แอ่วเหนือสูดลมหนาวที่ มูลนิธิโครงการหลวง

Alternative Textaccount_circle
event

ปลายปีนี้ใครมีโครงการท่องเที่ยว ขอแนะนำ มูลนิธิโครงการหลวง ทั้งได้ความรู้เกี่ยวกับโครงการในพระราชดำริ และได้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ในคราวเดียวกัน

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย

หนึ่งใน มูลนิธิโครงการหลวง ที่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์พัฒนาที่วิจัยและส่งเสริมการปลูกผักเมืองหนาวมากที่สุด คุณจะได้เห็นแปลงพืชผักขนาดใหญ่ เช่น แปลงผักกาดแก้ว กะหล่ำปลี ฯลฯ มองไปไกลสุดลูกหูลูกตา ให้บรรยากาศแบบธรรมชาติและสัมผัสความสดของผักปลอดสารพิษอันขึ้นชื่อของโครงการหลวงแบบเต็มตา

ภายในศูนย์ยังมีแปลงดอกไม้ที่ร่มให้ชม เช่น ไวโอลา พีทูเนีย ดาวกระจาย ฯลฯ แล้วยังมีแปลงผักงามๆอย่างพริกหวาน ดาวเรืองหม้อ ฯลฯ จุดที่ควรไปชมอีกแห่ง คือ ศูนย์พืชผัก ที่เราสามารถแวะไปชมการวิจัยพืชผักเมืองหนาวได้ ภายในมีแปลงสาธิตหลายชนิด เช่น แปลงทดสอบมะเขือเทศ ผักกาดหวาน สมุนไพรต่างประเทศและทดสอบการเลี้ยงไส้เดือน

ไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาด คือ ม่อนแจ่ม ดอยหนองหอย จุดชมวิวสวยๆบนยอดดอยพร้อมบริการร้านอาหาร เหมาะจะมานั่งชมวิวและจิบชาอร่อยๆอย่าง ชาสมุนไพรสด ที่ใช่สมุนไพรชงถึง 7 ชนิด กลิ่นหอทและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย จากจุดชมวิวเดินลงบันไดไปข้างล่าง จะพบจุดกางเต็นท์และบริการบ้านพักซึ่งตั้งอยู่ริมยอดดอยท่ามกลางอุณหภูมิที่หนาวกำลังเหมาะ คือ 8 องศาเซลเซียส ถ้าหนาวนี้ยังไม่รู้จะไปไหน แนะนำให้มาพักที่นี่ รับรองว่าจะได้สูดความบริสุทธิ์จนเต็มปอด

3

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

 สถานีวิจัยแห่งแรกของมูลนิธิโครงการหลวง ซึ่งเป็นต้นแบบของสถานีวิจัยอื่นๆ ที่นี่เด่นเรื่องไม้ผลเมืองหนาวและมีไฮไลท์คือ การชมสวนสวยกลางแจ้งอย่างสวน 80 สวนหอม สวนคำดอย สวนสมเด็จและสวนกุหลาบอังกฤษ โดยเฉพาะที่สวน 80 ซากุระญี่ปุ่นจะบานสะพรั่งตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม-20 มกราคม นอกจากนี้ยังมีเรือนดอกไม้ ซึ่งจัดแสดงไม้ดอกเมืองหนาวในที่ร่ม เช่น เจอเรเนียม พีทูเนีย ฯลฯ

ใครอย่างสัมผัสบรรยากาศงดงามที่ขุนเขาล้อมรอบ แนะนำให้ไปชมสตรอร์เบอร์รี่พันธุ์พระราชทานเบอร์ 72 สตรอร์เบอร์รี่พันธุ์พระราชทานเบอร์ 80ที่ปลูกโดยชาวปะหล่อง หากมาแล้วไม่ได้ชิมสตรอร์เบอร์รี่ (เพราะต้องสงวนไว้เป็นผลผลิตสำหรับส่งจำหน่ายแก่ร้านค้าในโครงการหลวงเท่านั้น) แต่จะได้ชมวิวไร่สตรอร์เบอร์รี่แบบขั้นบันไดสวยงามกลางดอย ท่ามกลางอากาศเย็นสบายประมาณ 12 องศาเซลเซียส ยิ่งช่วงเดือนมกราคม-เมษายน สตรอร์เบอร์รี่จะออกผลให้เห็นเต็มไร่ทีเดียว

