ปวดกล้ามเนื้อ อย่านิ่งนอนใจ เพราะอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ เหมือนเคส จอย-รินลณี

Alternative Textaccount_circle
event

เป็นข่าวที่ค่อนข้างน่าตกใจเลยสำหรับ จอย-รินลณี ศรีเพ็ญ ที่เกิดอาการปวดกะโหลกศีรษะส่วนล่างจนต้องเข้าโรงพยาบาล ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้มาจากกระดูกหรือกะโหลกแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะการ ปวดกล้ามเนื้อ นี่แหละ ซึ่งเป็นเรื่องที่นิ่งนอนใจไม่ได้เลยนะคะสำหรับคนทำงาน

 

ปวดกล้ามเนื้อ อย่านิ่งนอนใจ เพราะอาจลุกลามใหญ่โต

 

มาเริ่มที่กรณีของสาวจอยก่อน เพราะเธอมีอาการปวดกะโหลกศีรษะส่วนล่างจนไม่สามารถนอนได้ ต้องนั่งหลับเป็นเวลาถึง 10 กว่าวัน! ในที่สุดเธอก็ต้องเข้าโรงพยาบาลเพราะมีไข้และมีอาการอ่อนเพลีย แต่เมื่อแพทย์วินิจฉัยแล้วปรากฏว่า เกิดจากกล้ามเนื้อคออักเสบ แต่ไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรงอะไร

แต่ลองคิดดูสิคะว่าถ้าสาวจอยปล่อยให้อาการล่วงเลยนานกว่านี้ จะเกิดอะไรได้บ้าง แถมอาการปวดกล้ามเนื้อนี้ทุกคนสามารถเป็นได้ โดยเฉพาะเหล่าคนทำงานออฟฟิศที่ทำงานจนหลังแข็ง กลายเป็นพังผืดไปก็หลายคน

อาการปวดกล้ามเนื้อที่คอ บ่า ไหล่ สะบัก หลัง ถ้าเกิดอาการปวดแค่ 2-3 วันก็ไม่เป็นปัญหาอะไรหรอกค่ะ แต่ถ้าปวดต่อเนื่องและทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าเรากำลังมีอาการของ โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ซึ่งหากปล่อยไว้นานโดยไม่รักษาให้ถูกวิธีจะทำให้เกิดโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคปวดศีรษะเรื้อรัง โรคไมเกรน โรคความดันโลหิตสูง อาการนอนไม่หลับ กล้ามเนื้ออ่อนแรง โครงสร้างร่างกายผิดปกติ บางกรณีมีอาการมือชาและขาชาร่วมด้วย ขั้นเลวร้ายอาจลามไปถึงโรคที่เกี่ยวกับกระดูกเลยทีเดียว

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังเกิดจาก

  • ท่านั่งทำงานไม่เหมาะสม ลักษณะงานที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวต่อเนื่อง เช่น การใช้คอมพิวเตอร์
  • การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อซ้ำๆ
  • การทำงานที่มีการใช้กล้ามเนื้อท่าเดียวกันซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง
  • การทำงานของกล้ามเนื้อมากเกินไป
  • ขาดการพักผ่อน
  • ขาดการบริหารกล้ามเนื้อ

ซึ่งหากเป็นการป่วยระยะเริ่มต้นเราสามารถบริหารกล้ามเนื้อด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อได้ เพื่อให้กล้ามเนื้อมีความคลายตัวก่อนจะจับเป็นพังผิดและรักษายาก แต่หากเป็นเรื้อรังแล้ว จะมีการรักษาที่เรียกว่า “Trigger Point Therapy” เป็นการรักษาที่ลดอาการปวดที่เกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อด้วยการสลายจุด Trigger Point และป้องกันการกลับมาของอาการปวด การรักษานั้นมีตั้งแต่การกินยา การฝังเข็ม การทำกายภาพบำบัด และการฉีดโบท็อกซ์เพื่อลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งขึ้นกับแต่ละบุคคลที่มากน้อยแตกต่างกันไป

ปวดกล้ามเนื้อ

แต่จะไม่หายขาดนะ ถ้าเรายังทำกิจกรรมซ้ำๆ เดิมทุกวัน ดังนั้นหลังจากการรักษาแล้ว เราควรหมั่นยืดเหยียดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ อย่างการประสานมือแล้วเหยียดขึ้นไปให้สุด เอียงซ้าย-ขวา ให้ช่วงลำตัวรู้สึกตึง หรือจะเป็นการเอียงคอซ้าย-ขวาให้กล้ามเนื้อรู้สึกตึง ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้

อาการปวดกล้ามเนื้อเป็นอะไรที่เลี่ยงไม่ได้สำหรับคนทำงาน แต่เราสามารถป้องกันไม่ให้กลายเป็นอาการเรื้อรังที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้นะคะ

 

ข้อมูลและภาพบางส่วนจาก www.thairath.co.th , www.thaihealth.or.th , www.sikarin.com

ภาพจาก chiropractorbrighton.com , freedomchinesemedicine.com และ Instagram : @joy_rinlanee

 

เรื่องราวที่น่าสนใจอื่นๆ

แค่เป็นหวัดก็หูหนวกได้!! บทเรียนจาก อายูมิ ฮามาซากิ

วิ่ง อย่างไร ให้สวยและปลอดภัย!!!

ท่าบริหารแก้เมื่อยสำหรับสาวออฟฟิศ จากแพท-นักร้องนำวง Klear

สุดสัปดาห์

keyboard_arrow_up