก ได้ย้ายมาประจำที่สยามเพื่อดำรงตำแหน่งกงสุลรัสเซียคนแรกประจำกรุงเทพฯ นายโอลาลอฟสกีได้เสนอรายงานกลับไปที่นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ความว่าสถานทูตรัสเซียได้รับหนึ่งในที่ดินที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ สำหรับเป็นที่ตั้งของสถานทูตฯ เพราะไม่มีสถานทูตต่างประเทศของประเทศใดเลยที่จะได้รับโอกาสตั้งอยู่ใกล้กับพระบรมมหาราชวังเหมือนของรัสเซีย

ปูตินผู้นำรัสเซีย

การเสด็จเยือนรัสเซียของพระบรมวงศานุวงชั้นสูงมีผลต่อความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศ อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเสด็จของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในหลวงรัชกาลที่ 10 ที่ในขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ในปีพ.ศ. 2532 การเสด็จของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เมื่อปีพ.ศ. 2536 และการเสด็จเยือนของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาในปีพ.ศ. 2518 และพ.ศ. 2532

ย้อนชมในหลวงร.๙ เสด็จต้อนรับ วลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย

http://https://www.youtube.com/watch?v=qWwqkheODrI

ขอบคุณข้อมูลจาก กงสุลกิตติมศักดิ์สหพันธรัฐรัสเซีย / www.innnews.co.th /www.manager.co.th / ภาพจาก MLADEN ANTONOV / AFP/ ภาพบางส่วนจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

 

สุดสัปดาห์

keyboard_arrow_up