ใครยังไม่จุใจแปลงกุหลาบฮอลแลนด์ ไร่ชา สามารถต่อด้วยการชมวิธีรีดนมแพะ สวนบอนไซ ซึ่งจัดแสดงบอนไซเมืองหนาวปห่งเดียวในประเทศไทย แวะจุดชิมชา สาธิตวิธีการชงชา ชิมชาและซื้อผลิตภัณฑ์กลับบ้านได้ด้วย ที่สำคัญ ก่อนกลับอย่าลืมชิมอาหารเมนูเด็ดของสโมสรอ่างขาง คือเป็ดอี่เหลี่ยงรมควัน ปลาเทราต์นึ่งมะนาว หมูจิ้นหัวหมั่นโถวยูนนาน สลัดอ่างขาง ปิดท้ายด้วยน้ำกีวีปั่นรสชาติเข้มข้น อร่อยไม่รู้ลืมจริงๆ

5

 

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง

แม้ศูนย์ฯที่นี่ไม่ได้ใหญ่โต แต่ก็เปี่ยมด้วยเสน่ห์รับรองว่ามาแล้วต้องติดใจ ภายในประกอบด้วยแปลงพืชผักสาธิตและแปลงผลไม้สวยๆให้ชม เช่นวานิลลาที่นำมาผลิตเป็นกาแฟวานิลลา ไอศครีมและอาหารว่าง แน่นอนว่ามาที่นี่ต้องลองชิมไอศครีมวานิลลารสชาติอร่อยกลิ่นหอม ในร้านค้าสวัสดิการขุนวาง ส่วนใครอยากเห็นต้นวานิลลาออกดอกเต็มต้น ควรมาช่วงเดือนมีนาคม

จุดเด่นอีกอย่างคือ การชมแปลงเบญจมาศขนาดใหญ่ ซึ่งออกดอกได้นานถึง 8 เดือน ทั้งในและนอกฤดูกาล นอกจากนั้นยังมีโรงเรือนผลิตไม้กระถาง เช่น ลิลี่ กุหลาบหิน แปลงพืชผัก เช่น บรอกโคโลนี ผักชี พริก ถั่วหวาน ฯลฯ แปลงไม้ประดับ เช่น ไอวี่ด่าง เฟิน รองเท้านารี แปลงชาอู่ล่ง แปลงสาธิตกีวีฟรุตและโรงเรือนเพาะเลี้ยงเห็ดระบบปิดแบบประยุกต์ ใครชอบองุ่น ที่นี่มีกว่า 10 แปลง มีองุ่นสายพันธุ์เด่นๆคือ Beauty Seedless ซึ่งเป็นองุ่นดำไร้เมล็ด รสชาติหวานอร่อยสุดๆ

ส่วนใครอยากค้างคืนเคานต์ดาวน์ เขาก็มีกิจกรรม ให้เลือกหลากหลาย เช่น ชมการเป่าแคนและการรำท้องถิ่นของเด็กชาวเผ่าม้ง แคมปืไฟและกิจกรรมนันทนาการต่างๆ

เสน่ห์อีกอย่างคือ สามารถเยี่ยมชมวิถีชีวิตละวัฒนธรรมของชาวม้งได้ที่ หมู่บ้านขุนวาง ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนัก แนะนำว่าควรติดต่อผ่านศูนย์ฯก่อนเยี่ยมชมเพราะชาวม้งจะได้เตรียมโชว์ต่างๆไว้ล่วงหน้า เช่น ตำข้าวปุก (ขนมพื้นเมืองของชาวม้ง) โชว์ตีมีด ทำไก่ตุ๋นยาจีนและชงชาให้ชิม โดยคิดค่าบริการไม่แพงเลย

6

 

สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์

ตั้งอยู่บนยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศไทย เน้นส่งเสริมไม้ดอก ไม้กระถางเมืองหนาวและผักเมืองหนาว ขอแนะนำสวน 80 พรรษา สวนเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา จัดแสดงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับกลางแจ้งและมีการตกแต่งสวนตามฤดูกาล ใครอยากชมซากุระพันธุ์นางพญาเสือโคร่งของที่นี่ควรมาเที่ยวในช่วงต้นเดือนมกราคม เพราะเป็นช่วงที่ซากุระบานสะพรั่งสวยงาม

จุดที่สามารถแวะช๊อปต้นไม้ได้คือ โรงเรือนจำหน่ายไม้กระถาง จำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิด ส่วนอีกแห่งที่ไม่ควรพลาดคือ การชมปลาเทราต์และปลาสเตอร์เจียน ซึ่งเลี้ยงเพื่อวิจัยและผลิตไข่คาเวียร์ แม้ที่นี่จะเพิ่งทำการวิจัยแต่ก็สามารถเลี้ยงปลาเทราต์อายุ 6 เดือนได้ขนาดเท่ากับเทราต์ในยุโรปอายุ 18 เดือนผลิตส่งให้แก่โรงแรม สายการบิน และร้านอาหารปีละกว่า 19 ตัน

ถ้าชอบบรรยากาศแบบน้ำตก แนะนำ สวนหลวงสิริภูมิ ชมวิวน้ำตกสิริภูมิไหลลงมาจากยอดหน้าผาสูงในบรรยากาศสวนสวยร่มรื่น พอท้องหิว แนะนำอาหารในสโมสรอินทนนท์ เมนูเด็ดที่แนะนำ เช่น ปลาเทราต์นึ่งบ๊วย ยำเห็ดหอมสด แกงเลียงอินทนนท์

7

 

สถานีเกษตรหลวงปางดะ    

เป็นสถานีวิจัยและขยายพันธุ์พืชหลากชนิด ทั้งไม้ผลเมืองหนาว ไม้ดอกเมืองร้อนและกึ่งร้อน โดยเน้นวิจัยไม้ผลกึ่งร้อน เช่น เสาวรส องุ่น ข้าวโพดหวานสองสี กุยช่ายดอก กุยช่ายหวาน พริกหวาน มะระ มะเขือเทศ ฯลฯ

นอกจากนี้ยังเป็น 1 ใน 2 ของโครงการหลวงที่มีโรงเรือนขยายพันธุ์ไม้ผล (อีกแห่งคือ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง) เช่น อะโวคาโด เสาวรส มะม่วงพันธุ์ต่างประเทศ องุ่น ส้ม เกษตรกรจะมารับพันธุ์ไปปลูกและส่งคืนพันธุ์ไม้เมื่อขยายพันธุ์ได้

ภายในมีโรงเรือนไม้ดอกไม้ผลหลายชนิดให้ชม เช่น ฟิก (มะเดื่อฝรั่ง) ซึ่งเจ้าหน้าที่แอบกระซิบว่า ถ้าผลผลิตมีเหลือเพียงพอ สามารถขอซื้อกลับไปอร่อยได้ในราคากิโลกรัมละ 250 บาท นอกจากนั้นยังมีโรงเรือนองุ่น ซึ่งเน้นผลิตองุ้นพันธุ์ Beauty Seedless โรงเรือนเสาวรสที่ปลูกแบบเอเฟรม ใครที่ชอบไม้ดอกก็มีแปลงวิจัยสวยๆให้ชม เช่น หน้าวัวแบบตัดดอก หงอนไก่ ยิปโซ ฯลฯ

นอกจากนี้ยังขับรถไปชมผลไม้กลางแจ้งอื่นๆได้ด้วย เช่น แปลงอะโวคาโด แปลงส้มพันธุ์เกรปฟรุต ซึ่งเป็นพันธุ์จากออสเตรเลีย ให้ผลสีส้มสวย รสชาติเปรี้ยวนิดๆ รวมถึงส้มพันธุ์กัมควอท ส้มพันธุ์เล็กที่กินได้ทั้งเปลือก

 

สถานที่ท่องเที่ยวของมูลนิธิโครงการหลวงในจังหวัดอื่นๆ

12

 

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงพระบาทห้วยต้ม จังหวัดลำพูน

ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 400 เมตร มีต้นน้ำหลายสายมาบรรจบกัน แทบไม่น่าเชื่อว่าสมัยก่อนที่นี่มีสภาพพื้นที่ของชาวบ้านซึ่งขาดแคลนแหล่งทำกินและเต็มไปด้วยเด็กขาดสารอาหาร

จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่กัวมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับฟมู่บ้านพระบาทห้วยต้มให้อยู่ภายใต้การดูแลของมูลนิธิโครงการหลวง ผืนแผ่นดินที่ดูเหมือนจะสิ้นหวังก็กลับอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงและคนเมืองที่อาศัยอยู่ร่วมกันได้ทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริของพระองค์ท่าน ปัจจุบันผักผลไม้สดๆจากสวนที่เป็นตัวชูโรงเห็นจะหนีไม่พ้นมะม่วงนวลคำ คะน้ายอด เคปกูสเบอร์รี่

นอกจากนี้ยังมีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่น่าสนใจ เช่น บ้านน้ำบ่อน้อย หมู่บ้านกะเหรี่ยงโบราณที่ยังคงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมไว้ หรือการสักการะ พระธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย เพื่อเป็นสิริมงคลสำหรับคนเกิดปีมะเมีย

8

 

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

รู้ไหมว่าธนาคารข้าวแห่งแรกของโลกอยู่ที่ไหน เมื่ออ่านสกู๊ปนี้แล้วขอให้ตอบไปอย่างมั่นใจแบบผู้รู้จริงได้เลยว่า อยู่ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ลาน้อย จัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริของในหลวงเมื่อปี 2521

นอกจากจะเป็นธนาคารข้าวแห่งแรกของโลกแล้ว ที่นี่ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีแปลงสาธิตผักผลไม้เมืองหนาวอย่างเสาวรส อะโวคาโด คะน้าฮ่องกงฝีมือชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงและลัวะ นอกจากนี้ที่เด็ดสุดๆไม่ต้องบินลัดฟ้าไปถึงเกาะบาหลีหรือเกาะชวา คือผืนนาขั้นบันได และแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงโครงการหลวงที่ขึ้นทำเนียบเป้น Unseen Thailand เชิดหน้าชูตาที่ Must-see คือ ถ้ำแก้งโกมล ถ้ำผลึกแร่แคงไซต์ที่ภายในระยิบระยับ สวยจนลืมไม่ลงเชียวละ

9

 

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า จังหวัดพะเยา

จุดที่เป็นแนวชายแดนนี้คือที่ตั้ง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า อุดมไปด้วยพืชผักเมืองหนาวนานาชนิด ทั้งลิ้นจี่ อะโวคาโด เบบี้ฮ่องเต้ ฟักทองยักษ์ ฟักบัตเตอร์นัท หอมญี่ปุ่น และอีกสารพัดพืชผักแปลกตา ที่อยากบอกให้มาดูเองกับตาเพราะเยอะจนนับไม่ถ้วนจริงๆ

ที่นี่ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง เพราะในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมของทุกปี ชาวเขาเผ่าม้งจะมีงานฉลอง ปีใหม่เย้า ตามมาติดๆ เรียกว่าได้โอกาสเที่ยวแบบลากยาว 2-3 เดือน เพื่อชื่นชมทะเลหมอกท่ามกลางสายลมหนาวในพื้นที่สูงกว่า 1000 เมตรจนโอโซนชุ่มปอดเต็มที่ก็คราวนี้เอง

11

 

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำริน จังหวัดเชียงราย

อยู่ห่างจากเชียงใหม่ราว 1 ชั่วโมงครึ่ง มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น น้ำตกเมืองน้อย เป็นน้ำตกหน้าผาสูง 10 เมตร ซึ่งไหลเป็นทางไปจนถึงน้ำตกห้วยม่วง เป็นเส้นทางเดินชมธรรมชาติ พรรณไม้ป่านอกจากนี้ยังสามารถท่องเที่ยวเชิงเกษตร ชมผลผลิตของศูนย์ เช่น แปลงไม้ดอก แปลงผัก และแปลงไม้ผล เช่น แคลล่าลิลี่ บรอกโคโลนี พลับ สตรอว์เบอร์รี่ ฯลฯ

ใครอยากสัมผัสวัฒนธรรมของท้องถิ่น ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมของทุกปีจะมีพิธีทำบุญและเลี้ยงฉลอง ประกอบการเต้นและการละเล่นต่างๆจากชาวบ้านที่แต่งกายด้วยชุดประจำเผ่าสวยงาม ที่พักก็เลือกได้ทั้งแบบบ้านพัก กางเต็นท์และโฮมสเตย์ชาวเขา

 

เรียบเรียง : Pitchaya/Photo : Gabpa

สุดสัปดาห์

keyboard_arrow_up